นี่คือสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ ‘long COVID’ ทั้งอาการและการรักษา

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า อาการ ‘ลอง โควิด’ (long COVID) หรือโควิดระยะยาว หรืออาการหลังป่วยจากโควิด-19 มักเกิดขึ้นในบุคคลที่สงสัยว่าติดเชื้อหรือได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ SARS CoV-2 หลังอาการจากการติดเชื้อผ่านพ้นไปแล้ว 3 เดือน

A Person with Long Covid Symptoms

Pastor Ben Thomas got COVID-19 early at the start of the pandemic. He's still suffering with breathing and heart problems two years later. Source: Getty Images/Alejandra Villa Loarca/Newsday RM

การศึกษาวิจัย ที่องค์การอนามัยโลกจัดให้ทำนั้น กล่าวอ้างว่า อาการ ‘ลองโควิด’ (long COVID) หรือโควิดระยะยาว อาจกินเวลายาวนานอย่างน้อยสองเดือน และอาการนี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่นๆ

“อาการทั่วไปของ ‘ลองโควิด’ (โควิด-19 ระยะยาว) ได้แก่ ความเหนื่อยล้า การหายใจไม่อิ่ม และมีภาวะความรู้คิดบกพร่อง” รายงานระบุ

“อาการอาจกำเริบขึ้นใหม่ หลังการฟื้นตัวครั้งแรกจากอาการโควิด-19 เฉียบพลัน หรือเกิดต่อเนื่องจากกอาการป่วยครั้งแรก อาการอาจผันผวนขึ้นๆ ลงๆ หรือกำเริบขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป” เอกสารดังกล่าว ระบุ
Clinic for Post-Covid Sufferers
Long-covid patient Jörg Schneider does breathing training in a gymnastics room at the Teutoburger Wald Clinic in Germany. Source: Friso Gentsch/picture alliance via Getty Images
 ซึ่งการศึกษาวิจัยที่คิดคำจำกัดความทางคลินิกนี้ขึ้น ระบุว่าอายุที่มากและเพศสภาพ เป็นปัจจัยในการเกิดอาการ ‘ลองโควิด’ (โควิดระยะยาว) โดยผู้หญิงรายงานถึงปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังมากกว่าผู้ชาย

ไม่มีการประมาณการที่แน่ชัดเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยด้วยอาการโควิดระยะยาว

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษใช้ข้อมูลการสำรวจการติดเชื้อโควิด-19 ในท้องถิ่น เพื่อรายงานว่ามีผู้คน 1.5 ล้านคนกำลังพบกับปัญหาอาการโควิดระยะยาว จากการรายงานเข้ามาด้วยตนเอง โดยเป็นข้อมูลของวันที่ 31 มกราคม 2022

การศึกษาวิจัยโครงการหนึ่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์พบว่า ราวร้อยละ 5 ของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 มีอาการของ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาว

อาการของ ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาว ตามที่ระบุโดยกระทรวงสาธารณสุขของรัฐวิกตอเรีย ระบุว่า อาจรวมถึงอาการต่อไปนี้ คือ:

  • การหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจถี่ๆ
  • ไอ
  • เมื่อยล้า/หมดแรง
  • มีปัญหาในการใช้สมาธิ/ความจำ
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ – ความวิตกกังวล, ซึมเศร้า, ความเครียด, ความรู้สึกผิด
  • สูญเสียการรับรู้กลิ่นหรือรส
  • ปวดหัว
  • ปัญหาการนอนหลับ
  • หัวใจเต้นแรง/ใจสั่น/หัวใจเต้นเร็ว/เจ็บหน้าอก
  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
A protester holds up a placard demanding research and an end to Long Covid-19 during ademonstration.
A protest group in Parliament Square, London in March 2022 demands the government invest into researching Long Covid-19. Source: AAP/Martin Pope/SOPA Images/Sipa USA
สถาบันสุขภาพและสวัสดิการแห่งออสเตรเลียกำลังดำเนินโครงการเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ในระดับประเทศกับข้อมูลด้านการบริหารจัดการ โดยคาดว่าจะสามารถช่วยให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาการของ ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาวได้

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ยังได้รับทุนวิจัยสำหรับการศึกษาวิจัย 2 โครงการที่เป็นแยกจากกัน ซึ่งจะทำการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส และผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นต่อเซลล์สมอง

ราชวิทยาลัยแพทย์ทั่วไปแห่งออสเตรเลีย (Royal Australian College of General Practitioners หรือ RACGP) ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติจำนวนหนึ่งสำหรับแพทย์ทั่วไป (GP) ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการป่วยหลังการติดเชื้อโควิดผ่านพ้นไปแล้ว

RACGP ได้เผยแพร่คู่มือสำหรับผู้ป่วยในการจัดการความเหนื่อยล้าและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการโควิดระยะยาว

แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะยังหาความเห็นชอบร่วมกันไม่ได้ว่ามีผู้คนจำนวนเท่าไรที่ได้รับผลกระทบและการวิจัยก็เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าอาการ ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาว จะเป็นปัญหาต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า แม้ว่าการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงก็ตาม

หากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ ให้โทรศัพท์ติดต่อบริการฉุกเฉินที่หมายเลข 000 ทันที และบอกเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ว่าคุณเคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ก่อนหน้านี้

  • หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจถี่ๆ อย่างรุนแรง หรือหายใจลำบาก
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • มีอาการเป็นไข้เกิดขึ้นใหม่หรือไข้กลับมา
  • ความสามารถในการใช้สมาธิแย่ลงและรู้สึกสับสนเพิ่มขึ้น
  • ตื่นยาก
หากคุณพบอาการอื่นๆ หลังจากหายจากฟื้นตัวจากโควิก-19 แล้ว โปรดติดต่อแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพอื่นๆ (ที่มาของข้อมูล: Healthdirect)


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดต่อสอบถามบริการสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 13 May 2022 2:16pm
Updated 13 May 2022 2:18pm
By Massimiliano Gugole
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand