จะมีความสุขมากขึ้นไหม ถ้าเข้าใจวัฒนธรรมออสซี่

NEWS: ผลการวิจัยล่าสุดชี้ว่าการใช้ชีวิตในออสเตรเลียเป็นเวลานานไม่ได้นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุข ถ้าคุณไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมออสเตรเลียได้

AAP

Source: AAP

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full version of this story in English on SBS News .

การอาศัยในประเทศพหุวัฒนธรรมเช่นออสเตรเลียนั้น เป็นการง่ายที่ผู้ย้ายถิ่นจะสามารถรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมต่อไปได้ แต่ผลการวิจัยล่าสุดที่สำรวจความเห็นจากผู้ย้ายถิ่นจำนวนกว่า300คนพบว่า คนที่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมออสเตรเลียหรือที่เรียกว่ามีการปรับตัวทางวัฒนธรรมนั้นมีความเป็นอยู่ดีกว่าคนที่ไม่สามารถปรับตัวได้

ความอยู่ดีมีสุขของแต่ละบุคคลนั้นหมายถึงคุณภาพชีวิตที่สามารถวัดได้ในสองระดับ

ระดับแรกคือความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมและระดับที่สองคือระดับความพึงพอใจของชีวิตในแง่มุมต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ การประสบความสำเร็จ สุขภาพ ความปลอดภัย การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นต้น

เมื่อเราศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆทั้งในเรื่องของเวลาที่อาศัยในออสเตรเลีย การปรับตัวทางวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะทางอาชีพที่ออสเตรเลียต้องการและไม่ใช่คนผิวขาวนั้นพบว่า ผู้ย้ายถิ่นดังกล่าวที่มีความเป็นอยู่ในระดับดีเยี่ยมและพวกเขามีคุณสมบัติดังนี้

  • มีการปรับตัวทางวัฒนธรรมให้เข้ากับวัฒนธรรมออสเตรเลียมากกว่าวัฒนธรรมดั้งเดิม
  • มีทักษะในการสื่อสารในภาษาอังกฤษอยู่ในระดับสูง
  • มีอัตลักษณ์ของความเป็นออสเตรเลีย
และอีกประการหนึ่งที่ผลการวิจัยพบก็คือถึงแม้ว่าผู้ย้ายถิ่นจะอาศัยอยู่ในออสเตรเลียเป็นเวลานานก็ไม่ได้รับประกันว่าพวกเขาจะมีความเป็นอยู่ที่ดีถ้าหากพวกเขาไม่ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมออสเตรเลีย

ทำไมการปรับตัวทางวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องยาก

จากการสำรวจในด้านต่างๆพบว่าผู้ย้ายถิ่นฐานจากวีซ่าทักษะแรงงานนั้นมีคะแนนในเรื่องความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมต่ำกว่าด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า  ผู้ย้ายถิ่นเหล่านี้ยังมีการติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับญาติพี่น้องของตัวเอง หรือพวกเขาอาจมีโอกาสน้อยที่จะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชนออสเตรเลียโดยทั่วไป หรือ พวกเขาอาจจะรู้สึกกีดกันจากสังคมก็เป็นได้

อีกประการหนึ่งคือการที่ผู้ย้ายถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีของตนเองไว้ โดยที่มีการปฏิบัติของวัฒนธรรมใหม่เพิ่มเข้ามาด้วย ทำให้แทนที่จะมีการปรับตัว พวกเขาก็ใช้วิธีสลับวัฒนธรรมแทนซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า เช่น ครอบครัวชาวอินเดียที่ย้ายมาอยู่ที่นครเมลเบิรน์ ยังรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมในเรื่องอาหารการกิน  กลุ่มเพื่อนฝูง แต่พวกเขาก็ไปเชียร์ฟุตตี้ด้วย เป็นต้น

ถ้าไม่ปรับตัวจะส่งผลอย่างไร

การไม่ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมออสเตรเลียอาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมได้  ผู้ย้ายถิ่นเมื่อยังมีกำลังวังชา พวกเขาก็ใช้ทักษะ ความรู้เทคโนโลยี และการลงทุนต่างๆที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเศรษฐกิจ และความอยู่ดีกินดีแก่ประเทศเจ้าบ้าน  แต่เมื่อพวกเขาแก่ตัวลงไปในประเทศที่ไม่ใช่วัฒธรรมดั้งเดิมของพวกเขา  ความสามารถในการปรับตัวนี้เองที่จะช่วยให้พวกเขาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจากสังคม

จากผลการศึกษาในปี2015พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภูมิหลังจากหลากภาษาและวัฒนธรรมจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญกับภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนผิวขาวชาวออสเตรเลีย และจากผลการวิจัยล่าสุดก็มีแนวโน้มตรงกันที่ตัวอย่างสำรวจความคิดเห็นของผู้ย้ายถิ่นมีคะแนนต่ำในหัวข้อในการมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และถ้าผู้ย้ายถิ่นจำนวนนี้แก่ตัวลงพวกเขาก็อาจมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมได้

หากท่านต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า สามารถติดต่อ สายภาวะซึมเศร้า และสายให้ความช่วยเหลือเด็ก  (สำหรับผู้ที่มีอายุห้าถึง 25 ปี) ที่หมายเลข 1800 55 1800



Share
Published 25 July 2019 3:21pm
By Asanka Gunasekara
Presented by Chayada Powell
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand