กว่า 40% ของชาวออสซีที่ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินต้องอดมื้อกินมื้อ

จำนวนของผู้คนที่ขอความช่วยเหลือจากซัลเวชัน อาร์มี เพิ่มขึ้น 6 เท่าในช่วงกลายปีที่แล้วถึงต้นปีนี้

New modelling has warned about the impact of changes to the JobSeeker payment.

Meanwhile the number of people seeking assistance from the Salvation Army increased six-fold between November 2020 and January this year. Source: AAP

กว่าร้อยละ 40 ของผู้คนในออสเตรเลียที่ได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินจากองค์กรการกุศล ซัลเวชัน อาร์มี (Salvation Army) ต้องอดมื้อกินมื้อในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อให้มีเงินพอกับค่าใช้จ่าย รายงานฉบับหนึ่งขององค์กรเผย

ขณะเดียวกัน จำนวนผู้คนที่ขอความช่วยเหลือจากซัลเวชัน อาร์มี ได้เพิ่มขึ้น 6 เท่าระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2020-มกราคม 2021 จากผลการสำรวจที่ซัลเวชัน อาร์มี ได้เผยแพร่ในวันพุธ ที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา

องค์กรการกุศลดังกล่าว ซึ่งให้ความช่วยเหลือผู้คนที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างยากจนทั่วออสเตรเลีย ยังพบว่า ร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ไม่มีหนทางที่จะหาเงินมาจ่ายบริการด้านการแพทย์หรือบริการทันตกรรม ขณะที่เกือบร้อยละ 30 ไม่สามารถมีเงินพอจะจ่ายค่ายาตามที่แพทย์สั่งยาให้ได้

นอกจากนี้ ผู้รับความช่วยเหลือยังประสบความเครียดในระดับสูงเกี่ยวกับที่พักอาศัย โดย 955 คนของผู้ตอบแบบสำรวจหรือร้อยละ 93 กำลังเครียดหนัก โดยระบุว่าค่าที่พักอาศัยที่พวกเขากำลังจ่ายอยู่นั้นเกินร้อยละ 30 ของรายได้
ผู้ตอบแบบสอบถามที่กำลังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลรายงานว่า พวกเขามีเงินเหลือเพียง 11 ดอลลาร์ต่อวัน หลังจากจ่ายค่าที่พักอาศัยแล้ว ซัลเวชัน อาร์มี ระบุ

จากรายงานก่อนหน้านี้ที่เปิดเผยโดยแองกลิแคร์ (Anglicare) พบว่า ที่พักอาศัยให้เช่าทั่วประเทศเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้นที่มีราคาที่เอื้อมถึงสำหรับคนโสดที่มีรายได้ตามอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด

“ปีที่ผ่านมาแสดงให้เราเห็นว่า ไม่ว่าใครก็สามารถตกอยู่ในภาวะวิกฤตได้ และนี่อาจส่งผลให้ซัลโวส์ (ซัลเวชัน อาร์มี) กำลังเห็นผู้คนที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนมาขอรับความช่วยเหลือจากเรา” พันตรี เบรนเดน นอตเทิล จากซัลเวชัน อาร์มี กล่าว

จำนวนผู้คนที่กำลังพบความยากลำบากในการหาเงินมาจ่ายค่าที่พักอาศัย ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ และค่าบริการทางการแพทย์ พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 87 ระหว่างการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศ ก่อนจะลดลงเหลือร้อยละ 73
“ในประเทศที่โชคดีอย่างประเทศเรา มันน่าตกใจที่เห็นผู้คนเกือบร้อยละ 50 (ของผู้ที่มาขอรับความช่วยเหลือฉุกเฉิน) ต้องอดมื้อกินมื้อและจำนวนมากกว่านั้นที่ไม่มีเงินพอจ่ายค่ายา เราจำเป็นต้องทำได้ดีกว่านี้” พันตรี นอตเทิล กล่าว

รัฐบาลได้เพิ่มอัตราเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานจ๊อบซีกเกอร์ ให้มากขึ้นอีก 50 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ตั้งแต่ต้นปีนี้

แต่เมื่อเงินช่วยเหลือพิเศษช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (coronavirus supplement) สิ้นสุดลงในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา เงินสวัสดิการลดลง 100 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์

จากแบบจำลองสถานการณ์จากต้นปีนี้คาดการณ์ว่า การสูญเสียเงินช่วยเหลือพิเศษช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (coronavirus supplement) จะส่งผลให้ชาวออสเตรเลียราว 155,000 คนต้องเผชิญภาวะยากจน นี่จะรวมทั้งเด็กๆ ราว 18,000 คนด้วย สถาบันออสเตรเลีย (Australian Institute) องค์กรวิเคราะห์นโยบายรัฐบาล ระบุ

สถาบันยังคาดว่า ได้มีผู้คนมากขึ้นราว 580,000 คนดำรงชีวิตอยู่อย่างยากจนในช่วงต้นปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของเชื้อโควิด-19

การสำรวจของซัลเวชัน อาร์มี เกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคมปีที่แล้วถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ และเป็นการสอบถามประชาชน ที่ได้รับบริการด้านความช่วยเหลือฉุกเฉินจากองค์กร ให้ร่วมตอบแบบสำรวจตามความสมัครใจ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  

Share
Published 28 May 2021 2:07pm
Updated 28 May 2021 3:26pm
By Maani Truu
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand