Explainer

อาการแพนิก แอทแทก และหัวใจวาย มีวิธีไหนที่จะบอกความแตกต่างได้บ้าง

อาการเจ็บหน้าอกเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของอาการหัวใจวาย มันยังเป็นอาการของภาวะตื่นตระหนก (Panic Attack) อีกด้วย

A young woman sits on a couch clutching her chest.

อาการการตื่นตระหนก (Panic Attack) และหัวใจวาย มีอาการร่วมที่คล้ายคลึงกัน Credit: เก็ตตี้ อิมเมจ/ภิรมยา อินทวงศ์พันธุ์

ประเด็นสำคัญ
  • อาการต่างๆ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจถี่ และวิงเวียน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะหัวใจวายและอาการตื่นตระหนก
  • ผู้เชี่ยวชาญเน้นถึงความสำคัญในการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีอาการหัวใจวาย
  • พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างภาวะหัวใจ ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
เอมิลี่ไม่คิดว่าเธอวิตกกังวล เธอคิดว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติกับหัวใจของเธอ

เธอมีอาการตื่นตระหนกครั้งแรกในขณะที่สวมฟิตบิท หลังจากเห็นว่าเครื่องดังกล่าววัดอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 142 ครั้งต่อนาที เธอจึงเรียกรถพยาบาลทันที
ทีมแพทย์ต้องทำการตรวจเลือดเพราะ "ไม่สามารถระบุได้จากการสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว”.

“ฉันยังคงไม่รู้ว่ามันต่างกันยังไง ตอนที่ฉันมีอาการตื่นตระหนก ฉันยังคิดว่า “ฉันควรจะเรียกรถพยาบาลหรือไม่” เอมิลี่บอกกับเอสบีเอส

แล้วอาการของโรคตื่นตระหนกและหัวใจวายคืออะไร?

งานวิจัยใหม่ซึ่งนำทีมโดยมหาวิทยาลัยโมนาช ได้เปิดเผยว่า ชาวออสเตรเลียหนึ่งในห้าคนไม่ทราบว่าอาการของโรคหัวใจวายเป็นอย่างไร

นาตาลี ราฟโฟล์ ผู้จัดการโปรแกรมการดูแลสุขภาพของมูลนิธิหัวใจ และเภสัชกรโรคหัวใจคลินิก กล่าวว่า อาการตื่นตระหนกและหัวใจวายมีอาการที่เหมือนกันอยู่หลายอย่าง

อาการเจ็บหน้าอกเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของอาการหัวใจวาย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

นอนไม่หลับทำอย่างไรดี?

“มันอาจจะเป็นอาการปวดหนึบๆ หรือมันอาจจะเจ็บแปลบ และเฉียบพลัน อาการเจ็บสามารถแผ่กระจายออกไปที่แขน คอ ขากรรไกร ไหล่ หรือแม้กระทั่งหลังของคุณ” นางสาวราฟโฟล์บอกกับสำนักข่าวเอสบีเอส

“และโชคไม่ดีที่อาการเจ็บหน้าอก หรือแรงกดที่แผ่กระจายไปทั่วก็เกิดขึ้นระหว่างที่คุณมีอาการ แพนิก แอทแทก”

อาการที่ทับซ้อนกันอื่น ๆ ได้แก่ หายใจไม่ออกและหายใจลำบาก คลื่นไส้ หนาวสั่นและเหงื่อออก เป็นลม อ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ

“ผู้หญิงมีโอกาสมากกว่าผู้ชายที่จะประสบกับอาการที่ไม่ใช่อาการปวดทรวงอก ในกรณีที่มีอาการหัวใจวาย” นางสาว ราฟโฟล์ กล่าวเสริม

ควรทำอย่างไรหากคุณมีอาการเหล่านั้น?

คุณราฟโฟล์เน้นความสำคัญของการขอความช่วยเหลือในทันที เช่น โทรหา Triple Zero (000) ถ้าคุณกำลังประสบกับอาการหัวใจวายแม้ว่าคุณจะไม่แน่ใจว่าเป็นอาการวิตกกังวลหรือหัวใจวาย

ตอนนี้เอมิลี่สามารถระบุอาการ แพนิก แอทแทกของเธอได้ดีขึ้น แต่ถ้าเธอประสบกับภาวะเครียดมากกว่าปกติ เธอก็ยังพบว่ามันยากที่จะบอกได้ว่าเธอมีอาการแพนิก แอทแทกหรือมันคืออย่างอื่น

GP ของเธอส่งเธอไปพบแพทย์โรคหัวใจ เพื่อตรวจหาปัญหาหัวใจอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

เอมิลี่เชื่อว่าคนที่มีความวิตกกังวลต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมว่า เมื่อใดคือเวลาที่พวกเขาควรจะขอความช่วยเหลือ นอกจากนี้เธอยังต้องการที่จะเห็นการรณรงค์ให้ผู้คนรับรู้มากเกี่ยวกับอาการโรควิตกกังวล

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

จับสัญญาณปัญหาสุขภาพจิต

“แน่นอนเลยว่า ข้อมูลเกี่ยวกับอาการวิตกตกังวลมีไม่เพียงพอ... มันแย่มากและมันทำให้ทำอะไรไม่ได้ มีการสนับสนุนช่วยเหลือน้อยมาก และข้อมูลที่มีก็เล็กน้อย และไม่เพียงพอ" เธอกล่าว

การจัดการความวิตกกังวลและอาการ แพนิก แอทแทก

ภาวะตื่นตระหนก (Panic) เป็น “การตอบสนองความกลัวที่เกิดขึ้นฉับพลัน” คุณลินดา วิลเลียมส์ นักจิตวิทยาและผู้นำทางคลินิกสำหรับสุขภาพจิตเยาวชนและ องค์กรสุขภาพจิต ReachOut

แพนิก แอทแทกมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการทางกายร่วมด้วย ซึ่งมักจะรวมถึงความรู้สึกรับรู้ถึงความกลัว หรืออันตราย

“มันเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่จะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกตัดขาดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว หรือเกิดความกลัวที่รุนแรง" เธอกล่าว

คุณวิลเลียมส์กล่าวกว่าคนที่ประสบกับอาการตื่นตระหนก ควรไปรับการตรวจกับแพทย์

“มันเป็นสิ่งสำคัญที่ค้นหาว่ามีปัจจัยทางกายภาพใด ที่มีส่วนทำให้เกิดอาการเหล่านี้" เธอกล่าว

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดหากใครบางคนประสบกับภาวะ แพนิก แอทแทก สิ้งที่สามารถทำคือการหายใจช้าๆ และลึก – ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในขณะที่มีการอาการดังกล่าว

“เมื่อเราหายใจเร็วและสั้น มันจะสร้างวงจรที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกำลังมีภัยคุกคาม” คุณวิลเลียมส์กล่าว

เพื่อช่วยในเรื่องนี้ คุณสามารถโทรศัพท์สายด่วนถึง Lifeline ที่เบอร์โทรศัพท์ 13 11 14 หรือ Kids Helpline ที่เบอร์โทรศัพท์ 1800 55 1800 เวลาที่ได้พูดกับใครบางคน หรือได้รับการแนะนำถึงวิธีการหายใจ “มันสามารถช่วยให้รู้สึกสงบขึ้นได้” เธอกล่าวเสริม

มีการเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวลและปัญหาหัวใจหรือไม่?


จากคำแนะนำของคุณ ราฟโฟล์ มีความเชื่อมโยงหลักสองประการระหว่างความวิตกกังวลและปัญหาหัวใจ

ประการแรกคือความเครียดทางอารมณ์ เช่นความเศร้าโศกที่รุนแรง สามารถทำให้เกิดอาการหัวใจวายโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีบุคคลนั้นมีการอุดตันในหลอดเลือดแดงของพวกเขาอยู่แล้ว

ความเชื่อมโยงอีกอย่างก็คือ “ความสัมพันธ์แบบสองทาง” ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและโรคหัวใจ


เรารู้ว่าคนที่มีภาวะสุขภาพจิตที่สำคัญเช่นภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต และเรายังรู้ว่า คนที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามากขึ้น
คุณ ราฟโฟล์กล่าว

เธอแนะนำให้พูดคุยกับแพทย์ของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุตั้งแต่อายุ 45 ปีเป็นต้นไป


ในที่สุด เอมิลี่ก็เลิกสูบบุหรี่และดื่มสุรา หลังจากที่แพทย์โรคหัวใจบอกเธอว่า การขจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบรรเทาความวิตกกังวลของเธอเกี่ยวกับปัญหาหัวใจ นอกจากนี้ เธอยัง “ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตของเธอ” รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ฉันไม่รู้ว่ามันช่วยลดความวิตกกังวลของฉัน หรือช่วยให้สุขภาพโดยรวมของฉันดีขึ้น... แต่แน่นอนเลยว่า มันช่วยลดอาการแพนิก แอทแทกของฉันลง ทำให้ฉันรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่าฉันดูแลสุขภาพหัวใจของฉันด้วย
เธอกล่าว

หากพบอาการหัวใจวาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือโทรหา Triple Zero (000)

ข้อมูลการสนับสนุนสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีความวิตกกังวลที่ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

หากต้องการการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต สามารถติดต่อ Beyond Blue ที่เบอร์โทรศัพท์ 1300 22 4636 ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
เป็นศูนย์ให้การช่วยเหลือสำหรับผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 30 March 2023 12:00pm
Updated 30 March 2023 5:20pm
By Kathleen Farmilo
Presented by Jittralada Siewiera
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand