อะไรคือสัญญาณของโรคหัวใจวายและควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการ?

Man holding chest

ผู้ชายกุมหน้าอก Source: Getty Images/ljubaphoto

โรคหัวใจวายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในออสเตรเลีย โดยเฉลี่ยทุกๆ 12 นาทีมีชาวออสเตรเลีย 1 คนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และทุกๆ 1 ชั่วโมงมีชาวออสเตรเลีย 1 คนเสียชีวิตจากโรคหัวใจวาย คุณทราบถึงข้อสังเกตสัญญาณของโรคหัวใจวายและสิ่งที่ควรทำเมื่อมีอาการหรือไม่?


กดเพื่อฟังสัมภาษณ์
LISTEN TO
what-are-the-signs-of-a-heart-attack-and-what-to-do-if-it-happens image

อะไรคือสัญญาณของโรคหัวใจวายและควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการ?

SBS Thai

21/03/202208:21
ยิ่งคุณทราบถึงสัญญาณของโรคหัวใจวายได้เร็วและรักษาได้ไว โอกาสที่คุณจะสามารถรักษาได้หายยิ่งสูงขึ้น

ตามหลักการปฐมพยาบาลของออสเตรเลียไวด์ (AustraliaWide) โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของชาวออสเตรเลียมานานกว่าครึ่งศตวรรษ

ข้อมูลจากกรมสถิติแห่งออสเตรเลีย (Australia Bureau of Statistics – ABS) ระบุว่าในปี 2021 เกือบ 13,000 คน (12,728 คน) เสียชีวิตจากโรคหัวใจในออสเตรเลีย

คุณแกร์รี เจนนิ่งส์ (Garry Jennings) แพทย์โรคหัวใจจากมูลนิธิโรคหัวใจ (Heart Foundation) อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อโรคหัวใจวายกำเริบ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อหลอดเลือดแดงหลักเส้นใดเส้นหนึ่งที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่เพียงพอ หลอดเลือดจะเริ่มตีบและอุดตัน และไม่สามารถรอดจากภาวะเหล่านั้นได้
แม้ว่าสัญญาณเตือนของแต่ละคนอาจแตกต่างไป และสัญญาณของโรคหัวใจวายที่มักเกิดขึ้นมีหลายประการ

คุณร็อบ เพเรล (Rob Perel) แพทย์โรคหัวใจจากหน่วยงานหลอดเลือดหัวใจจากรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland Cardiovascular Group) กล่าวว่า ให้ระวังอาการเจ็บหน้าอก

“ประการแรกคืออาการเจ็บหน้าอก และอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจวายจะรุนแรงและไม่ทุเลา มันมักจะเกิดขึ้นบริเวณหน้าอกด้านซ้าย แต่ก็อาจจะเกิดบริเวณตรงกลาง ความเจ็บปวดจะลามไปที่กรามและแขนซ้าย นั่นเป็นอาการเจ็บหน้าอกประเภทหนึ่ง อาการอีกประเภทหนึ่งคืออาการปวดแน่นหน้าอก (Angina) ซึ่งเป็นการปวดเรื้อรังซึ่งอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ไม่ใช่อาการของโรคหัวใจวาย อาจเป็นอาการปวดที่แย่ลงเมื่อคุณเดินและดีขึ้นเมื่อคุณหยุดพัก และเป็นการปวดในบริเวณเดียวกัน”

อาการอื่นๆ ได้แก่ อาการจุกในลำคอ รู้สึกเหมือนแขนทั้งสองข้างหนักขึ้น หายใจลำบาก คลื่นไส้ เหงื่อออกจนตัวเย็น และรู้สึกเวียนหัว

หากคุณคิดว่าตัวคุณหรือผู้อื่นกำลังมีอาการของโรคหัวใจวาย ควรโทรสายด่วนฉุกเฉิน 000 ทันที

นายแพทย์เพเรลกล่าวว่า มีบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยบรรเทาอาการ

“สิ่งที่คุณสามารถทำได้คือไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดหรือโทรเรียกรถพยาบาล คุณควรทานยาแอสไพริน (Aspirin) เมื่อมีอาการซึ่งอาจช่วยได้ เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินจะให้ยาแอสไพรินกับคุณเมื่อพวกเขามาถึง คุณควรนั่งลง พัก และหลีกเลี่ยงการขยับตัว จนกว่าจะมีคนมาช่วยวินิจฉัยอาการและให้การรักษาต่อไป”
Ambulances
รถฉุกเฉิน Source: AAP Image/Bianca De Marchi
คุณอาจไม่แน่ใจว่าคุณกำลังมีอาการของโรคหัวใจวายหรือไม่ แต่ถึงแม้จะกังขาเพียงเล็กน้อยก็ควรไปโรงพยาบาล

นายแพทย์เจนนิงส์กล่าวว่าทุกนาทีมีค่า

“บ่อยครั้งคุณอาจคิดว่ามีคนกำลังมีอาการโรคหัวใจวาย แต่พวกเขาอาจไม่ได้มีอาการนั้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญ การไปตรวจและพบว่าไม่เป็นอะไรนั้นดีกว่ามีคนที่อาการกำเริบแล้วทิ้งไว้จนสายเกินไป เพราะการรักษาในกรณีนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน ทุกนาทีที่ผ่านไปอาจหมายถึงความสามารถในการรักษากล้ามเนื้อหัวใจได้เร็วและชีวิตที่ดีขึ้นของคนนั้น”

ในออสเตรเลีย ครึ่งหนึ่งของผู้ชายและหนึ่งในสามของผู้หญิงที่มีอายุเกิน 45 ปีจะป่วยเป็นโรคหัวใจในบางช่วงของชีวิต

ตัวเลขสถิตินั้นสูง แต่ข่าวดีคือเป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

นายแพทย์เพเรลกล่าวว่า กุญแจคือการรักษาสุขภาพ

“คุณจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจวาย หากคุณสูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย มีคอเรสเตอรอลสูง ความดันสูง เป็นโรคเบาหวาน และมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นคำตอบของการหลีกเลี่ยงโรคหัวใจวายคือ อย่าสูบบุหรี่ รักษาน้ำหนักตัวให้ปกติ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง หากคุณเป็นโรคความดันสูงควรรักษามัน หากคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณควรดูแลตัวเองให้ดี”

Ashtray and ciggies
บุหรี่และที่เขี่ยบุหรี่ Source: Getty Images/seksan Mongkhonkhamsao


แพทย์โรคหัวใจมีคำแนะนำอีกหนึ่งประการที่อาจช่วยชีวิตคุณได้ ลุกจากเก้าอี้และขยับตัว!

“เราได้เรียนรู้ถึงอันตรายจากการนั่งอยู่กับที่มากเกินไป มันไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย ชีวิตของเราจมอยู่กับการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ นั่งทำงาน นั่งในรถเมล์หรือในรถเพื่อไปทำงาน หนึ่งในภัยของชีวิตสมัยใหม่คือเรานั่งมากเกินไป และนั่นส่งผลต่อโรคหัวใจและโรคอื่นๆ”

โอกาสในการเป็นโรคหัวใจวายนั้นน้อยลงเมื่อคุณรักษาสุขภาพเสมอ โรคนี้อาจเกิดกับคุณหรือคนรอบตัวคุณ จดจำสัญญาณเตือนของโรคนี้และรับมืออย่างรวดเร็ว

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากมูลนิธิโรคหัวใจได้ที่




คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand