นายกออสฯ ประกาศแผนหมื่นล้านสร้างฐานทัพเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์

นายกรัฐมนตรีมอร์ริสันประกาศแผน 10,000 ล้านดอลลาร์สร้างฐานทัพเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์บนชายฝั่งตะวันออกของประเทศ เล็งบริสเบน นิวคาสเซิล พอร์ตเคมบลา เป็นตัวเลือกที่ตั้งฐาน

Morrison plans for nuclear-powered submarine base on Australia's east coast

Morrison plans for nuclear-powered submarine base on Australia's east coast Source: AAP

วานนี้ (7 มี.ค.) นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน กล่าวถ้อยแถลงว่าด้วยนโยบายต่างประเทศกับสถาบันคลังสมองโลวี (Lowy Institute) พร้อมประกาศแผนสร้างฐานทัพเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์บนชายฝั่งตะวันออกของประเทศ 

ในถ้อยแถลงดังกล่าว นายมอร์ริสันหยิบยกประเด็นที่ตนมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคนี้ที่เริ่มก่อตัวขึ้น ท่ามกลางความขัดแย้งทวีความรุนแรงในยุโรปตะวันออก รวมถึงท่าทีสถานการณ์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

“อัตตาธิปไตยบทใหม่เพ่งเล็งท้าทายพลิกระเบียบโลกกลับสู่จุดเริ่มต้นเพื่อสนองตนเอง เราเผชิญหน้ากับความน่าสะพรึงกลัวของโลกแห่งธุรกรรมที่ปราศจากหลักการ ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส” 

นายมอร์ริสันเตือนว่า ความขัดแย้งในยูเครนอาจเป็นเรื่องเหนือกว่าพรมแดนระหว่างประเทศ

“ตรงนี้มีบทเรียนสำหรับชาติเสรีประชาธิปไตยตะวันตกเมื่อเราต่างเผชิญหน้ากับการรุกรานและบีบบังคับอย่างโหดเหี้ยมด้วยอำนาจเด็ดขาด บทเรียนนั้นคือ เราต้องยืนหยัดไปด้วยกัน”

Prime Minister Scott Morrison during a virtual address of the Lowy Institute
Prime Minister Scott Morrison during a virtual address of the Lowy Institute Source: AAP


นอกจากนี้ นายมอร์ริสันยังใช้โอกาสนี้ประกาศแผนวางงบประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ สร้างฐานทัพเรือดำน้ำบนชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงหุ้นส่วนไตรภาคีด้านความมั่นคงระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (AUKUS) ที่ลงนามเมื่อปีที่แล้ว

กระทรวงกลาโหมพิจารณาคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างจาก 19 แห่ง เหลือสามตัวเลือก ได้แก่ บริสเบน นิวคาสเซิล และพอร์ตเคมบลา (Port Kembla)

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (6 มี.ค.) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของออสเตรเลียเผยว่า การตัดสินใจเลือกระหว่างเรือดำน้ำจากอเมริกาหรือจากอังกฤษอาจเกิดขึ้นในอีกสองสามเดือนข้างหน้า สื่อนัยว่าอาจเป็นช่วงระหว่างการเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม นายมอร์ริสันปฏิเสธความเป็นไปได้ดังกล่าว

“ไม่ เราไม่คาดหวังว่าการตัดสินใจจะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง เราไม่คิดเช่นนั้นและไม่มีใครควรคาดหวังเช่นกัน สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นในกรอบเวลานั้น”

นายมอร์ริสันยังกล่าวว่า ตนไม่ต้องการเปรียบเทียบความขัดแย้งในยุโรปตะวันออกกับความตึงเครียดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกโดยตรง แต่กระนั้นก็ชี้ถึงท่าทีตอบสนองที่นิ่งเงียบของจีนต่อกรณีรัสเซียเข้ารุกรานประเทศเอกราชอื่น 

“ผมคอยฟังเสียงของทางรัฐบาลจีนที่จะประณามการกระทำของรัสเซีย และมีเพียงความเงียบเชียบอันน่าสะพรึง ตอนนี้ไม่มีประเทศใดจะสร้างผลกระทบต่อประเด็นรัสเซียใช้ความรุนแรงรุกรานยูเครนได้มากไปกว่าจีนเข้าร่วมกับนานาประเทศประณามการรุกรานของรัสเซีย”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด

หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  

Share
Published 8 March 2022 5:01pm
Updated 12 August 2022 2:55pm
By Krishani Dhanji, Pablo Vinales
Presented by Phantida Sakulratanacharoen

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand