เตือนนักการเมืองระวังวาทกรรมสร้างความเกลียดชัง

NEWS: นายกรัฐมนตรีและนักการเมืองหลายคนร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวันอาทิตย์ เพื่อแสดงความสมานฉันท์ ต่อต้านวาจาสร้างความเกลียดชัง แต่บางคนกล่าวว่าที่จริงแล้ววาทกรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างปัญหา

You can read the full story in English

มีเสียงเรียกร้องให้นักการเมืองออสเตรเลียคำนึงถึงบทบาทของตนที่กระพือวาจาสร้างความเกลียดชังในชุมชนบางส่วน หลังเหตุการณ์การกราดยิงที่มัสยิดสองแห่งในประเทศนิวซีแลนด์

มีประชาชนราว 200 คนชุมนุมกันหน้าสถานกงสุลนิวซีแลนด์ ในซิดนีย์ เพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติและความเชื่อรุนแรงอย่างไม่มีเหตุผล

นางเมห์รีน ฟารุคี วุฒิสมาชิกพรรคกรีนส์ ของนิวเซาท์เวลส์ ได้เข้าร่วมการชุมนุนต่อต้านความกลัวอิสลามอย่างไร้เหตุผล เธอกล่าวว่าเพื่อนร่วมงานในวุฒิสภาบางคนที่เป็นต้นเหตุของปัญหา

“บางคนยกหยิบยกเรื่องการต่อต้านอิสลามและการต่อต้านผู้อพยพมาเพื่อจะชนะการเลือกตั้ง และฉันคิดว่านั่นน่าขยะแขยง” วุฒิสมาชิกฟารุคี บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“ชาวมุสลิมพูดมานานหลายปีแล้วว่าการใช้ภาษาลดทอนความเป็นมนุษย์พวกเราจะสร้างความเสียหาย และเราจะไม่เข้าไปเล่นเกมส์นี้ด้วย เกมส์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตของพวกเรา”
NSW Greens Senator Mehreen Faruqi at the anti-Islamophobia rally in Sydney. Twitter
NSW Greens Senator Mehreen Faruqi at the anti-Islamophobia rally in Sydney. Source: Twitter
นางฟารุคี ต้องการให้นักการเมืองให้คำมั่นจะประณามการเหยียดเชื้อชาติและความเชื่อรุนแรงอย่างไม่มีเหตุผล โดยบอกว่าเธอรู้สึกเศร้าใจและผิดหวังที่ต้องมีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปถึง 50 คนจึงจะมีการมองเห็นความสำคัญของปัญหานี้

“ฉันหวังอย่างยิ่งว่าจากนี้นักการเมืองจะเริ่มรับฟังและเริ่มกระทำตามนั้น แต่ความจริงแล้วมันไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดเรื่องก่อนเลย เราควรทำได้ดีกว่านี้ตั้งนานแล้ว” นางฟารุคี กล่าว

นายชิน แทน กรรมธิการด้านการเหยียดเชื้อชาติ กล่าวว่า เขาเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจนว่าจะไม่มียอมรับวาจาสร้างความเกลียดชังในทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งในรัฐสภาด้วย

เขาบอกกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่านักการเมืองควรเอาใจใส่เรื่องผลจากวาทกรรมของตนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่น

“นักการเมืองก็เหมือนกันคนอื่นๆ ที่มีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะบทบาทที่พวกเขามีเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่เหมือนใครในรัฐสภา สิ่งที่พวกเขาพูดมีผลกระทบต่อสิ่งที่ประชาชนคิด” นายแทน กล่าว

มีการพุ่งความสนใจไปที่สื่อมวลชนด้วย ที่มีบทบาทเช่นกันในการเผยแพร่ความเห็นของผู้มีความคิดรุนแรงสุดโต่ง

“มีเพียงเส้นบางๆ กั้นระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กับการแพร่กระจายวาจาสร้างความเกลียดชัง คุณต้องชี้ว่าผิดทันทีที่นักการเมืองพูดและตรวจสอบพวกเขาอย่างละเอียด ตั้งคำถามพวกเขา และฉันคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ได้กำลังเกิดขึ้น”

“พวกเขาไม่ได้ตรวจสอบสิ่งที่คนอย่างพอลลีน แฮนสัน (หัวหน้าพรรควันเนชัน) และเฟรเซอร์ แอนนิง (นักการเมืองอิสระ) และแม้แต่ที่พรรคลิเบอรัลกำลังพูดถึง”

นายบิล ชอทเทน หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ที่ได้ไปร่วมพิธีที่มัสยิดแห่งหนึ่งในเมลเบิร์นเมื่อวันอาทิตย์ กล่าวว่า โซเชียลมีเดียปล่อยให้วาจาสร้างความเกลียดชังเผยแพร่ออกไปอย่างง่ายดาย

“โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมืออันยอดเยี่ยม แต่ไม่ควรถูกใช้เป็นปลักตมให้คนที่ทำผิดได้หลบซ่อน และคอยคลานออกมาทำความผิดอีก นายชอทเทน บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอาทิตย์”

นายแทน กล่าวว่า ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของโซเชียลมีเดียในการแพร่กระจายการเหยียดเชื้อชาติ

“เราจำเป็นต้องคุยกับบริษัทผู้ให้บริการว่าพวกเขาจะรับผิดชอบอย่างไรในสิ่งที่พวกเขาแสดงให้เห็นและข้อมูลที่ปล่อยให้เผยแพร่ออกไปได้” นายแทน ระบุ
Archbishop of Sydney Anthony Fisher (left) greets Prime Minister Scott Morrison and wife Jenny Morrison during an Interfaith gathering at St Mary's Cathedral.
Source: AAP
ด้านนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ใช้เวลาในวันอาทิตย์เข้าร่วมพิธีทางศาสนาสำหรับผู้คนหลากความเชื่อที่โบสถ์คอปติก ในซิดนีย์

“ท่ามกลางเหตุการณ์โหดร้ายที่เลวร้ายที่เกิดขึ้น ยังมีความหวังว่าเราสามารถยึดมั่นในใจได้ นั่นคือมีผู้คนที่รักสันติอยู่ทั่วโลก” นายมอร์ริสัน กล่าว

“เราสามารถมาร่วมใจกันเพื่อต่อต้านความเกลียดชังและความรุนแรงเหล่านี้ และเราทุกคนยืนหยัดด้วยกันในฐานะบุคคลหลากหลายศาสนา หรือไม่มีศาสนาเลยก็ตาม เรายืนหยัดด้วยกัน เพื่อผู้บริสุทธิ์ เพื่อสันติภาพ และเพื่อความรัก ที่อยู่เหนือความเกลียดชัง”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ ที่นี่




Share
Published 18 March 2019 10:54am
By Rosemary Bolger
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand