เปลี่ยนเป้า ‘คนเรือ’ เป็น ‘คนเครื่องบิน’ คนไทยส่วนหนึ่งถูกจับตา

NEWS: รัฐบาลออสเตรเลียอาจภาคภูมิใจที่ยับยั้งเรือผู้ขอลี้ภัยได้ แต่ขณะนี้กำลังมีผู้ขอลี้ภัยมากขึ้นที่เดินทางมายังออสเตรเลียทางเครื่องบิน ขณะที่หลายฝ่ายชี้ควรจับตาดูผู้ฉวยโอกาสเข้ามาในออสเตรเลียด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่ตรงกับประเภทของวีซ่า

ผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเครื่องบินพุ่งสูงเป็นประวัติกาล (AAP)

ผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเครื่องบินพุ่งสูงเป็นประวัติกาล Source: AAP

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English

พรรคฝ่ายค้านกำลังพยายามให้เปลี่ยนเป้าความสนใจทางการเมืองจาก ‘โบ้ท พีเพิล’ หรือผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเรือ ให้เปลี่ยนไปเป็น ‘แอร์เพลน พีเพิล’ หรือผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเครื่องบินแทน

นางคริสตินา เคนีลลี โฆษกด้านมหาดไทย ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ของพรรคฝ่ายค้าน กล่าวหานายปีเตอร์ ดัทตัน ว่าไม่สามารถควบคุมการเดินทางเข้ามายังออสเตรเลียทางอากาศได้

“นี่มีหลักฐานยืนยันจากจำนวนที่พุ่งสูงขึ้นของผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมายังออสเตรเลียทางเครื่องบิน” วุฒิสมาชิกเคนีลลี กล่าว

จำนวนผู้ที่สมัครขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเครื่องบินได้พุ่งสูงขึ้นเป็นจำนวนเกือบ 28,000 คนในปีการเงินที่แล้ว ขณะที่มีจำนวน 18,290 คนในปีการเงิน 2016-2017 และ 9,554 คนในปี 2015-2016

ผู้สมัครขอลี้ภัยจากจีนและเมเลเซียมีสัดส่วนสูงสุดในหมู่ผู้สมัครขอลี้ภัยที่เพิ่มขึ้น

น้อยกว่า 1 ใน 5 ของผู้สมัครขอลี้ภัยประสบความสำเร็จได้รับสถานะผู้ลี้ภัย แต่ผู้สมัครจำนวนมากยังคงอยู่ในออสเตรเลียต่อไปด้วยบริดจิงวีซ่า ขณะที่พวกเขาดำเนินการอุทธรณ์คำตัดสิน ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นปี

นายจอห์น คอยน์ หัวหน้าด้านนโยบายกลยุทธ์และการบังคับใช้กฎหมาย ของสถาบันนโยบายกลยุทธ์แห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า ผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเครื่องบินเป็นสิ่งที่ทวีปยุโรปและประเทศอังกฤษประสบความยากลำบากในการควบคุมจำนวนผู้คนเหล่านี้มานานแล้ว

“หากเราไม่ระวัง เราอาจเป็นเหมือนพวกเขา สิ่งที่เกิดขึ้นคือประชาชนเหล่านั้นจำนวนมากที่ไม่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย หรือไม่ได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย สุดท้ายแล้วก็ไม่เดินทางออกจากอังกฤษเลย” ดร.คอยน์ บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“พวกเขาเข้าไปอยู่ในพื้นที่สีเทาที่ก้ำกึ่งกันระหว่างการอพยพย้ายถิ่นกับการเป็นพลเมือง และนั่นส่งผลให้เกิดปัญหามากมายเรื่องการเชื่อมแน่นทางสังคมตามมา”

ดร.คอยน์ กล่าวว่า มีความผิดปกติที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์พรมแดนจะสามารถมองหาเพื่อระบุชี้บุคคลที่มีแนวโน้มจะเดินทางเข้ามายังออสเตรเลียอย่างผิดวัตถุประสงค์ของวีซ่าได้

“เราต้องมองหาคนที่มีการเตรียมการด้านการเดินทางอย่างแปลกๆ พวกเขาจองสิ่งต่างๆ ด้วยเงินสด หรือด้วยวิธีการอื่นๆ”
เขายังยกตัวอย่างของหญิงสาวชาวไทยจำนวนหนึ่ง ที่มาจากพื้นที่ยากจนของประเทศ พวกเธอพูดภาษาอังกฤษได้น้อยมาก หรือพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แต่มายังออสเตรเลียด้วยวีซ่านักเรียน
“สิ่งที่พวกเขาจะไม่ทำคือสร้างสิ่งที่เป็นเหมือนกำแพงนายทรัมป์ขึ้นมาเพื่อกีดกันผู้คนเป็นวงกว้าง แต่นี่เป็นวิธีการที่พุ่งเป้าอย่างเจาะจง”

ผู้ลักลอบนำคนเข้าเมืองได้อะไร?

นายอาบูล ริซวี ที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ระหว่างช่วงต้นปีทศวรรษ 1990-2007 เคยเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการปราบปรามกรณีลักลอบนำชาวนา ชาวไร่ และกรรมกรจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในออสเตรเลีย

เขากล่าวว่า ผู้ลักลอบนำคนเข้าประเทศหลอกล่อผู้คนด้วยการสัญญาว่าจะมีงานทำในออสเตรเลีย และจะยื่นเรื่องสมัครขอลี้ภัยให้ เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้ในออสเตรเลีย ขณะที่รอผลการสมัครขอลี้ภัย

“จากนั้นผู้คนเหล่านั้นก็ถูกนำตัวไปยังฟาร์มต่างๆ หรือไปยังร้านอาหาร หรือร้านขายเซ็กซ์ชอป เพื่อให้ทำงานที่นั่น” นายริซวี กล่าว

ผู้อยู่เบื้องหลังการหลอกลวงดังกล่าวได้รับค่าคอมมิชชัน หรือค่าหัวคิว สำหรับลูกจ้างเหล่านั้นแต่ละคนที่พวกเขาจัดหามาให้ และโดยมากมักได้รับเงินตอบแทนเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของค่าจ้างสำหรับลูกจ้างเหล่านั้นด้วย
Farm workers
มีการสงสัยว่าผู้ลักลอบนำคนเข้าเมืองหลอกล่อให้ประชาชนเดินทางมาทำงานในออสเตรเลียและบอกว่าจะสมัครขอวีซ่าผู้ลี้ภัยให้ (Wikimedia_commons) Source: Wikimedia Commons
นายริซวี กล่าวว่า การประเมินใบสมัครและการปฏิเสธใบสมัครขอลี้ภัยอย่างรวดเร็วเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดจำนวนผู้สมัครที่มีจุดประสงค์ไม่ตรงกับวีซ่า

“ด้วยการพิจารณาและประเมินใบสมัครอย่างรวดเร็ว เราจะสามารถกีดกันไม่ให้ผู้ลักลอบนำคนเข้าเมืองได้เงินที่พวกเขาต้องการได้ ไม่ได้กำไรจากกลการหลอกลวงนี้ และผู้ลักลอบนำคนเข้าเมืองก็จะลดลง”

เขากล่าวโทษการพิจารณาวีซ่าที่ล่าช้าว่าเป็นสาเหตุทำให้จำนวนคนเข้าประเทศที่มาอย่างผิดวัตถุประสงค์ของวีซ่ามีจำนวนมากในปัจจุบัน

“ผมคิดว่าแน่นอนทีเดียวที่ผู้ลักลอบนำคนเข้าเมืองกำลังหัวเราะเยาะเราอยู่ พวกเขาหาเงินได้จำนวนมาก อย่างง่ายดาย เรากำลังเป็นตัวตลก”

เอสบีเอส นิวส์ ได้ติดต่อสำนักงานของนายปีเตอร์ ดัทตัน รัฐมนตรีมหาดไทยเพื่อขอความเห็นเรื่องนี้ และได้รับแจ้งให้ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากนายเดวิด โคลแมน รัฐมนตรีด้านการตรวจคนเข้าเมือง ที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้กับ สกาย นิวส์

นายโคลแมน บอกกับ สกาย นิวส์ ว่า ผู้สมัครขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเครื่องบิน ร้อยละ 95 ถูกปฏิเสธสถานะผู้ลี้ภัย

"การยื่นสมัครขอสถานะผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องหนึ่ง การสมัครจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหากคุณไม่ประสบความสำเร็จ คุณก็ต้องกลับบ้านไป"

“ประชาชนที่เดินทางมาถึงด้วยวิธีดังกล่าวได้ทำอย่างถูกกฎหมายด้วยวีซ่าที่มีผลตามกฎหมาย พวกเขาไม่ได้เสี่ยงชีวิตของตนเอง และว่าไปแล้ว พวกเขาไม่ได้ทำให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์พรมแดนของออสเตรเลียต้องเสี่ยงชีวิต เหมือนคนที่เดินทางมาทางเรือ”

You can read the full article in English 

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 June 2019 11:37am
Updated 1 October 2019 10:34am
By Rosemary Bolger
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand