คู่รัก LGBTIQ+ หลายร้อยคู่กำลังเตรียมเข้าพิธีจดทะเบียนสมรสในกรุงเทพฯ ในวันนี้

หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านสภาพและจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ต่อจากไต้หวันและเนปาล

A person standing in front of a large building, smiling and holding up a rainbow flag.

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ต่อจากไต้หวันและเนปาล Source: AAP / Rungroj Yongrit/EPA

หลังจากความพยายามของนักเคลื่อนไหว LGBTIQ+ ชาวไทยมานานกว่าสองทศวรรษ ในที่สุดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมก็ได้ผ่าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งถือเป็นการปูทางให้ความเสมอภาคในการสมรสกลายเป็นกฎหมายในประเทศ

Thailand Same Sex Marriage
พิศิษฐ์ สิริหิรัญชัย (ซ้าย) และชนาธิป สิริหิรัญชัย จากกลุ่ม LGBTQ+ โชว์ใบทะเบียนสมรสของตนเอง หลังจากพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการสมรสมีผลบังคับใช้ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568 (AP Photo/Sakchai Lalit) Source: AP / Sakchai Lalit/AP
23 มกราคม 2568 ถือเป็นวันแรกในประวัติศาสตร์ที่กฎหมายสมรวเท่าเทียมได้เริ่มบังคับใช้ในประเทศไทย โดยสื่อทุกสำนักได้รายงานถึงบรรยากาศความครึกครื้นทั้งในภาคส่วนของรัฐ และคู่รักจำนวนมากที่เดินทางไปจดทะเบียน ณ ที่ว่าการเขตในกรุงเทพ และที่ว่าการอำเภอในจังหวัดต่างๆ ทั่งประเทศ
ในได้ระบุถึง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Promotion event in Thailand for legalizing marriage equality
epa11826129 นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร (แถวหน้า กลาง) ทักทายคู่รักเพศเดียวกันระหว่างถ่ายภาพที่ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 15 มกราคม 2568 เพื่อส่งเสริมร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม ซึ่งมีกำหนดจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่สามในเอเชียที่ให้การแต่งงานของเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย EPA/RUNGROJ YONGRIT Source: EPA / RUNGROJ YONGRIT/EPA

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เพื่อให้บุคคล 2 คนไม่ว่าจะเพศใดสามารถทำการหมั้นและสมรสได้ จาก กม.สมรสปัจจุบันที่การหมั้น ใช้คำว่า “ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง” แก้ไขเป็น “ผู้หมั้นและผู้รับหมั้น” หรือ “เพศ” ที่ใช้คำว่า “ชาย-หญิง” แก้ไขเป็น “บุคคลทั้ง 2 ฝ่าย”

และสถานะหลังจดทะเบียนสมรส จาก “สามีภริยา/คู่สมรส” แก้เป็น “คู่สมรส/คู่สมรส” รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิ หน้าที่สถานะทางครอบครัว เท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง
A man and a woman greet reporters and photographers
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทั่วโลกจะเห็นเราและรู้ว่าในประเทศเล็กๆ แห่งนี้ เรามีแนวคิดและการสนับสนุนประชาชนของเราแบบนี้ Source: AP / Wason Wanichakorn
ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะรายละเอียดกฎหมายที่ผูกพัน ทั้งอาญา และแพ่ง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิต่าง ๆ ทั้งสิทธิการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิรับบุตรบุญธรรม สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย เป็นต้น

ด้านแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทั่วโลกจะเห็นเราและรู้ว่าในประเทศเล็กๆ แห่งนี้ เรามีแนวคิดและการสนับสนุนประชาชนของเราแบบนี้

Thailand Marriage Equality
กลุ่ม LGBTQ โพสต์รูปถ่ายในงานเฉลิมฉลองร่างกฎหมายความเท่าเทียมกันทางการสมรส ณ ทำเนียบรัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 (AP Photo/Jirasak jivawavatanawanit) Source: AP / Jirasak jivawavatanawanit/AP
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลได้เชิญคู่รักและนักเคลื่อนไหวหลายสิบคู่เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว

หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านสภาพและจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ต่อจากไต้หวันและเนปาล

Share
Published 23 January 2025 1:26pm
Updated 23 January 2025 4:38pm
Source: SBS

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand