ไทยจัดไพรด์พาเหรดในรอบหลายปี แต่เส้นทางสู่ความเท่าเทียมยังอีกยาวไกล

กลุ่มคนหลากเพศในไทยรวมตัวจัดพาเหรดรณรงค์ความเท่าเทียมครั้งแรกอย่างเป็นทางการในกรุงเทพฯ แต่การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมที่แท้จริงยังคงอีกยาวไกล

กลุ่มแดร็กควีนในงานนฤมิตไพรด์ 2022 ที่กรุงเทพมหานคร

5 มิ.ย.2022 กลุ่มแดร็กควีนในงานนฤมิตไพรด์ 2022 ที่กรุงเทพมหานคร Source: Getty, LightRocket/SOPA Images

วานนี้ (5 มิ.ย.) บรรยากาศในกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยสีสันและแสงสี จากกิจกรรมโดยชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งได้ออกมาเฉลิมฉลองโดยการเดินขบวน “ไพรด์พาเหรด” เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี แต่ผู้เข้ารวมงานหลายคนเตือนว่า ความเท่าเทียมที่แท้จริงในสังคมไทยนั้นยังอีกยาวไกล

งาน “นฤมิตไพรด์ 2022” จัดขึ้นในกรุงเทพ ฯ โดยกลุ่มพันธมิตรที่ไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งมี ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ให้การสนับสนุน

กลุ่มพันธมิตรและผู้คนจากทุกเพศสภาพ ศิลปินแต่งกายแบบแดร็ก กลุ่มคนทำงานบริการทางเพศ กลุ่มสตรีนิยม และแม้กระทั่งกลุ่มคนชื่นชอบการแต่งตัวแบบครึ่งคนครึ่งสัตว์ (เฟอร์รี่) ต่างมารวมตัวกันเพื่อเดินขบวนพาเหรดอย่างเป็นทางการบนถนนสายหลักของมหานครแห่งนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2549



“ฉันรู้สึกมีความสุข” จอห์นนี่ ภูริกร แดร็กควีนคนหนึ่ง กล่าวพร้อมรอยยิ้มบนริมฝีปากที่ทาด้วยลิปสติกสีแดง ในชุดเดรสปาดไหล่สีแดงฉูดฉาด

“ฉันรู้สึกยินดี และรู้สึกขอบคุณที่ได้มีโอกาสนี้” บุคคลวัย 31 ปีคนหนึ่งระบุ แต่ก็ได้กล่าวเสริมว่า ประเทศนี้จะต้องทำอะไรให้มากขึ้นเพื่อสนับสนุนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ+)

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้มีชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศปรากฏอย่างชัดเจน แต่หลายคนยังพบเจอกับอุปสรรคและการเลือกปฏิบัติ ในราชอาณาจักรอนุรักษ์นิยมซึ่งนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่แห่งนี้

“ฉันไม่อยากให้ผู้คนคิดว่าเราแตกต่าง” เมษา เพ็ชรคราม (ป๊อป) ผู้เข้าแข่งขันเวทีประกวดความงามบุคคลข้ามเพศ “มิส ทิฟฟานี ยูนิเวิร์ส” กล่าว

“เราไม่ต้องการสิทธิ์ไปมากกว่าเพศสภาพอื่น ๆ เราเพียงต้องการสิทธิขั้นพื้นฐาน” คุณเมษา กล่าว พร้อมกับชี้ว่าชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศยังพบกับการเลือกปฏิบัติอยู่ทุกวันอย่างไร

“ฉันหวังว่ากฎหมายสมรสเพศเดียวกันจะผ่าน นั่นก็เพื่อให้เรามีกฎหมายที่ปกป้องและลดความไม่เท่าเทียมทางเพศสภาพลง” คุณเมษา กล่าวเสริม พลางขยับมงกุฎสูงตระหง่านพร้อมกับย้ำประเด็น
นักเคลื่อนไหวสิทธิคนทำงานบริการทางเพศในงานนฤมิตไพรด์ 2022 ในกรุงเทพ
นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนทำงานบริการทางเพศในงานนฤมิตไพรด์ 2022 งานไพรด์พาเหรดในไทยครั้งแรกในรอบ 16 ปี Source: Getty, LightRocket/SOPA Images

สิทธิ์ที่จะมีรัก

สำหรับคู่ครองที่ได้หมั้นหมายกันอย่าง อันธิฌา แสงชัย และ วรวรรณ รามวรรณ คำถามเกี่ยวกับความเท่าเทียมในการสมรสนั้นเข้ากับงานเป็นพิเศษ ทั้งคู่ปรากฏตัวในงานในชุดราตรีสีขาวสะดุดตาที่ได้รับความสนใจจากผู้คนในงาน และในโซเชียลมีเดียในเวลาต่อมา พร้อมจัดพิธีสมรสท่ามกลางขบวนพาเหรดในวันนั้น

“เพื่อน ๆ อันเป็นที่รักของฉันเดินไปพร้อมกัน และมอบช่วงเวลาพิเศษให้กับชีวิตของเรา” อันธิฌา กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี โดยระบุว่าประสบการณ์ท่ามกลางผู้คนที่มาร่วมงานในวันนี้ “ถือเป็นเกียรติ”
ภาพผู้มาเดินขบวนในงานนฤมิตไพรด์ 2022 ในกรุงเทพ ใส่เดรสสีขาวพร้อมแถบผ้าสีรุ้งคล้ายกระโปรง
ไทยยังไม่ทำให้การสมรสเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย Source: Getty, LightRocket/SOPA Images
รัฐสภาของไทยยังไม่ทำให้การสมรสเพศเดียวกันเป็นเรื่องถูกกฎหมาย โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลไทยได้ปัดตกข้อเสนอในการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน

“ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสร้างครอบครัว มีความรัก และแต่งงานกับใครก็ได้ที่พวกเขารัก” อันธิฌา กล่าว

“ทำไมเราจึงทำสิ่งนั้นไม่ได้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

รัฐบาลหนุน 'แฟร์เวิร์ก' ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคลายวิกฤตค่าครองชีพ


Share
Published 6 June 2022 5:24pm
Updated 8 June 2022 11:36am
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, Reuters


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand