เลือกตั้งออสฯ 2019: พรรคหลักๆ มีจุดยืนเรื่องการรับชาวต่างชาติอย่างไรบ้าง

NEWS: การร้องเรียนเรื่องความแออัดในตัวเมืองทำให้จำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นในเมืองใหญ่ๆ ของออสเตรเลียนั้นตกเป็นที่สนใจ แล้วพรรคใดจะมีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง?

Image of an Asian family with luggage on an airport trolly

การร้องเรียนเรื่องความแออัดในตัวเมืองทำให้เกิดความสนอกสนใจต่อการเพิ่มจำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .
การร้องเรียนเรื่องความแออัดในตัวเมืองทำให้จำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นในเมืองใหญ่ๆ ของออสเตรเลียนั้นตกเป็นที่สนใจ แล้วพรรคใดจะมีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง?
Graphic
Source: SBS News
เมื่อเดือนที่แล้ว พรรคร่วมเตรียมพร้อมต่อสู่การเลือกตั้งด้วยนโยบายการปกป้องพรมแดน โดยเตือนถึงการทะลักเข้ามาของผู้ขอลี้ภัย

รัฐมนตรีหลายคนแนะว่า “พวกใคร่เด็กและอาชญากร” จะเดินทางกันมาจากเกาะมานัสและนาอูรูสู่ออสเตรเลียหากพรรคแรงงานและ สส. อิสระรวมตัวกันเพื่อผ่านกฎหมายเพื่อให้อานาจเพิ่มแก่แพทย์ในเรื่องการส่งตัวเข้าประเทศเนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์

แต่กลยุทธ์ดังกล่าวก็ถูกทอดทิ้งไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ยิงกราดที่มัสยิดในนครไครสต์เชิร์ช
Prime Minister Scott Morrison poses for photographs on Christmas Island.
Prime Minister Scott Morrison toured the reopened Christmas Island in March. It will now be closed by July. Source: AAP
หลังจากที่เปิดใช้ศูนย์กักกันบนเกาะคริสต์มาสอีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคม โดยนายกรัฐมนตรีนั้นได้ไปเยี่ยมเยือนด้วยตนเอง ขณะนี้รัฐบาลก็วางแผนที่จะปิดศูนย์ดังกล่าวภายในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นไปได้อย่างมากว่าจะไม่มีผู้ขอลี้ภัยแม้แต่หนึ่งรายที่จะมาเหยียบเกาะแห่งดังกล่าว

ทว่าการดำเนินการนี้จะมีค่าใช้จ่าย $185 ล้านดอลลาร์จนถึงสิ้นปีนี้

แทบจะไม่มีการกล่าวถึงเรื่องความมั่นคงของพรมแดนเลยตั้งแต่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้เริ่มต้นขึ้น และนั่นก็เป็นประโยชน์ต่อพรรคแรงงานด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อปีที่แล้วการโต้เถียงภายในเกี่ยวกันเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ขอลี้ภัยนั้นคุกคามต่อเสถียรภาพของฝ่ายค้าน แต่ก็มีการตกลงกันได้ในนาทีสุดท้ายที่ทำให้ทางพรรคหวนกลับมาผูกมัดอีกครั้งหนึ่งต่อการสนับสนุนให้หันหัวเรือกลับออกทะเล และต่อการมีศูนย์กักกันอยู่นอกประเทศ

อย่างไรก็ตาม พรรคแรงงานกำลังวางแผนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่รับเข้าประเทศจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมให้มากขึ้น เพื่อรับผู้ลี้ภัยจำนวน 27,000 คนต่อปี ซึ่งเป็นแผนการที่ทางพรรคร่วมได้อ้างว่าจะมีค่าใช้จ่าย $6 พันล้านดอลลาร์สำหรับอีก 10 ปีข้างหน้า แต่พรรคแรงงานก็ปฏิเสธตัวเลขดังกล่าว

แผนการของพรรคแรงงานยังรวมไปถึงการเพิ่มจำนวนของผู้ที่ชุมชนเป็นผู้รับรอง(เป็นสปอนเซอร์) จาก 1,000 รายเป็น 5,000 ราย โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่องบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด

ส่วนพรรคกรีนส์นั้นเป็นเสียงคัดค้านที่สำคัญดังที่สุดต่อการกักกันตัวนอกชายฝั่งของประเทศ และพรรคจะดำเนินการเพื่อนำผู้ขอลี้ภัยทั้งหมดมายังแผ่นดินใหญ่ และจำกัดการกักกันภายในประเทศให้อยู่ที่ไม่เกินเจ็ดวัน

ในขณะเดียวกัน พรรครองพรรคดังกล่าวซึ่งอาจเป็นผู้มีอำนาจชี้ชะตาในการตัดสินใจต่างๆ ของวุฒิสภา ต้องการที่จะเพิ่มจำนวนผู้ที่ออสเตรเลียรับเข้าประเทศจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมขึ้นเป็น 50,000 รายต่อปี และยังผลักดันให้มีการไต่สวนหาความจริงสาธารณะรอยัลคอมมิชชันต่อการกักกันการตรวจคนเข้าเมืองโดยออสเตรเลีย

การอพยพย้ายถิ่นฐานและความแออัด

“การแก้ไขความแออัด” ได้กลายเป็นเสียงเรียกร้องหลักของรัฐบาล และก็ได้ทำให้ตัวเลขจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานในนครซิดนีย์และเมล์เบิร์นนั้นตกเป็นเป้าความสนใจ

หลังเกิดการจู่โจมที่นครไครสต์เชิร์ช นายสกอตต์ มอร์ริสันได้เลือกใช้คำพูดของเขาอย่างระมัดระวัง เมื่อประกาศการลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่รับเข้าประเทศเป็นการถาวร ลงจาก 190,000 รายลงเป็น 160,000 ราย เพื่อจงใจปัดไม่ให้เกิดข้อกล่าวหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ
Image of a diverse and busy shopping street in a city in Australia.
รัฐบาลต้องการสนับสนุนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานให้ย้ายออกไปยังพื้นที่ส่วนภูมิภาค (Image source: AAP) Source: AAP
“เพียงเพราะว่าชาวออสเตรเลียนั้นวิตกกังวลต่อการจราจรที่ติดขัดและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่เช่นซิดนีย์หรือเมลเบิร์น ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาต่อต้านผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหรือเหยียดเชื้อชาติ” เขากล่าวในการปราศรัยเมื่อเดือนมีนาคม

กลยุทธ์ของพรรคร่วมนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วประสบความสำเร็จ โดยมีสาเหตุที่สำคัญส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการที่พรรคแรงงานนั้นก็ได้ยอมรับต่อการลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานลง

แม้ว่าจะยอมตกลงต่อการจำกัดจำนวนใหม่ดังกล่าวโดยทันที ฝ่ายค้านก็ชี้ให้เห็นว่ามันจะไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากมายแต่อย่างใด เพราะจำนวนที่รับเข้ามาในปีนี้ตามความเป็นจริงนั้นก็อยู่ที่เพียง 162,000 รายเท่านั้น

พรรคร่วมยังจะจัดให้มีสิ่งจูงใจต่างๆ สำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่ เช่นเหล่านักเรียนนานาชาติ ให้ย้ายไปยังพื้นที่ส่วนภูมิภาค ในรูปแบบของทุนการศึกษา วีซ่าชนิดใหม่ๆ และช่องทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

ด้านพรรคกรีนส์นั้น ชูความหลากหลายของประเทศออสเตรเลีย และเรียกร้องให้มีการเริ่มใช้พระราชบัญญัติความหลากหลายทางวัฒนธรรมระดับสหพันธรัฐ และให้มีโครงการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติระดับประเทศ

วีซ่าต่างๆ

ในขณะเดียวกันกับที่รัฐบาลกำลังควบคุมการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นการถาวร จำนวนวีซ่าชั่วคราวต่างๆ กลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

รัฐบาลยืนยันว่า ธุรกิจต่างๆ จำเป็นจะต้องพยายามเสาะหาชาวออสเตรเลียเพื่อทำตำแหน่งงานเสียก่อน แต่ก็กล่าวว่าหากไม่ประสบความสำเร็จ  รัฐบาลก็จะเร่งขั้นตอนการประเมิน(วีซ่า)ในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนทักษะ

พรรคแรงงานต้องการจะระงับการเพิ่มจำนวนวีซ่าทำงานประเภทชั่วคราวต่างๆ แต่ก็ไม่ได้กล่าวว่าให้อยู่ที่จำนวนเท่าใด โดยจะมีการจัดตั้งองค์กรด้านทักษะแห่งออสเตรเลีย (Australian Skill Authority) ขึ้นเพื่อตรวจสอบความต้องการแรงงาน

ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับครอบครัวของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานก็คือระยะเวลาการรอคอยอันยาวนานสำหรับวีซ่าบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวีซ่าบิดามารดา

ด้านรัฐบาลนั้นได้นำวีซ่าชนิดใหม่ระยะห้าและ 10 ปีมาใช้ แต่วีซ่าเหล่านี้ก็มีราคาแพงและจำกัดให้เฉพาะบิดามารดาเพียงคู่เดียวเท่านั้น

พรรคแรงงานได้สัญญาที่จะอนุญาตให้บิดามารดาทั้งสองคู่สามารถเข้าใช้วีซ่าดังกล่าวได้ ในขณะที่พรรคกรีนส์ได้สัญญาที่จะปรับปรุงวีซ่าเพื่อการกลับมาอยู่ร่วมกันของครอบครัว (Family reunion visa) แต่ก็ไม่ได้ประกาศในรายละเอียดว่าจะเป็นเช่นใด
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 22 April 2019 11:58am
Updated 22 April 2019 12:14pm
By SBS News
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand