อัตราเงินเฟ้อล่าสุดกระทบกับเงินในกระเป๋าของคุณอย่างไร

นักเศรษฐศาสตร์เผยข่าวดีของผู้บริโภคเกี่ยวกับข้อมูลอัตราเงินเฟ้อประจำไตรมาสเดือนมิถุนายน ซึ่งจะแถลงในวันนี้

Fruit and vegetables are stocked by a worker.

อัตราเงินเฟ้อด้านอาหารประจำปีลดลงร้อยละ 8 เทียบกับร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า Source: AAP / Joel Carrett

ประเด็นสำคัญ
  • จากข้อมูลวิเคราะห์อัตราเงินเฟ้อประจำปีประจำไตรมาสเดือนมิถุนายนคาดว่าจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 6
  • ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อใหม่นี้จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า
  • นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคคาดว่าจะลดลง แต่คาดว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจะยังคงสูงดังเดิม
นับตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อประจำปีแตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ร้อยละ 7.8 ในไตรมาสเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดสถิติเงินเฟ้อของออสเตรเลียมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปในไตรมาสเดือนมิถุนายน ซึ่งจะเผยแพร่ในช่วงใกล้เที่ยงวันนี้ 26 กรกฎาคม และนับเป็นข่าวดีสำหรับการบรรเทาค่าครองชีพ

การคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปีจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 6 เทียบกับร้อยละ 7 ในไตรมาสเดือนมีนาคม

แต่ตัวเลขนี้ยังสูงเป็นสองเท่าของอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางชี้ว่าเป็น "อัตราที่ต่ำและมีเสถียรภาพ" ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3

คุณ คริส ริชาร์ดสัน นักเศรษฐศาสตร์อิสระกล่าวว่า

“อัตราเงินเฟ้อยังคงค่อนข้างสูงอยู่ แต่ก็ลดลงค่อนข้างเร็วเช่นกัน มันยังไม่ใช่ตัวเลขที่น่าพอใจในออสเตรเลีย” อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่ามันเป็นสัญญาณที่ดี

คุณ ริชาร์ดสัน วิเคราะห์โดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.97 ในสหรัฐอเมริกา และเกือบเป็นศูนย์ในจีน เขากล่าวว่า

“ในตอนนี้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเศรษฐกิจของหลายประเทศตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566"

 

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัว และมันกำลังทำให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นทั่วโลก แต่ในปัจจุบันออสเตรเลียกลับเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งมันช้ากว่าประเทศอื่นๆ เกือบ 6 เดือน

"ออสเตรเลียก็มีโอกาสที่จะมีข่าวดีขึ้นตามลำดับ แต่ตอนนี้เรายังไม่ถึงจุดนั้น"

สำนักข่าวรอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้คาดการณ์ว่าในไตรมาสเดือนมิถุนายน ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปประจำปีโดยรวมจะลดลงเหลือร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 7 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการคำนวนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับแล้วหลังจากลบรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงราคามากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะลดลงเหลือ 6 เปอร์เซ็นต์จาก 6.6 เปอร์เซ็นต์

นั่นหมายถึงอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าตัวเลขที่ธนาคารกลางตั้งเป้าไว้ระหว่าง ร้อยละ 2- 3 ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่กำหนดไว้ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เพื่อใช้เป็นแนวทางวัดเสถียรภาพราคาสินค้าเพื่อแสวงหาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นั่นอาจหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางรู้ว่าจะต้องมีกการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 ธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาเหลือร้อยละ 3 ภายในกลางปี 2525 หลังจากที่คาดว่าลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมปีนี้


ผลที่ตามมาด้านที่อยู่อาศัยและราคาสินค้า

จากข้อมูลเงินเฟ้อในไตรมาสเดือนมีนาคมพบว่าราคาที่อยู่อาศัยและสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาเพิ่มขึ้นสูงที่สุด

ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าเพิ่มขึ้นสูงสุดต่อปี (ร้อยละ 4.9) นับตั้งแต่ปี 2510 ซึ่งตัวเลขนี้ "สะท้อนถึงความต้องการบ้านเช่าที่มากขึ้นในขณะที่มีจำนวนบ้านเช่าทั่วประเทศไม่มากนัก” ส่วนอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารประจำปีอยู่ที่ร้อยละ 8 เทียบกับร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

 โดยตัวเลขนี้ใช้มาตรวัดเงินเฟ้อ หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งคำนวณโดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียตามการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้จ่าย ได้มีการวิเคราะห์โดยนำเอารายการสินค้า 87 รายการ ใน 11 หมวดหมู่

ซึ่งจะมีการเปิดเผยตัวตัวเลขที่สำคัญต่างๆ และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ซึ่งไม่นับรวมรายการสินค้าบางอย่าง เช่น ผักและเชื้อเพลิงที่มีความผันผวนด้านราคามซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและระดับอุปทานน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงในตลาดโลก

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยแบบลบรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงราคามากและน้อยที่สุดนี้ บางครั้งเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งธนาคารกลางจะนำข้อมูลนี้มาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย

 คุณ คาสซาดรา วินซาร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส จากคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของออสเตรเลีย (CEDA) กล่าวว่าจากตัวเลขในข้อมูล CPI ประจำไตรมาสเดือนมิถุนายน มีแนวโน้มที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะลดลง เธอกล่าวว่า

"เราเห็นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งมีแนวโน้มว่าเราอาจมีข่าวดี”


"ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงกดดันของห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากน้ำท่วมหรือสภาพอากาศที่ผันผวนในช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้

 "แต่สำหรับครัวเรือนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เช่า ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด"

 เธอกล่าวว่าเมื่อพิจารณาถึงบทบาทของการย้ายถิ่น และปัจจัยของจำนวนผู้อพยพที่เข้ามาในออสเตรเลียถึง 400,000 คนต่อปีซึ่งนับถึงเดือนมิถุนายน ทำให้ผลกระทบสุทธิของอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นกลาง

 "ผู้ย้ายถิ่นมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเนื่องจากพวกเขาเพิ่มความต้องการสินค้าและบริการ โดยเฉพาะในตลาดบ้านเช่า ไม่ว่าความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากการโยกย้ายถิ่นฐานหรือไม่ ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อเช่าก็ค่อนข้างหายากอยู่แล้ว”

 "อีกด้านหนึ่ง ผู้ย้ายถิ่นก็เพิ่มอุปทานของแรงงานในระบบเศรษฐกิจและนั่นหมายความว่าเราสามารถผลิตได้มากขึ้น ดังนั้นมันจึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการผลิตของเศรษฐกิจของเรา และทำให้เศรษฐกิจของเราเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นผู้ย้ายถิ่นจึงส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้ทั้งสองทาง และเมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาคำนวณแล้ว แล้วการย้ายถิ่นฐานที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก"

ตัวเลขเงินเฟ้อมีความหมายอย่างไรต่อการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า

นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ออสเตรเลียมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 13 ครั้งด้วยกัน โดยที่เมื่อต้นเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยถูกระงับไว้ที่ร้อยละ 4.1

ซึ่งถือเป็นการระงับการขึ้นดอกบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 0.10 เป็นร้อยละ 0.35

และจากการประกาศอัตราการจ้างงานในสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ซึ่งจากตัวเลขนี้อาจเป็นปัจจัยในเพิ่มโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อคณะกรรมการธนาคารกลาง ในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 1 สิงหาคม


LISTEN TO
SBS On the Money: What can be done about surging rents & global inflation easing image

SBS On the Money: What can be done about surging rents? & global inflation easing

SBS News

05/07/202310:09
คุณ คริส ริชาร์ดสัน นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าตัวเลข CPI และอัตรารการว่างงานจะถูกนำมาพิจารณาการตัดสินใจเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง เขาอธิบายว่า

"มันก็มีทฤษฎีที่ว่าอัตราการว่างงานต้องเพิ่มขึ้นเพื่อลดอุปสงค์และทำให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่อัตราปกติ อัตราเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์นำหน้าอุปทาน สำหรับอุปทาน มันเป็นเรื่องของคนงาน เมื่อเป็นเรื่องของราคาค่าขนส่ง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หลายๆ ปัจจัย ซึ่งสถานการณ์มันกำลังดีขึ้น”

"มีโอกาสที่ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหากคุณเห็น CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ1 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่านั้น แต่ถ้าหากต่ำกว่านั้นพวกเขาอาจหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย"

ในมุมมองของเขา คุณ คริส ริชาร์ดสัน คิดว่าแม้ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปีที่แล้ว แต่มีโอกาสน้อยที่ออสเตรเลียจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย "เพราะว่าเรามีผู้ย้ายถิ่นและนักเรียนต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในออสเตรเลีย" ทำให้ขนาดเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตขึ้น

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



 

Share
Published 26 July 2023 12:09pm
By Biwa Kwan
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand