ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเด็กฉลาดชาวเอเชีย

เมื่อเราไม่ให้คุณค่ากับสติปัญญาที่หลักแหลมของเด็ก ก็เท่ากับว่าเราบอกเด็กๆ ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่เมื่อเป็นชาวเอเชียแล้วจะมีความคิดสร้างสรรค์ มีพรสวรรค์ที่จะเป็นนักเขียนหรือเป็นดาวตลก

Two small children holding a lightning bolt shaped neon light

ความชาญฉลาดและพรสวรรค์ทางดนตรีของฉันกลับถูกจัดว่ามาจากสิ่งเดียวเท่านั้น: เชื้อชาติ Source: Getty Images

ในโรงเรียนอนุบาล ฉันเคยได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้เข้าไปในชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 ของพี่ชายของฉันและอ่านหนังสือไปพร้อมๆ กันกับคุณครูของเขา หลังจากนั้น ฉันก็จะหยิบหนังสือสำหรับชั้นปีที่ 2 ของสัปดาห์นั้นกลับบ้าน ซึ่งฉันนั้นมักจะถูกดึงดูดโดยถ้อยคำและเรื่องราวต่างๆ อยู่เสมอมา ความกระหายหนังสือของฉันจึงทำให้บัตรห้องสมุดของฉันเต็มเหยียด และฉันก็ต้องคอยแบกคอนหนังสือเป็นจำนวนมากมายกว่าที่ร่างกายอันเล็กจิ๋วของฉันจะรับได้

เมื่ออายุได้ห้าขวบ ฉันก็เริ่มต้นเรียนเปียโน และความทรงจำในวัยเด็กของฉันนั้นก็เต็มไปด้วยสีสันสีแดง เขียวและส้ม ซึ่งระบายอยู่ในมโนทัศน์ของฉันราวกับแผ่นกระดาษแก้วหลากสีเวลาที่ฉันนั้นได้ยินเสียงตัวโน้ตต่างๆ

แต่ทว่าในหลายๆ ครั้งตลอดวัยเด็กของฉัน ไม่ว่าจะจากเพื่อนที่โรงเรียนหรือจากคนแปลกหน้า ความชาญฉลาดและพรสวรรค์ทางดนตรีของฉันกลับถูกจัดว่ามาจากสิ่งเดียวเท่านั้นคือ: เชื้อชาติ เหตุผลเดียวที่ฉันเก่งเปียโน หรือเรียนได้ดีที่โรงเรียนนั้น กลั่นออกมาจากเพียงสาเหตุเดียว: “ก็เพราะว่าเธอเป็นชาวเอเชีย”

เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ในขณะที่ความฉลาดหลักแหลมและความสามารถของคนขาวนั้นมักจะถูกมองว่าเป็นธรรมชาติ เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และไม่ผ่านการปลูกฝังบ่มเพาะ ความชาญฉลาดของชาวเอเชียนั้นโดยมากกลับถูกเชื่อมโยงเข้ากับกับการฝึกฝนอย่างซ้ำๆ ซากๆ และการเล่าเรียนอย่างหนักเกินกว่าเหตุ โดยการทึกทักว่าเด็ก(คนขาว) ซึ่ง ‘เก่งโดยธรรมชาติ’ นั้นไม่จำเป็นจะต้องพากเพียร ทำให้เกิดการกลับตาลปัตรกลายเป็นว่า ความขยันหมั่นเพียรในการเรียนนั้นเป็นวิธีโกงทางลัดอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ เอเชียนั้นเป็นต่ออย่างไม่ยุติธรรม โดยมี และ  ว่า ‘ชาวเอเชียนั้นเข้ายึดโรงเรียนชั้นนำ’ ซึ่งยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นปัญหาการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ในการศึกษา อันไม่เป็นไปตาม  ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคแต่อย่างใด

อาจจะฟังดูน่าเหยียดหยามก็ได้ แต่ว่าวัยเด็กของฉันนั้นเต็มไปด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ฉันเรียนเปียโนนอกเวลายาวนานถึง 13 ปี และมีครูสอนพิเศษเป็นจำนวนมากมายหลายคนตลอดการเรียนชั้นปีที่ 12 ฉันคอยปกปิดการเรียนพิเศษในวิชาต่างๆ เมื่อฉันได้ยินว่าคุณครูจะตัดคะแนนการสอบหากว่าใครได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก (ซึ่งเมื่อมองย้อนไปแล้ว มันไร้สาระและเป็นการเลือกปฏิบัติต่อนักเรียนที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง)

ก่อนที่จะอายุครบ 18 ปี ฉันได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพสำหรับการแสดงเปียโน (AmusA) เรียนจบการศึกษาด้วยคะแนนดีทุกวิชา มีชื่ออยู่บนรายนามเกียรตินิยมของรัฐนิวเซาท์เวลส์ และได้รับทุนการศึกษาต่อเพื่อเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ แต่ทว่าสถานะภาพการประสบความสำเร็จอย่างเกินเลยของฉันก็มักจะเป็นประเด็นของการโต้แย้งอยู่เสมอเพราะว่าฉันนั้นมีบุคลิกภาพที่สดใสร่าเริง ฉันจำได้อย่างแม่นยำเมื่อได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทำวิดิโอการแสดงตลกของโรงเรียนครั้งหนึ่ง ว่ามีใครสักคนหนึ่งแสดงความเห็นออกมาว่า “เธอน่ะฉลาดเกินไปที่จะสบถสาบาน” ราวกับว่าความฉลาดของ “ชาวเอเชีย” อย่างฉัน กับอารมณ์ขันแบบหยาบๆ คายๆ นั้น ไม่สามารถจะเป็นเรื่องที่พบร่วมกันได้

มันจะมีประโยชน์อันใดในการที่จะจำแนกความฉลาดว่าเป็นไปตามเชื้อชาติในลักษณะนี้? ในการที่จะมาแบ่งแยกความสนอกสนใจต่างๆ ของเด็กๆ ว่าเป็นประเภท ‘สร้างสรรค์’ หรือ ‘ได้รับการปลูกฝังบ่มเพาะ’ ซี่งผลที่ตามมาอย่างหนึ่งก็คือการเอื้อให้เกิดแนวคิดที่ว่าคนขาวนั้นเหนือกว่า (white superiority complex) ซึ่งเป็นการบั่นทอนนักเรียนชาวเอเชียและเลือกปฏิบัติเมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จ ถึงแม้พวกเขาจะทำได้ดีกว่าเพื่อนร่วมชั้นก็ตาม พบว่า จดหมายสมัครงานซึ่งมีชื่อภาษาจีนนั้น ต้องทำการสมัครงานเป็นจำนวนครั้งเพิ่มมากขึ้นถึง 68 เปอร์เซ็นต์ เพื่อที่จะถูกเรียกสัมภาษณ์เป็นจำนวนเท่ากันกับการมีชื่อแบบแองโกล-แซกซอน ความลำเอียงที่ฝังลึกในโครงสร้างเช่นนี้ ส่งผลผลอย่างต่อเนื่องจากห้องเรียนไปสู่ที่ทำงาน โดยนอกเหนือจากเรื่องการว่าจ้างงานแล้วนั้น ยังปรากฏผลในเรื่องของศักยภาพของผู้นำและโอกาสที่จะได้รับการโปรโมทเลื่อนขั้น

ในฐานะของบุคคลที่เป็นลูกผสมทางเชื้อชาติ การจัดแบ่งแยกความชาญฉลาดเป็นสองประเภทเช่นนั้น สร้างรอยร้าวที่ฝังลึกในอัตลักษณ์ตัวตนของฉันระหว่างที่เติบโตขึ้น ฉันเบี่ยงเบนตัวเองสู่แนวทางของคนขาวในทุกๆ โอกาสที่เป็นไปได้ เช่นออกตัวว่าฉันนั้นมองว่าชาวเอเชียคนอื่นๆ นั้นไม่มีสเน่ห์ อันเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของเพื่อนๆ ของฉัน ผู้ซึ่งมองเห็นแม่ของฉันว่าเป็นตัวตลก และฉันก็ไม่เคยที่จะเปิดเผยชื่อกลางซึ่งเป็นภาษาจีนของฉันกับใครเป็นเวลาหลายต่อหลายปี แม้แต่กับเพื่อนสนิทที่สุดของฉัน เป็นช่วงระยะเวลายาวนานที่ฉันนั้นพยายามเอื้อมไปสู่อุดมคติของความสามารถแบบ ‘ที่ไม่ต้องพยายาม’ เพราะว่าฉันนั้นโหยหาต่อคำชมเชยต่อสิ่งที่ฉันสามารถทำได้ มากกว่าเพียงเพราะว่าฉันนั้นมีหน้าตาเช่นไร

และแนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นเอเชียนั้น ก็ยังเป็นพิษสงต่อความสัมพันธ์ของฉันกับแม่ — “แม่เสือผู้บ้าคลั่ง” (crazy tiger mum) เป็นสิ่งที่ทุกๆ คนนั้นทึกทักกันว่าแม่บังคับให้ฉันเรียนและฝึกซ้อมเปียโนเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมงตลอดวันตลอดคืน และในช่วงวัยรุ่น ฉันเองก็ต่อต้านเธอ ว่าเธอนั้นเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางวัฒนธรรมของฉัน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว แม่ของฉันไม่เคยแม่แต่จะกรอกสายตาเมื่อฉันเลิกเรียนเปียโน เลิกลงทะเบียนวิชาคณิตศาสตร์ ลาออกจากการศึกษาปริญญาด้านกฎหมาย และเปลี่ยนแผนอาชีพการงานของฉันรายเดือน ตลอดชีวิตของฉันนั้น เธอสนใจในการที่จะผลักดันให้ฉันออกมาจากโลกส่วนตัวและสร้างความมั่นใจภายในตัวของฉันเองตลอดมา มากกว่าที่จะให้ได้มาซึ่งความสำเร็จต่างๆ นอกกาย

เมื่อเรานั้นบั่นทอนเด็กๆ ชาวเอเชียและความชาญฉลาดของพวกเขา ก็เท่ากับเราบอกพวกเขาว่า  ซึ่งก็เป็นการไม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษาของพวกเขา และต่อระบบค่านิยมในตัวพวกเขา และถ้าหากว่าพวกเขาลงเอยเช่นเดียกันวกับฉัน ก็จะเกิดความร้าวฉานต่ออัตลักษณ์ตัวตนและต่อความรู้สึกที่ว่าตนเองนั้นมีคุณค่า

มันแน่นอนว่า การบีบบังคับทางเลือกทางการศึกษาของเด็กๆ ชาวเอเชียนั้นอาจเกิดจากแรงกดดันของทั้งสังคมและของพ่อแม่ ความคาดหวังทางการศึกษาของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานจากหลายๆ พื้นเพนั้น ถึงแม้ว่าจะมาจากความปรารถนาดีเพียงใดก็ตาม ก็สามารถที่จะมีบทบาทในการบั่นทอน  ของเด็กๆ ส่งผลให้เกิด และอาจก่อให้เกิด ได้

เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ซับซ้อน แต่การท้าทายความคิดอันไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความฉลาดของชาวเอเชีย และการเพิ่มพื้นที่ให้คนรุ่นต่อๆ เพื่อค้นหาเป้าหมายทางการศึกษาและการแสดงออกของตัวตนของพวกเขานั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างที่สุด หากว่ามีใครสักคนมาบอกกับฉันเมื่อสมัยเป็นวัยรุ่นและเต็มไปด้วยความคับข้องใจว่า แทนที่จะต้องฝืนตัวเองเพื่อทำตัวกลืนไปกับคนอื่น มันก็มีทางเลือกอีกทาง นั่นก็คือไม่ต้องเก็บเอาการเหยียดเชื้อชาติที่ประสบมานั้นมาลงโทษตัวเอง เพราะฉะนั้น ตอไปนี้คือคำแนะนำจากเด็กเอเชียคนหนึ่งสู่คนอื่นๆ: จงภูมิใจในความฉลาดของตัวเอง ในมุขตลก(อันหยาบคาย) และในความสามารถต่างๆ ของคุณ โดยไม่จำเป็นต้องออกตัวขอโทษในการที่จะเป็นตัวของคุณเอง และจงหาหนทางของคุณเองในการที่จะดำรงอยู่อย่างมีความหมาย — คุณนั้นก็มีความซับซ้อนโดยไม่ต่างจากคนอื่นๆ

คุณบริดเจ็ต ฮาริเลา (Bridget Harilaou) เป็นนักเขียนอิสระและผู้สนับสนุนความยุติธรรมทางสังคมซึ่งมีผลงานเขียนมากมายในเรื่องการเมืองและเชื้อชาติ เธอใช้ทวิตเตอร์ @fightloudly

ซีรีส์หกตอนใหม่ของเอสบีเอสที่ชื่อ Child Genius (เด็กอัจฉริยะ) ดำเนินรายการโดย ดร. ซูซาน คาร์แลนด์ จะติดตามชีวิตและครอบครัวของเด็กๆ ชาวออสเตรเลียที่มีความชาญฉลาดที่สุด และก็จะแสดงให้เห็นการทดสอบความสามารถของพวกเขาในด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ทั่วไป ความจำ และภาษา

รายการเกมตอบคำถามดังกล่าวจะออกอากาศเป็นเวลาสองสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน โดยแต่ละตอนจะออกอากาศจากวันจันทร์ถึงวันพุธ เวลา 19:30 น.




Share
Published 31 October 2018 1:29pm
Updated 1 November 2018 10:31am
Presented by Tanu Attajarusit
Source: Getty Images, SBS Life


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand