อย่าเพาะเมล็ดพืชปริศนาที่ได้รับทางไปรษณีย์

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยชีวภาพออสฯ พบเมล็ดพืชปริศนาจากประเทศแถบเอเชียส่งไปตามบ้านทั่วประเทศ ย้ำ 'ห้ามปลูก-ห้ามทิ้งลงถัง' ทำลายสิ่งแวดล้อม รุกรานพื้นท้องถิ่น

A package of mystery seeds sent to an American resident.

A package of mystery seeds sent to an American resident similar to those that have been found in Australia. Source: US Department of Agriculture

เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพได้ขอความร่วมมือชาวออสเตรเลียอย่าเพาะเมล็ดพันธ์ปริศนาที่ได้รับทางไปรษณีย์ หลังมีรายงานการพบเมล็ดพืชส่งไปตามที่อยู่ทั่วประเทศ โดยมีต้นทางมาจากประเทศในทวีปเอเชีย 

เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลีย (Australian Biosecurity) ได้พบพัสดุบรรจุเมล็ดพืช 36 ชิ้น ระบุปลายทางเป็นที่อยู่ในออสเตรเลีย ภายในบรรจุเมล็ดพืชไม่ทราบชนิด ซึ่งผู้รับไม่ได้สั่งซื้อ

พัสดุดังกล่าว ปรากฏที่อยู่ผู้ส่งจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงประเทศจีน มาเลเซีย ปากีสถาน และไต้หวัน 

ปรากฏการณ์พัสดุปริศนา ได้ทำให้สหพันธ์เมล็ดพืชออสเตรเลีย (Australian Seed Federation) ได้ประกาศเตือนไปยังสาธารณะชน ให้ติดต่อหน่วยงานเกษตรกรรมในรัฐบาลสหพันธรัฐ (Department of Agriculture) ทันทีที่ได้รับเมล็ดพืชปริศนาที่ไม่ได้สั่งซื้อ

“ถ้าคุณได้รับพัสดุที่มีเมล็ดพันธ์พืชซึ่งคุณไม่ได้สั่งซื้อ โปรดรายงานไปยังเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้” นายออสมัน มีเวตต์ (Osman Mewett)ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสหพันธ์เมล็ดพืชออสเตรเลียกล่าว 

“คุณควรเพาะเมล็ดพืชจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่รู้จักเท่านั้น"
Seed packet
An unsolicited seed packet recieved in Australia. Source: Supplied: Department Of Agriculture, Water And Environment
องค์กรดังกล่าวระบุว่า เมล็ดพืชซึ่งไม่ทราบแหล่งที่มา สร้างความเสี่ยงอย่างมากให้กับความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลีย ซึ่งอาจทำให้เกิดการรุกรานจากพืชต่างถิ่น รวมถึงวัชพืชในระบบนิเวศของออสเตรเลีย 

“ชาวสวน และผู้เพาะปลูกพืชผักสวนครัวในออสเตรเลีย ต่างคาดหวังเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การทำให้แน่ใจว่าเมล็ดพืชมีสุขภาพดีนั้น เป็นเรื่องสำคัญของอุตสาหกรรมเมล็ดพืชของออสเตรเลีย” นายมีเวตต์กล่าว

“เมล็ดพันธุ์ที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคเมล็ดพืช เป็นสิ่งที่จำเป็นในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน”

“การรักษาเมล็ดพืช รวมถึงพืชที่งอกงามให้มีสุขภาพดีนั้น เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แน่ใจว่า ออสเตรเลียมีแหล่งผลิตอาหารที่ยังยืน และเป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรของออสเตรเลีย” 
ออสเตรเลียได้กวดขันกฎหมายด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเมล็ดพืชทั้งหมดที่ได้รับการนำเข้ามายังออสเตรเลีย จะถูกตรวจสอบโดยละเอียด เพื่อทำให้แน่ใจว่าพวกมันจะไม่กลายเป็นพืชรุกรานสิ่งแวดล้อมของประเทศ 

หากคุณได้รับเมล็ดพืชทางจดหมายโดยที่คุณไม่ได้สั่งซื้อ อย่าเพาะเมล็ดพืชเหล่านั้น อย่าทิ้งลงในถังขยะ เก็บไว้ให้ปลอดภัย และรายงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพโดยทันที” นางเอมิลี แคนนิง (Emily Canning) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ กล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 

“การนำเข้าเมล็ดพืชที่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขความปลอดภัยทางชีวภาพ จะเป็นภัยคุกคามสิ่งแวดล้อมของเรา รวมไปถึงอุตสาหกรรมการเกษตร และพืชผักสวนครัว”

เมื่อช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานการพบเมล็ดพืชปริศนาถูกส่งไปตามบ้านในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ในสหรัฐ ฯ ทั้ง 50 รัฐ โดยหน่วยงานด้านการเกษตรของสหรัฐ ฯ ได้ตรวจพบเพมล็ดพืชมากกว่า 140 เมล็ด ส่งไปยังประชาชนทางจดหมาย พบเป็นพืชผัก ผลไม้ ไม้ประดับ สมุนไพร และวัชพืช

เจ้าหน้าที่การเกษตรของสหรัฐ ฯ เชื่อว่า เมล็ดพืชดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสร้างคำสั่งซื้อปลอมของร้านค้าทางออนไลน์ (brushing scam) บนแพลตฟอร์ม e-commerce อย่าง eBay และ Amazon เพื่อใช้สวมรอยในการเขียนข้อคิดเห็นและให้คะแนนเกี่ยวกับสินค้าของตนเอง


ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์น (Metropolitan Melbourne) อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ระดับ 4 และจะต้องปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น.-5.00 น.

ในระหว่างช่วงเวลาที่ห้ามออกจากเคหสถาน ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อไปทำงาน หรือไปรับบริการด้านสุขภาพหรือไปรับการดูแลที่จำเป็น หรือเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยเท่านั้น

ระหว่างเวลา 5.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 20.00 น. ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อออกกำลังกาย เพื่อไปซื้อของจำเป็นและไปรับบริการที่จำเป็น ไปทำงาน ไปรับบริการด้านสุขภาพ หรือไปให้การดูแลญาติที่ป่วยหรือผู้สูงอายุเท่านั้น

รายละเอียดข้อจำกัดทั้งหมดสามารถดูได้  ชาวรัฐวิกตอเรียทุกคนจะต้องสวมหน้ากากหรือผ้าปกคลุมจมูกและปากเมื่อออกจากเคหสถาน ไม่ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 26 August 2020 5:48pm
Updated 26 August 2020 6:13pm
By Naveen Razik
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand