เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางประเทศขับรถเลนขวาแต่บางประเทศขับรถเลนซ้าย

รู้ไหมว่าถ้าคนออสเตรเลียขับรถในสหรัฐอเมริกาอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บสาหัสถึงสองเท่า

Two images, one of a 'keep left' road sign, the other a 'keep right' road sign.

การขับรถเลนขวาหรือซ้ายจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ Source: Getty

ประเด็นสำคัญ
  • ชายชาวเวสเทิร์นออสเตรเลียคนหนึ่งถูกจำคุกในสหรัฐฯ หลังจากที่เขาขับรถชนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
  • ประมาณร้อยละ 65 ของประชากรโลกขับรถเลนขวา
  • มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับผู้ขับขี่ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ
การขับรถในต่างประเทศที่ขับรถเลนขวาซึ่งไม่ใช่ฝั่งที่คุณคุ้นเคยอาจเป็นเรื่องที่น่าหวาดหวั่น

ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศใช้การจราจรขวามือในขณะที่ออสเตรเลียใช้การจราจรซ้ายมือ

ชายชาวออสเตรเลียคนหนึ่งถูกจำคุกในสหรัฐอเมริกาหลังจากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง โดยเขาถูกกล่าวหาว่าขับรถผิดด้านของถนน

ตำรวจเชื่อว่าเขาอาจเกิดความสับสนว่าเขาควรจะขับรถเลนไหน

ในโลกนี้มีประชากรราว 65 เปอร์เซ็นต์ขับรถทางด้านขวาของถนน โดยส่วนใหญ่จะมีพวงมาลัยอยู่ทางด้านซ้ายมือของรถ

ในขณะที่ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรถพวงมาลัยขวาและขับเลนซ้ายของถนน

A woman driving a left hand drive vehicle with a man in the passenger seat next to her.
รถที่มีพวงมาลัยด้านซ้ายจะขับรถในเลนขวาของถนน Source: Getty / urbazon

อุบัติเหตุร้ายแรงบนถนนในสหรัฐฯ

กรณีที่ชายชาวเวสเทิร์นออสเตรเลียคนหนึ่งถูกจำคุกในสหรัฐอเมริกาและเขาอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาคดีของศาล หลังจากรถที่เขาขับชนเข้ากับรถอีกคันอื่นใกล้กับเมืองลาฮอนด้า ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแคลิฟอร์เนีย จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย

สำนักข่าว เมอคิวรี นิวส์ รายงานว่า เนื่องจากชายคนนี้เพิ่มเข้ามาอาศัยในสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงรัฐแคลิฟอร์เนียจึงเชื่อว่า "เขาอาจคิดว่าเขากำลังขับรถอยู่ทางด้านขวาของถนน"

แม่ของชายผู้นี้ที่สันนิษฐานว่าถูกจำคุกจากอุบัติเหตุครั้งนี้ได้โพสต์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวบนโซเชียลมีเดียว่า

“ลุคประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง โดยที่เขาบังเอิญขับรถผิดด้านทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งลุคและครอบครัวของเราเสียใจมาก” เธอเขียน

A 'keep left' sign next to a road with snow capped mountains in the background.
ในบางกรณีผู้ขับขี่ที่มาจากต่างประเทศไม่เพียงต้องขับรถต่างเลนแต่พวกเขายังต้องเผชิญกับเส้นทางและสภาพถนนที่ไม่คุ้นเคย Source: Getty / SCM Jeans
ความปลอดภัยบนถนนของผู้ขับขี่ชาวต่างชาติเป็นปัญหาที่กำลังได้รับความสนใจในหลายประเทศ

อย่างเช่นในประเทศนิวซีแลนด์ ในปี 2016 ก็มีการรณรงค์ให้ความรู้ที่เรียกว่าโครงการให้ความรู้กับคนขับชาวต่างชาติ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติบนท้องถนน

จากรายงานของ Stuff ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้ของนิวซีแลนด์ กำลังพิจารณาว่าอาจมีการห้ามผู้ขับขี่ต่างชาติขับรถบนถนนที่มีความ"ท้าทาย" โดยเฉพาะถนนสายหนึ่งที่มุ่งหน้าไปยังเมืองมิลฟอร์ดซาวด์ได้หรือไม่

มีการหยิบยกข้อกังวลว่าผู้ขับขี่ต่างชาติที่ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดจากอันตรายทางธรรมชาติที่ไม่คุ้นเคยในพื้นที่นั้น ส่งผลให้ตนเองและผู้อื่นตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ


ในออสเตรเลียเอง ในปี 2017 รัฐบาลวิกตอเรียก็ได้ติดตั้งป้ายในหลากหลายภาษาตามถนนเกรทโอเชียน โรด (Great Ocean Road) เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ที่มาจากต่างประเทศสามารถเข้าใจและเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่บนทางเส้นทางท่องเที่ยวได้ดีขึ้น

ส่วนรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียก็มีการตั้งป้ายคล้ายคลึงกัน โดยติดตั้งป้ายเป็นภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และจีนกลาง บนถนนทางตรงยาวที่เหล่านักท่องเที่ยวสัญจรเป็นประจำ ซึ่งมีอุบัติเหตุรถชนกันหลายครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีการทาสีลูกศรสีแดงบนถนนเลียบอินเดียน โอเชียน ไดร์ฟ (Indian Ocean Drive) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการชนกัน

การจราจรเลนซ้ายปลอดภัยกว่าการจราจรเลนขวาหรือไม่?

มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปี 1969 พบว่าประเทศที่คนขับเลนซ้ายมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรต่ำกว่าประเทศที่ขับรถเลนขวา แต่การศึกษาล่าสุดที่มีขึ้นในปี 2020 ซึ่งเป็นการวิจัยเกี่ยวกับพยายามที่จะระบบประสาทของมนุษย์ที่ทำงานฝั่งซ้ายหรือขวาได้ดีกว่ากัน

ซึ่งการศึกษานี้สันนิษฐานว่าความถนัดของมือ การเคลื่อนไหวของดวงตา การทำงานของสมองซีกซ้าย/ขวา อาจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประเด็นนี้

A sign by a remote road that reads 'Drive on left in Australia'
ป้ายเตือนผู้ขับขี่ให้ขับรถเลนซ้ายพบได้ในหลายเส้นทางทั่วออสเตรเเลีย Source: Getty / Simon McGill
การขาดข้อมูลเปรียบเทียบทางสรีรวิทยาประสาทวิทยาที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร ส่งผลให้ไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องนี้โดยตรงได้

แต่ในทางอ้อม พบว่าสรีรวิทยาของระบบประสาทอาจช่วยให้การขับรถทางซ้าย “อาจปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาที่มีรากมาจากภาษาละติน”

ประวัติศาสตร์ของการขับรถเลนซ้ายและขวา

ศาสตราจารย์ จอน สแตรทตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของคณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่ากฎจราจรถูกนำมาใช้เมื่อมีจำนวนยานพาหนะบนถนนเพิ่มขึ้น

“ตามประวัติศาสตร์แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่ผู้คนต้องเดินทางไปเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเพราะบนถนนมีการจราจรที่ไม่หนาแน่นและเคลื่อนตัวช้า”

ศาสตราจารย์ สแตรทตัน ชี้ว่าการจราจรบนถนนที่คับคั่งเกิดขึ้นในนครลอนดอน ระหว่างยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

Water with mountains in the near and far distance
เมือง มิลฟอร์ด ซาด์ เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมเยือน ทางการนิวซีแลนด์ กำลังพิจารณาว่าอาจมีการห้ามผู้ขับขี่ต่างชาติขับรถบนเส้นทางไปยังเมืองนี้เพราะมีความอันตรายกับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง Source: AAP / .
“เริ่มมีการจัดระเบียบการจราจรขึ้นในลอนดอน ในการการขับรถข้ามสะพานที่ผมคาดว่าน่าจะเป็นสะพานลอนดอน เพราะว่าที่นั่นเริ่มจะแออัดมาก” เขากล่าว

“รัฐบาลท้องถิ่นจึงตัดสินใจว่าให้ผู้คนขับรถชิดซ้าย และจากนั้นก็กลายเป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันทั่วประเทศ”

ในส่วนอื่นๆ ของโลก บางคนเชื่อว่าการขับรถชิดซ้ายเป็นที่นิยมมากมากกว่า เนื่องมาจากการขับม้าต่างเกวียน

ศาสตราจารย์ สแตรทตัน กล่าวว่า

“ถ้าคุณถนัดขวา คุณก็จะใช้แส้ในมือ เพื่อที่คุณจะใช้แส้กับม้าด้วยมือขวาได้ ซึ่งหมายความว่าคุณน่าจะอยู่ทางขวามือของถนนดีกว่า"

แต่กฎจราจรอาจถูกกำหนดไว้ โดยอ้างอิงจากการที่คนใช้ถนน

A young man putting on his seatbelt in a right hand side drive car.
รถยนต์ที่มีพวงมาลัยอยู่ด้านขวาถูกออกแบบมาให้ขับรถเลนซ้าย Source: Getty / andresr
เชื่อกันว่าผู้คนในบางประเทศ อยากให้ผู้อื่นเดินทางซ้ายเพราะว่าพวหเขาถือดาบไว้ทางขวา ศาสตราจารย์ สแตรทตัน อธิบายว่า

“หากมีใครลอบโจมตีคุณสามารถชักดาบออกมาอย่างรวดเร็วแล้วสู้กับพวกเขาอย่างทันท่วงทีได้”

โดยทั่วไปประเทศในเครือจักรภพจะขับรถไปด้านซ้าย ส่วนประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรนั้นๆ ก็จะปฏิบัติตามประเทศเจ้าอาณานิคม

ศาสตรจารย์ สแตรทตันกล่าวว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางประเทศเปลี่ยนจากการให้มีการจราจรทางซ้ายไปขวาหรือสลับกับที่มีการปฏิบัติอยู่ก่อนหน้า

ในหลายกรณี เป็นเพียงการปฏิบัติตามประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

การจราจรที่มีการสลับข้างครั้งล่าสุด

ในปี 1967 ประเทศสวีเดนได้เปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายมาเป็นการขับรถทางขวามือ

แม้ว่าสำนักข่าว BBC รายงานว่า คิดว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเป็นการช่วยเพิ่มชื่อเสียงของประเทศได้ แต่เบื้องหลังการตัดสินใจดังกล่าวก็คือเหตุผลของความปลอดภัย

คนส่วนใหญ่ในสวีเดนขับรถพวงมาลัยด้านซ้าย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในประเทศสูง

ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จึงถูกบังคับให้ขับรถตรงกลางถนน


ในปี 2009 ซามัวก็กลายเป็นประเทศล่าสุดในรอบหลายทศวรรษที่เปลี่ยนจากการขับรถด้านขวามือไปเป็นขับรถทางซ้าย

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ตัดสินใจเปลี่ยนกฎจราจรของประเทศให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Published 7 September 2023 11:23am
Updated 7 September 2023 2:23pm
By Aleisha Orr
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand