อนาคตของคนไร้สัญชาติในไทยจะเป็นอย่างไร

NEWS: ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า ในประเทศไทยมีบุคคลไร้สัญชาติเป็นจำนวนเท่าใด แต่มีความเป็นไปได้ว่ามีอยู่มากกว่า 2 ล้านคน

Will Thailand act on statelessness after cave rescue exposed crisis?

สมาชิกทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า Source: AAP

มหากาพย์การช่วยเหลือสมาชิกทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าออกจากถ้ำหลวง จ.เชียงราย ก่อนหน้านี้ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทั่วโลกจับตา

แต่เมื่อมีข้อมูลว่า สมาชิกทีมฟุตบอลเยาวชนเป็นบุคคลไร้สัญชาติ พาดหัวข่าวหลายสำนักก็เปลี่ยนไปอย่างมีนัยยะ จาก "เด็กไทยในถ้ำ" เป็น "เด็กในถ้ำไทย" ท่ามกลางความยินดีต่อความสำเร็จของปฏิบัติการช่วยเหลือ ปฏิบัติการครั้งนี้ได้เปิดเผยถึงเรื่องราวที่กว้างขวางของสถานการณ์บุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทย

การสำรวจชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลไร้สัญชาติในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า แนวคิดการก่อตั้งและการล่มสลายของรัฐ ไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ของตัวเลขบุคคลไร้สัญชาติในไทยได้

แต่ทว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียม นโยบายด้านแรงงานอพยพย้ายถิ่นที่ไม่มีความแน่นอน ความล้มเหลวของระบบราชการ ช่องโหว่ทางกฎหมาย และการเลือกปฏิบัติในท้องถิ่นต่อบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ราบสูง (หรือที่รู้จักกันว่า "ชาวเขา") คือต้นเหตุของปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ
The "Wild Boars" soccer team recovering in hospital after their ordeal.
The "Wild Boars" soccer team recovering in hospital after their ordeal. Source: AAP

ความหลากหลายของบุคคลไร้สัญชาติ

จำนวนบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทยนั้นไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้ว่ามีบุคคลเหล่านี้อยู่มากกว่า 2 ล้านคน บุคคลไร้สัญชาติไม่สามารถไปเลือกตั้ง ซื้อที่ดิน ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย หรือแม้กระทั่งเดินทางได้อย่างเสรี

คำนิยามของ "บุคคลไร้สัญชาติ" นั้น อาจครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้รับการรับรู้ของรัฐนั้นๆ แต่จากการวิจัยทางชาติพันธุ์ได้เปิดเผยให้เห็นความจริงที่ซับซ้อนและหลากหลาย

ประชากรผู้ซึ่งไม่มีสัญชาตินั้น ครอบคลุมตั้งแต่ชาวเขาไปจนถึงบุตรของผู้อพยพย้ายถิ่นซึ่งเกิดในประเทศไทย แต่ไม่มีความผูกพันกับประเทศต้นทางของพ่อแม่

บัตรประจำตัวหลายรูปแบบของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ออกให้โดยรัฐไทยนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง บัตรดังกล่าวจำกัดการเดินทางให้สามารถทำได้เพียงภายในจังหวัดที่มีการขึ้นทะเบียนเท่านั้น รวมถึงควบคุมความเป็นไปได้ในการได้รับสัญชาติไทย จนถึงปัจจุบัน ผู้ถือบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยนั้น ได้ถูกจำกัดให้ทำงานที่ใช้ทักษะน้อยอย่างถูกกฎหมายเพียง 27 อาชีพ

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขกฎหมายล่าสุดนั้น ได้จำกัดเพียงชาวเขาเท่านั้น โดยไม่รวมถึงบุตรหลานของผู้อพยพย้ายถิ่นซึ่งไม่มีสัญชาติ

ตั้งแต่ในปี 2005 เป็นต้นมา บุคคลไร้สัญชาติสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในชุดนักเรียนที่เหมือนกับคนอื่นๆ พวกเขาดูไม่แตกต่างกับชาวไทย พวกเขาร้องเพลงชาติไทยเหมือนกัน สวดมนต์ และเล่นด้วยกัน

การวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อพวกเขาเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น พวกเขาจะเริ่มรับรู้ข้อจำกัดทางสถานะของตนเองมากขึ้น และเริ่มเรียนรู้ช่องทางถูกกฎหมายในการขอสัญชาติเพื่อเป็นคนไทย

สัญชาติไทย: สิทธิ์พึงได้ หรือความเหมาะควรที่จะได้รับ

หลังจากปฏิบัติการช่วยเหลือสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าออกจากถ้ำหลวง พวกเขาได้รับข้อเสนอต่างๆ และความช่วยเหลืออย่างท่วมท้น ซึ่งรวมถึงทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจนถึงปริญญาเอก นอกจากนี้ ผู้คนยังได้ตั้งคำถามว่า ความกล้าหาญและการต่อสู้เอาตัวรอดของพวกเขา เหมาะควรที่ทำให้พวกเขาได้รับสัญชาติไทยหรือไม่

ขณะที่การถกเถียงเรื่องสัญชาติไทยนั้นอยู่ในกรอบ ภายใต้คำถามถึง "ความเหมาะควรที่จะได้รับ" มากกว่าสิทธิ์ที่พึงได้ นั่นทำให้สื่อมวลชนนำเสนอเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ของผู้อพยพย้ายถิ่น ซึ่งโจมตีทัศนคติเหมารวมในแง่ลบของการมองบุคคลเหล่านั้นว่า "เป็นอื่น" ที่สร้างขึ้นโดยนักการเมืองฝ่ายขวา
Daily Life At Mae La Camp Thailand's Largest Refugee Camp
A woman walks along a muddy path inside the Mae La refugee camp June 7, 2012 in Tak province, Thailand. Source: Getty Images AsiaPac
กรณีตัวอย่างของเรื่องนี้ คือ มามาดู กัสซามา (Mamadou Gassama) ผู้อพยพย้ายถิ่นจากประเทศมาลีในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ซึ่งช่วยชีวิตเด็กน้อยชาวฝรั่งเศสอย่างกล้าหาญด้วยทักษะปีนป่ายอันเหลือเชื่อ จนได้รับการขนานนามว่า "สไปเดอร์แมนแห่งปารีส" และได้รับสัญชาติฝรั่งเศส โดยในเหตุการณ์น่าอัศจรรย์แบบนี้ นักการเมืองก็มักจะตามจุดสนใจของสื่อมวลชนที่มีต่อ "ฮีโร่" เหล่านี้

สายโลหิต แผ่นดินเกิด และเอกสาร

ล่าสุด ทางการไทยยืนยันว่า จะไม่มีการให้สิทธิพิเศษใดๆ สำหรับสมาชิกทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าในการได้รับสัญชาติไทย และทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน

พวกเขาจะต้องมีหลักฐานยืนยันว่าเกิดในประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นขั้นตอนที่ตรงไปตรงมาและยุติธรรม แต่ทว่าได้ซ่อนความไม่แน่นอนของรัฐไทยในแง่ของการขึ้นทะเบียนบุคคลไร้สัญชาติ แม้ปัจจุบัน จะมีการออกใบสูติบัตรให้กับบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยโดยทั่วไป แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดในการแจ้งเกิดนั้นมักจะเป็นเหตุผลของการ "ขาดความรู้" ของผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย

สูติบัตรเพียงอย่างเดียวไม่สามารถประกันได้ว่าจะได้รับสัญชาติไทย ในทางหลักการ กฎหมายของไทย จะรับรองสิทธิการได้รับสัญชาติโดยสายโลหิต และสิทธิโดยแผ่นดินเกิด การอ้างสิทธิ์ในการถือสัญชาติไทยนั้น นอกจากจะต้องแสดงเอกสารรับรองของบุตรแล้ว ยังต้องมีการแสดงเอกสารจากทางบิดามารดาเช่นกัน ผลลัพธ์ที่ได้ คือความซับซ้อนของระบบการให้สัญชาติที่ไม่เสมอต้นเสมอปลาย ผ่านการรวมกันระหว่างสิทธิโดยสายโลหิต แผ่นดินเกิด และเอกสารทางกฎหมาย

เส้นทางอันยาวไกลของการได้รับสัญชาติไทย

การเปลี่ยนแปลงกฎหมายสัญชาติของไทยในปลายปี 2016 จะเป็นการเปิดทางให้บุคคลไร้สัญชาติ 80,000 คนให้ได้รับสัญชาติ โดยนักการเมือง และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนได้ระบุกับผู้วิจัยว่า นโยบายรณรงค์ในการหยุดภาวะไร้สัญชาติภายในปี 2024 ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแรงจูงใจสำคัญเร่งด่วนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นเด็ก

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงสะท้อนภาพของ "ความเหมาะควรที่จะได้รับ (สัญชาติไทย)" มากกว่าสิ่งที่เป็นรากฐานอย่างสิทธิ์ที่พึงได้ ซึ่งเน้นให้เห็นถึงความซับซ้อนของการอพยพย้ายถิ่นร่วมสมัย ท่ามกลางคุณสมบัติมากมายในการได้รับสัญชาติไทย หนึ่งในนั้นคือการแสดงความจงรักภัคดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การรับรองความประพฤติ และหลักฐานการสำเร็จการศึกษา (ระดับปริญญาตรี)

หากมองจากทิศทางดังกล่าว สถานการณ์ที่ซับซ้อนที่สมาชิกทีมหมูป่ากำลังเผชิญนั้นกำลังได้รับความกระจ่าง ในขณะที่เส้นทางการได้รับสัญชาติของพวกเขาได้รับประโยชน์จากความสนใจของสื่อมวลชน มันอาจส่งผลต่อกระบวนการทางราชการที่เป็นอุปสรรคต่อบุคคลไร้สัญชาติคนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนับพันคน

สำหรับสมาชิกทีมหมูป่าบางคน ทุนการศึกษาเหล่านั้นอาจจะมีประโยชน์สำหรับพวกเขา เช่นเดียวกันกับความอดทนเมื่อเผชิญกับความยากลำบาก ต่อไปในภายภาคหน้า

คุณเจนพิชา ชีวะอิสระกุล ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ในโครงการ Faculty Research Grant and Empowering Network for International Thai Studies (ENITS)


Share
Published 8 August 2018 4:34pm
Updated 12 August 2022 3:44pm
By Janepicha Cheva-Isarakul, Victoria University of Wellington
Presented by Tinrawat Banyat
Source: The Conversation, SBS World News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand