ผู้เชี่ยวชาญชี้วีซ่าแรงงานทักษะในออสฯ มีแนวโน้มได้ PR สูง

รัฐบาลสหพันธรัฐคงแผนออกวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรจำนวน 160,000 ที่ ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้การแพร่กระจายของไวรัสทำให้โอกาสดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้ามาในออสเตรเลียเป็นไปได้ยาก จึงเป็นโอกาสดีของผู้ถือวีซ่าแรงงานทักษะชั่วคราวในออสเตรเลียจะได้รับการพิจารณา

Jeanne Arona

Jeanne Arona is now a registered nurse at a Sydney aged care home. Source: SBS News

คุณจีน อโรนา อายุ 25ปี ชาวฟิลิปปินส์และได้ย้ายมานครซิดนีย์เมื่อ 6 ปีก่อน ก่อนหน้านี้เธอพิจารณาว่าเธอจะเลือกไปศึกษาต่อด้านพยาบาลที่ประเทศไหนดี ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกหลักๆ คือประเทศออสเตรเลีย เธอบอกกับเอสบีเอสนิวส์ว่า

 “ฉันเชื่อว่ามันจะมีโอกาสมากมายสำหรับพยาบาลวิชาชีพในประเทศนี้เมื่อพิจารณาจากระบบการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือประชาชนของที่นี่ รวมถึงระดับของการศึกษาที่พวกเขามีด้วย”

คุณ จีน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ซิดนีย์ (The University of Technology Sydney) เมื่อปี 2016 และแม้ว่าพยาบาลวิชาชีพเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการในออสเตรเลียอย่างมากแต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้งาน

 “การหางานค่อนข้างลำบากเพราะว่ามันมีข้อจำกัดหลายประการสำหรับนักเรียนต่างชาติ พวกเขาพิจารณาในเรื่องวีซ่าด้วย

ขณะนี้คุณ จีน อโรนา ได้รับการสปอนเซอร์วีซ่าจากสถานดูแลคนชรา ยูไนท์ติง เดอะ มาเรียน (Uniting the Marion) เป็นเวลา 4 ปี เธอหวังที่จะได้อาศัยในออสเตรเลียอย่างถาวร

ทักษะแรงงานที่ได้รับสิทธิพิเศษ

รัฐบาลสหพันธรัฐพิจารณาว่าพยาบาลวิชาชีพเป็นหนึ่งในอาชีพที่แรงงานในประเทศมีไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงผู้สมัครจากต่างประเทศจึงได้รับสิทธิพิเศษ และอนุญาติให้มีการอนุมัติวิซ่าชั่วคราวเร็วขึ้นรวมทั้งมีข้อยกเว้นการเดินทางให้ด้วย ซึ่งอาชีพพยาบาลนี้เป็น1ใน 17 อาชีพที่เพิ่มเข้ามาในรายชื่ออาชีพของผู้ย้ายถิ่นทักษะแรงงานที่มีสิทธิพิเศษในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ เช่น ผู้อำนวยการบริหาร ผู้จัดการโครงการก่อสร้าง วิศวะเครื่องกล แพทย์ จิตแพทย์ และไอที เป็นต้น
การขยายรายชื่ออาชีพนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากชุมชนธุรกิจบางสาขาที่อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศกลับคืนมาดังเดิมเมื่อผ่านพ้นวิกฤติไวรัสโควิด 19

คุณ อินเนส วิลลอกซ์ ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลีย (Australian Industry Group) กล่าวว่า

“การฟื้นฟูเศรษฐกิจมันจะต้องใช้ทักษะเป็นตัวนำ ซึ่งแน่นอนว่ามีผู้คนหลายล้านคนจากนานาประเทศที่มีทักษะที่เราต้องการในออสเตรเลีย”

การที่ได้รับวีซ่าแรงงานทักษะสามารถนำไปสู่การมีคุณสมบัติที่จะสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้

Westpac signage seen in Sydney.
Westpac signage seen in Sydney. Source: AAP


อย่างไรก็ตาม นาย อับบูล ริสวิ (Abul Rizvi) อดีตรองเลขาธิการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองชี้ว่าในขณะที่ทางทฤษฎีอาจจะฟังดูดี แต่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสทำให้ในทางปฏิบัติมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น

“เนื่องด้วยการจำกัดจำนวนผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศเพราะเรื่องของไวรัสโควิด 19 และการเดินทางข้ามประเทศของผู้คนในตอนนี้ มันคงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ที่ตำแหน่งเหล่านั้นต้องถูกเติมเต็มจากคนที่อาศัยในออสเตรเลียอยู่แล้ว”

ผลกระทบจากการปิดพรมแดน

รัฐบาลสหพันธรัฐคาดว่า 2 ใน 3 ของวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรในปีงบประมาณนี้จะให้สิทธิกับคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวที่ปัจจุบันอาศัยในออสเตรเลีย และความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการขาดแคลนผู้ย้ายถิ่นหน้าใหม่จะส่งผลกระทบต่อระบบของเศรษฐกิจออสเตรเลีย

คุณ จาร์เรด บอล (Jarrod Ball) ประธานนักเศรษศาสตร์ของศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย (The Centre for Economic Development of Australia) เปิดเผยว่า

 “ไม่มีข้อสงสัยว่าเรื่องนี้จะเป็นผลกระทบอันยิ่งใหญ่ต่อเศรษฐกิจของเราไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า”

การรายงานงบประมาณของรับบาลสหพันธรัฐเปิดเผยว่าในปีนี้จะมีจำนวนประชากรที่อาศัยในออสเตรเลียน้อยกว่าเดิมกว่า1 ล้านคน และการเติบโตของประชากรจะลดลงจากร้อยละ 1.6 เหลือเพียงร้อยละ 0.2
ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าจำนวนสุทธิของผู้ย้ายถิ่นจะติดลบเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาและจะเริ่มเห็นตัวเลขที่เป็นบวกอีกครั้งในปี 2022-23

แต่คุณ ริสวิ แย้งเกี่ยวกับการคาดการณ์นี้ว่า

 “จากที่ผมพิจารณาการคาดการณ์ในตอนนี้ มันเป็นไปในทางที่ดีเกินกว่าจะเชื่อ ผมคิดว่ารัฐบาลควรต้องทบทวนตัวเลขนี้อีกครั้งในอนาคต”

ปัจจุบันรัฐบาลออสเตรเลียปักหลักขีดความสามารถในการรับผู้ย้ายถิ่นอยู่ที่ 160,000 ที่ต่อปี ถึงแม้ว่าในปี 2019-20 ออสเตรเลียมีจำนวนผู้ย้ายถิ่นเพียง140,366 ที่ ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าขีดความสามารถที่กำหนดไว้ก็ตาม ในขณะที่ปีก่อนหน้าคือปี 2018-19 มีจำนวนผู้ย้ายถิ่นทั้งหมดจำนวน 160,323 รายด้วยกัน

คุณ วิลลอกซ์ กล่าวว่าความเป็นจริงก็คือถ้าจะให้จำนวนผู้อพยพกลับคืนมาในระดับเดียวกับในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส ออสเตรเลียต้องเปิดพรมแดนระหว่างนานาชาติเสียก่อน

“ในขณะที่ตอนนี้เราปิดพรมแดนกับนานาชาติและปิดตัวจากโลกภายนอก มันก็เป็นที่แน่นอนว่าผู้คนไม่สามารถที่จะเดินทางมาที่นี่หรือไม่ต้องการที่จะมาออสเตรเลีย และนี่มันคือกุญแจสำคัญเราต้องเปิดพรมแดนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้”

“ผู้อพยพคือเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจและนี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องการให้ดำเนินการเรื่องนี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้”
แต่ด้านเหล่านักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่าออสเตรเลียต้องวางบทบาทให้ตัวเองเป็นประเทศที่เป็นที่ต้องการของเหล่าแรงงานทักษะผ่านความช่วยเหลือด้านสวัสดิการ  คุณ บอล ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“มันเป็นเรื่องที่ไม่เคยสายเกินไปสำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ย้ายถิ่นที่ถือวีซ่าชั่วคราวที่ในช่วงเศรษฐกิจดีนั้นได้ให้ประโยชน์ใหญ่หลวงต่องบประมาณการคลังของรัฐบาลสหพันธรัฐและในช่วงเศรษฐกิจดีนั้นเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 30ปี”

 “ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องตอบแทนต่อการมีส่วนร่วมในงบประมาณของสหพันธรัฐของพวกเขา”

สำหรับคุณ จีน อโรนา เธอต้องการที่จะอยู่อาศัยในออสเตรเลียอย่างถาวรในอาชีพที่เธอกล่าวว่าไม่ใช่อาชีพที่ทุกคนจะทำได้แต่อาชีพนี้เป็นอาชีพที่เธอรัก 

“มันไม่เกี่ยวกับว่าคุณเป็นคนเชื้อชาติใดคุณถึงจะเข้าไปทำงานนี้ได้ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าคุณมีคุณสมบัติเหมาะกับงานนี้หรือไม่ต่างหาก”

“ถ้าคุณชอบงานนั้น และคุณทำมันด้วยใจ และหลังจากนั้นคุณจะทุ่มเทกับมัน”

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 12 October 2020 2:55pm
Updated 12 October 2020 4:30pm
By Catalina Florez
Presented by Chayada Powell


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand