รายงานล่าสุดจัดอันดับเมืองที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก

NEWS: รายงานจากกรีนพีซ ได้จัดอันดับเมืองต่างๆ ที่มีมลภาวะมากที่สุดของโลก (ออสเตรเลียอากาศดีเยี่ยมเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นหนึ่งใน 11 ประเทศเท่านั้นที่มีระดับ PM2.5 ต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ส่วนไทยอยู่ในสามสิบอันดับแรกของประเทศที่มีอากาศสกปรกที่สุดในโลก)

Image of a man cleaning up at a rubbish tip with a city skyline behind

ประเทศไทยอากาศแย่ที่สุดเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ส่วนออสเตรเลียอากาศดีที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก จากข้อมูลที่รวบรวมได้ 75 ประเทศ Source: Image obtained by SBS News

You can read the full version of this story in English on SBS News .

ประเทศอินเดียนั้นโดดเด่นอยู่บนรายชื่อของเมืองซึ่งมีมลภาวะมากที่สุดในโลกปี ค.ศ. 2018 โดยมีจำนวนถึง 22 เมืองอยู่ใน 30 อันดันแรก หากอ้างอิงจากรายงานโดยกรีนพีซ (Greenpeace)

มลภาวะทางอากาศนั้น คาดว่าเป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวน 7 ล้านคนเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรในทุกๆ ปี และสหประชาชาติก็ได้พิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมปัจจัยเดี่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ในขณะที่กรุงเดลี ได้รับการระบุชื่อว่าเป็นนครหลวงที่มีอากาศสกปรกที่สุดเป็นอันดับที่สิบ คุรุครามเมืองธุรกิจข้างเคียงซึ่งเปลี่ยนชื่อจากคุร์เคาน์ เมื่อปี 2016 นั้นขึ้นนำเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่น่าอิจฉาเท่าใดนัก

เมืองต่างๆ ในประเทศจีน ปากีสถาน และบังกลาเทศ ก็ติดอยู่ในสามสิบอันดับแรกด้วยเช่นเดียวกัน
A thick layer of pollution haze hangs over New Delhi, India.
A thick layer of pollution haze hangs over New Delhi, India. Source: AP
รายงานคุณภาพอากาศโลก 2018 (2018 World Air Quality Report) ซึ่งรวบรวมขึ้นโดยกรีนพีซ และ ไอคิวแอร์ แอร์วิชวล (IQAir AirVisual) ใช้ข้อมูลมลภาวะจากสถานีเฝ้าระวังของรัฐและเอกชนหลายหมื่นแห่ง เพื่อจัดอันดับเมืองต่างๆ จำนวน 3,000 เมือง จากสกปรกที่สุด จนถึงสะอาดที่สุด

ใน หลังจากคำนวณถ่วงดุลด้วยจำนวนประชากรแล้ว ประเทศบังกลาเทศก็ขึ้นนำเป็นประเทศที่มีมลภาวะสูงที่สุดโดยเฉลี่ย ตามมาติดๆ ด้วยปากีสถาน และอินเดีย โดยมีประเทศอาฟกานิสถานและมองโกเลียอยู่ในสิบอันดับแรกเช่นเดียวกัน ():
การจัดอันดับคุณภาพอากาศปี 2018 ของเมืองหลวงในแต่ละภูมิภาคโดยกรีนพีซ (Image source: Greenpeace)
ออสเตรเลียอากาศดีเยี่ยมเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นหนึ่งใน 11 ประเทศเท่านั้นที่มีระดับ PM2.5 ต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ส่วนไทยอยู่ในสามสิบอันดับแรกของประเทศที่มีอากาศสกปรกที่สุดในโลก ตามข้อมูลที่รวบรวมได้จากทั้งหมด 75 ประเทศ (Image source: Greenpeace) Source: Greenpeace
การ ของเมืองหลวงในแต่ละภูมิภาคโดยกรีนพีซ
Image of 2018 Global Air Quality ranking showing regional capital cities, by Greenpeace
การจัดอันดับคุณภาพอากาศปี 2018 ของเมืองหลวงในแต่ละภูมิภาคโดยกรีนพีซ (Image source: Greenpeace) Source: Greenpeace
“นอกเหนือจากการเสียชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังมีการสูญเสียแรงงานคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ $225,000 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก และอีกหลายล้านล้านดอลลาร์สำหรับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์” คุณเยบ ซาโน (Yeb Sano) ผู้อำนวยการบริหารของกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

“เรื่องนี้มีผลกระทบอย่างมหาศาล ต่อสุขภาพของเราและต่อประเป๋าเงินของเรา”

รายงานได้พิจารณาการวัดละอองขนาดเล็กที่เรียกว่า PM2.5 ซึ่งสามารถทะลุผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบหายใจได้

ในเมืองกว่า 3,000 แห่งซึ่งอยู่บนรายชื่อดังกล่าว 64 เปอร์เซ็นต์มีการสัมผัสกับ PM2.5 ในแต่ละปีที่สูงเกินกว่าข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก
Pedestrians wearing face mask against air pollution walk on a road in heavy fog in Dalian city, northeast China's Liaoning province.
Pedestrians wearing face mask against air pollution walk on a road in heavy fog in Dalian city, northeast China's Liaoning province. Source: ICHPL Imaginechina
ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของสารก่อมลถาวะที่เมืองต่างๆ ของประเทศจีนลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2017 ถึงปี 2018 โดยในขณะนี้กรุงปักกิ่งอยู่ที่อันดับ 122 ของเมืองที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก

รายงานได้พบว่า “ในช่วงไม่นานมานี้ เอเชียตะวันออกได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วกับการเพิ่มขึ้นของมลภาวะทางอากาศ”

รายงานยังเสริมว่า ความจำเป็นที่จะลดมลถาวะทางอากาศนั้นได้เพิ่มความเร่งด่วนมากขึ้นในประเทศจีน “จึงมีการนำเครือข่ายการเฝ้าระวังที่กินขอบเขตกว้างขวางและนโยบายด้านลดมลภาวะทางอากาศเข้ามาใช้”

รายงานดังกล่ายังชี้ชัดถึงการที่สาธารณชนนั้นขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปอาฟริกาและอเมริกาใต้

และได้เสริมว่า ข้อมูลแบบเรียลไทม์นั้นเป็น “เสาหลักที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดความตื่นตัวของสาธารณชน และขับดันให้มีการลงมือต่อสู้กับมลภาวะทางอากาศในระยะยาว”
A man wearing a mask rides a bicycle along the Han river in Seoul, South Korea.
A man wearing a mask rides a bicycle along the Han river in Seoul, South Korea. Source: AP
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 7 March 2019 10:57am
Updated 7 March 2019 11:24am
By AFP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: Greenpeace, AP, AFP - SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand