"อาการอ่อนล้าเรื้อรัง" โรคอธิบายยากกระทบนับแสนคนในออสฯ

Young Woman Suffering Headache In Bed

Chronic Fatigue Syndrome affects over 250,000 Australians Source: Getty Images

กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (MECFS) ความเจ็บป่วยที่ส่งผลกระทบต่อชาวออสเตรเลียมากกว่า 250,000 คน งานวิจัยเผยผู้ที่ได้รับผลกระทบเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิง ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญชีวิตยากลำบากในการอธิบายความต่างจากความเหนื่อยล้าทั่วไป


กด ▶ เพื่อฟังรายงาน
LISTEN TO
Chronic Fatigue Syndrome affects over 250,000 Australians image

"อาการอ่อนล้าเรื้อรัง" โรคอธิบายยากกระทบนับแสนคนในออสฯ

SBS Thai

14/03/202208:01
ตั้งแต่ลุกจากเตียง ออกไปเดินข้างนอก หรือรับโทรศัพท์

สำหรับ แมดดี ชีลส์ (Maddie Shields) ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic encephalomyelitis หรือ ME) กิจกรรมธรรมดาในชีวิตประจำวันทั้งหมดของเธอคือความเหนื่อยล้าอย่างยิ่ง

“มันบีบให้ฉันต้องเลิกทำบางอย่างที่ฉันชอบทำจริง ๆ เพียงเพราะฉันเหนื่อยและอ่อนล้ามากหลังจากผ่านมาทั้งวัน ถ้าพูดก็อย่างเช่นวันหนึ่ง ฉันชอบไปตั้งแคมป์และเดินป่า พอหมดวันแล้วฉันเหนื่อยมาก ฉันปวดหัว” คุณชีลส์ กล่าว

“ถ้าวันไหนฉันยุ่งหรือเครียด ฉันก็จะกลับบ้านมาด้วยความเหนื่อยมากจนรู้สึกอารมณ์บูดเล็กน้อยและฉุนเฉียวใส่คนอื่น และนั่นก็สร้างปัญหาเล็กน้อยในความสัมพันธ์ของฉัน”

อาการ ME หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่ากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง  (Chronic Fatigue Syndrome หรือ CFS) คือความผิดปกติที่ซับซ้อนที่มีลักษณะเฉพาะคือ ความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงที่กินเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และไม่สามารถอธิบายได้อย่างเต็มที่ด้วยภาวะอาการแทรกซ้อนทางการแพทย์

อาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยในกลุ่มอาการนี้จะแย่ลง หากทำกิจกรรมทางร่างกายและจิตใจ และอาการเหนื่อยล้าจะไม่ดีขึ้นด้วยการพัก

คุณชีลส์ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีกลุ่มอาการดังกล่าวในปี 2007 หลังได้รับเชื้อจนป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลีโอซิส เธอกล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า บ่อยครั้งมันเป็นเรื่องยากในการอธิบายภาวะอาการของเธอให้กับคนรอบตัว

“มันเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดในการพยายามและอธิบายกับคนอื่นว่า โอ้ ฉันทำไม่ได้วันนี้เพราะความเหนื่อยล้าของฉันหรือ วันนี้ฉันรู้สึกเหนื่อยจริง ๆและบางครั้งผู้คนก็อาจมีความคิดในทำนองว่า ทุกคนก็เหนื่อยเหมือนกัน รับกับมันให้ได้สิ” คุณชีลส์ กล่าว

“และมันก็เป็นเรื่องน่าหงุดหงิด เพราะมันไม่ใช่ว่าฉันอยากจะพลาดอะไรไป มันไม่ใช่ว่าฉันอยากจะนอนบนเตียงแล้วรู้สึกอะไรก็ได้อย่างที่ฉันอยากเป็น”
อีเมิร์จ ออสเตรเลีย (Emerge Australia) คือองค์กรไม่แสวงผลกำไร ซึ่งเป็นกระบอกเสียงระดับชาติของชาวออสเตรเลียมากกว่า 250,000 คนที่เผชิญกับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (MECFS)

นพ.ริชาร์ด ชเลอฟ์เฟล (Dr Richard Schloeffel) ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ขององค์กรดังกล่าว ซึ่งได้รับเหรียญเกียรติยศ Order of Australia (OAM) จากงานของเขาเกี่ยวกับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง กล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังมักเกิดเป็นความเจ็บป่วยหลังติดเชื้อไวรัส

“มันดูเหมือนจะเริ่มในกลุ่มผู้ที่อาจเคยติดเชื้อ หรือเกิดความบอบช้ำบางอย่างทางสุขภาพ ณ จุดหนึ่ง และพัฒนาเป็นอาการเจ็บป่วย จากนั้นพัฒนากลายเป็นกลุ่มอาการเหนื่อยล้า ความผิดปกติด้านความจำ อาการปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย การนอนที่ถูกรบกวน และอาการทางร่างกายต่าง ๆ ที่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่หายดี และไม่พบสาเหตุอื่นใดสำหรับอาการที่สร้างความทุพพลภาพเหล่านี้ มันคือการวินิจฉัยโดยคัดออก” นพ.ชเลอฟ์เฟล กล่าว

แอน วิลสัน (Anne Wilson) ประธานบริหารของ Emerge Australia กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่อยู่กับอาการเจ็บป่วยดังกล่าว คือการไปรับการวินิจฉัยอย่างเที่ยงตรงตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งเธอกล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่าเป็นเรื่องยากมาก

“เราไม่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับการวินิจฉัย ไม่มีการทดสอบที่บอกคุณได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าคุณมีกลุ่มอาการ MECFS หรือไม่ และโชคไม่ดีที่ไม่มีทางรักษา” นางวิลสัน กล่าว

“ดังนั้น เมื่อมีอาการป่วยหนัก สิ่งที่ดีที่สุดที่เราแนะนำ นั่นก็คือการเก็บแรงเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่คุณทำได้ เพราะกลุ่มอาการ MECFS มีความซับซ้อนมาก และมันคือโรคทางระบบประสาทที่มีความพิการซึ่งส่งผลกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย โดยรวมไปถึงสมอง กล้ามเนื้อ ระบบย่อยอาหาร ภูมิคุ้มกัน และระบบหัวใจ”

การวิจัยล่าสุดโดย อิเมิร์จ ออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ประมาณร้อยละ 75 ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (MECFS) เป็นผู้หญิง

นอกจากนี้ การวิจัยดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 25 ของผู้ที่มีภาวะอาการดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่างหนักจนต้องอยู่แต่ในบ้าน หรือเป็นผู้ป่วยติดเตียง

และโชคไม่ดีที่ภาวะอาการเหล่านี้ มักถูกมองข้ามในระบบสาธารณสุข

“มันน่าเศร้าที่ผู้หญิงหลายคนถูกทำให้รู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่พวกเธอคิดไปเองและไม่มีอยู่จริง และส่วนมากก็เพราะว่าผู้คนไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร แทนที่เราจะเก็บเรื่องนี้เอาไว้โดยไม่ทำอะไรเพราะมันยากเกิน อันที่จริงมันเรื่องที่จะต้องมีการลงทุน” นางวิลสัน กล่าว

สำหรับคุณชิลส์ ซึ่งเป็นครูในระดับชั้นประถมศึกษา เธอกล่าวว่า บ่อยครั้งที่เธอต้องทำงานหนักกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เป็นเท่าตัว เพื่อให้ทันกับภาระงานที่มี

เธอหวังว่าจะมีความตระหนักรู้มากขึ้นต่ออาการเจ็บป่วยนี้ ขณะที่บ่อยครั้ง ผู้บังคับบัญชาในงานของเธอก็อาจไม่เข้าใจว่าเธอกำลังพบเจอกับอะไรอยู่

“คุณอาจรู้สึกผิดอย่างมาก กับการที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรทำในตำแหน่งงานของคุณ และฉันเดาว่า บางครั้งหัวหน้างานหรือผู้คนรอบตัวอาจจะทำให้คุณรู้สึกว่าคุณทำงานไม่พอ” คุณชิลส์ กล่าว

“การขจัดมลทินที่ว่านั่นนออกไปและบอกว่าเราไม่ได้เกียจคร้าน จึงเป็นเรื่องที่เรากำลังดิ้นรนอยู่จริง ๆ”

ด้าน นพ.ริชาร์ด ชเลอฟ์เฟล กล่าวว่า ความก้าวหน้าอันดับหนึ่งในการรักษากลุ่มอาการ MECFS คือการรับรู้ถึงความเจ็บป่วย

“มันสำคัญอย่างยิ่งที่แพทย์ทุกคนในออสเตรเลียจะรับรู้ถึงภาวะอาการ MECFS มันไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตหรือโรคจิตเภท มันไม่ใช่ความผิดปกติในการตัดสินใจเลือก และมีหลายสิ่งที่เราทำได้ในการวินิจฉัยและเข้าใจมัน ซึ่งแน่นอนว่าด้วยวิทยาศาสตร์ที่เรากำลังพัฒนา อาจจะนำไปสู่การรักษาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งสำคัญมากกับผู้คนเหล่านี้” นพ.ชเลอฟ์เฟล กล่าว


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด

หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand