วิธีป้องกันไฟไหม้บ้าน เพื่อป้องกันความวอดวายที่อันตรายที่สุด

Brave Fireman of a Burning Building and Holds Saved boy in His Arms. Open fire and one Firefighter in the Background.

เหตุเพลิงไหม้ในออสเตรเลียส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน Source: Moment RF / Virojt Changyencham/Getty Images

การป้องกันอัคคีภัยในบ้านมีมากกว่าการติดตั้งสัญญาณเตือน น่าเศร้าที่เหตุอัคคีภัยในออสเตรเลียเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย เรามีข้อมูลที่คุณควรทราบเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในที่อยู่อาศัย


ประเด็นสำคัญ
  • ปัจจัยเสี่ยงเกิดไฟไหม้มักเกิดจากฮีตเตอร์และการสูบบุหรี่ อัคคีภัยอาจเกิดจากแหล่งความร้อนใดก็ได้
  • สิ่งสำคัญในการป้องกันอัคคีภัยคือความระมัดระวังเรื่องวัตถุไวไฟ
  • ควรสอนเด็กๆ เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยและการรับมือเหตุเพลิงไหม้

กด ▶ ด้านบนฟังพอดคาสต์

เหตุไฟไหม้บ้านส่วนมากมักสามารถป้องกันได้ ขณะที่ประกายไฟเกิดขึ้นได้เพียงชั่วขณะ


ผลจากประกายไฟเล็กๆ อาจไม่สามารถย้อนกลับได้ และเปลวไฟที่เล็กที่สุดอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหรือโศกนาฏกรรมอันน่าเศร้าได้

ร่วมกับหน่วยดับเพลิงแห่งรัฐวิกตอเรีย (Fire Rescue Victoria) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ที่อยู่อาศัยในแต่ละปีมากกว่าจากภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย พายุและไฟป่ารวมกัน

คุณแอนดรูว์ กิสซิง (Andrew Gissing) หนึ่งในผู้เขียนรายงานการศึกษาฉบับนี้และประธานฝ่ายบริหารขององค์กรวิจัยภัยธรรมชาติแห่งออสเตรเลียกล่าวถึงผลการวิจัยเรื่องความเกี่ยวข้องกันระหว่างการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และการป้องกันอัคคีภัย

“ช่างน่าเศร้าที่การเสียชีวิตจากอัคคีภัยในที่พักอาศัยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยในออสเตรเลีย การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่ามีผู้เสียชีวิต 900 รายจากเหตุอัคคีภัยในที่พักอาศัยที่สามารถป้องกันได้ ระหว่างปี 2003 – 2017 ผู้เสียชีวิตแต่ละรายเป็นโศกนาฏกรรมอย่างแท้จริง ตัวเลขผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยในช่วงเวลานั้นคือ 64 รายต่อปี”

Boy pouring methylated spirit on barbecue fire
อัคคีภัยในที่พักอาศัยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟไหม้ แต่ทุกคนสามารถป้องกันเหตุเพลิงไหม้ได้ Credit: Robert Niedring/Getty Images/Cavan Images RF/Getty Images
ผลการวิจัยยังชี้ว่า เหตุอัคคีภัยในที่พักอาศัยส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวเนื่องจากอุปกรณ์หรือวิธีทำความร้อนที่ไม่ปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเรียกร้องให้ประชาชนใช้อุปกรณ์ทำความร้อนตามคำแนะนำของผู้ผลิต

นั่นคือหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ทำความร้อนแบบใช้กลางแจ้ง (outdoor heating) ในบริเวณตัวอาคาร รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ “เม็ดความร้อน (heat beads)” หรือที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas – LPG) เป็นเชื้อเพลิง

คุณกิสซิงกล่าวว่าอุปกรณ์ทำความร้อนที่ออกแบบมาเพื่อใช้กลางแจ้งนั้นไม่เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณตัวอาคาร เนื่องจากอาจทำให้มีการสะสมของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

“การเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ในที่พักอาศัยที่สามารถป้องกันได้มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหนาว หลายกรณีเกิดจากฮีตเตอร์ (heaters) หรือเตาผิง ฯลฯ ช่วงฤดูหนาวประชาชนควรระมัดระวังเป็นพิเศษกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาใช้ฮีตเตอร์หรือเตาผิง”
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
Be prepared: Simple tips to get yourself and your property ready for bushfire season image

เตรียมตัวให้พร้อม: วิธีง่ายๆ ในการเตรียมตัวให้ปลอดภัยในฤดูกาลไฟป่า

SBS Thai

05/01/202109:08
การศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากเหตุอัคคีภัยในที่อยู่อาศัย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

เด็กๆ ยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากไฟลวกอีกด้วย แม้ว่าจะโดนประกายไฟที่ดับง่ายก็ตาม

คุณไซมอน ซัลลิแวน (Simon Sullivan) ผู้จัดการแผนกส่งเสริมสุขภาพเด็กจากเครือข่ายโรงพยาบาลเด็กในซิดนีย์ (Kids Health Promotion Unit at the Sydney Children’s Hospital Network) กล่าวว่า
โดยทั่วไปแล้วเด็กเล็กเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด ตามธรรมชาติแล้วพวกเขาค่อนข้างอยากรู้อยากเห็น
"และอุบัติเหตุเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที เด็กๆ มักมีผิวที่บอบบางมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งหมายความว่าเมื่อเด็กๆ ถูกไฟไหม้ ผิวจะถูกเผาไหม้ได้ลึกและเร็วกว่า แม้จะเป็นความร้อนที่อุณภูมิต่ำ”
new alarm for senior woman
ทุกรัฐและมณฑลในออสเตรเลียมีข้อกำหนดเรื่องเครื่องตรวจจับควัน ซึ่งทุกคนควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกปี Credit: sturti/Getty Images
อุปกรณ์ทำความร้อนและวัสดุรมควันมักเกี่ยวข้องกับเหตุอัคคีภัยในที่อยู่อาศัยหลายกรณี

แต่คุณกิสซิงเน้นว่ามักมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเหตุร่วมด้วย

“เหตุเพลิงไหม้ในที่อยู่อาศัยที่ป้องกันได้ส่วนใหญ่มักเกิดจากบุหรี่ ไฟฟ้าขัดข้อง ฮีตเตอร์และเตาผิง แต่ผมคิดว่าประเด็นสำคัญคือเมื่อเราดูที่ปัจจัยเสี่ยง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียว เมื่อเราดูที่เหยื่อจากเหตุโศกนาฏกรรมจากอัคคีภัยในที่อยู่อาศัย มักมีปัจจัยต่างๆ ที่เกิดร่วมกันเกี่ยวเนื่องกับแต่ละบุคคล พฤติกรรมของพวกเขาและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย”
Smoke coming out from oven
ไฟปะทุออกมาจากเตาอบ Credit: Henrik Sorensen/Getty Images
คุณกิสซิงเสริมถึงหลักปฏิบัติเพื่อป้องกันเหตุอัคคีภัยในบ้าน เช่น เครื่องตรวจจับควันที่ใช้งานได้ แผนการหนีไฟและการไม่ปล่อยเตาทำกับข้าวทิ้งไว้จะสามารถช่วยได้

คุณมาร์ก ฮาลเวอร์สัน (Mark Halverson) ผู้จัดการฝ่ายบริหารด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยที่หน่วยดับเพลิงและกู้ภัยเหตุฉุกเฉินแห่งรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland Fire and Emergency Services - QEFS) กล่าวว่าการป้องกันเริ่มได้จากความรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทำความร้อนและรับมือตามเหตุการณ์

“การติดไฟนั้นต้องมีความร้อนที่เพียงพอในการจุดวัสดุที่ติดไฟได้ แหล่งความร้อนอาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่อุปกรณ์ทำความร้อน อุปกรณ์ทำอาหารและแบตเตอรี่ที่ชาร์จอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง ปกติแล้วเมื่อคนทั่วไปจะเข้านอนตอนกลางคืนหรือกำลังออกจากบ้าน"

พวกเขาควรแน่ใจว่าปิดแหล่งทำความร้อนดังกล่าวและจะไม่มีความเสี่ยงเกิดไฟขึ้นเมื่อพวกเขาไม่สามารถรับรู้ได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นที่บ้านในช่วงเวลานั้น
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
FT SG Ambulance image

เรียกรถพยาบาลอย่างไรในออสเตรเลีย

SBS Thai

26/12/202211:39
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีเหตุอัคคีภัยสูงขึ้นในที่พักอาศัยซึ่งเกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (lithium-ion battery)

คุณฮาลเวอร์สันกล่าวว่าเหตุอัคคีภัยเหล่านี้สามารถป้องกันได้ หากผู้คนตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเมื่อไม่ใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ดี

“ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นระหว่างการชาร์จแบตเตอรี่ เช่น หากเราใช้สกูตเตอร์ไฟฟ้า (e-scooter) เป็นต้น เนื่องจากสกูตเตอร์ไฟฟ้าบรรจุพลังงานค่อนข้างมาก ดังนั้นหากมีประกายไฟเกิดขึ้นจะเกิดเป็นพลังงานมากกว่าและมีโอกาสที่จะลุกลามได้เร็วกว่า ดังนั้นผมคิดว่าปัญหาอันดับหนึ่งคือหลายคนใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ไม่ถูกต้องกับอุปกรณ์บางอย่าง"
การทื่ที่ชาร์จเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นที่ชาร์จที่ถูกต้องเสมอไป
On Fire Adapter Smart Phone Charger At Plug In Power Outlet At Black Background
โทรศัพท์มือถือ แปรงสีฟัน เครื่องดูดฝุ่น แลปทอป อุปกรณ์ชาร์จไฟในครัวเรือนจำนวนมากใช้แบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน Credit: Chonticha Vatpongpee / EyeEm/Getty Images
นอกจากนี้ วัสดุติดไฟยังสามารถพบได้ในบริเวณหลังบ้านของคนส่วนใหญ่อีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ได้แก่ กิ่งไม้แห้ง ขอนไม้ที่เก็บไว้ เสื้อผ้าเก่า อุปกรณ์ที่ติดไฟได้ง่ายต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่มักเก็บไว้ในโรงเก็บของ

คุณฮาลเวอร์สันสรุปแนวปฏิบัติในการเก็บผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง

“หากต้องเก็บอุปกรณ์ เช่น เชื้อเพลิงตัดหญ้าหรือเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ ควรเก็บในภาชนะที่เหมาะสมสำหรับเก็บเชื้อเพลิงและเก็บให้ห่างจากอุปกรณ์อื่นๆ และแน่นอนให้ห่างจากความร้อนสูง ผมคิดว่าสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือเชื้อเพลิงและปุ๋ยไม่ควรอยู่ด้วยกัน นั่นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่คล้ายกัน ดังนั้นปัจจัยของความปลอดภัยในบ้านคือความมั่นใจว่าแยกเก็บวัสดุต่างๆ เหล่านี้และบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม”
AAP
ควรมั่นใจว่าทุกคนในบ้านทราบว่าต้องทำอย่างไร ในกรณีเกิดอัคคีภัย Source: AAP / Getty Images/Imgorthand
สำหรับเครื่องตรวจจับควันไฟ (smoke alarm) ซึ่งแม้จะไม่ป้องกันไฟ แต่มันจะแจ้งเตือนล่วงหน้าและสร้างโอกาสให้สามารถดับไฟที่ยังไม่ลุกลามได้ด้วย

อย่างไรก็ตามคุณฮาลเวอร์สันเตือนว่าอย่าพยายามดับไฟ หากไม่ได้เตรียมพร้อม

“การมีเครื่องตรวจจับควันไฟที่ทำงานได้ดีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการรับประกันความปลอดภัยของเราและครอบครัวของเราที่บ้าน หากผู้ใดมั่นใจและมีอุปกรณ์เหมาะสมในการดับไฟ นั่นก็เป็นเรื่องดี แต่ผมขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่ไม่มั่นใจและไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการดับไฟ สิ่งสำคัญที่สุดที่พวกเขาสามารถทำได้คือพาตัวเอง ครอบครัวและคนอื่นๆ ที่อยู่ในบ้านออกไปข้างนอกให้เร็วที่สุดและโทรเบอร์ฉุกเฉิน 000 เพื่อขอหน่วยกู้ภัยดับเพลิงในพื้นที่” 
Household hazardous waste products and containers
ควรระมัดระวังในการจัดเก็บวัตถุไวไฟในบ้าน Credit: NoDerog/Getty Images
การดูแลให้ทุกคนในบ้านทราบว่าพวกเขาต้องทำอะไรหากเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นสิ่งสำคัญ

ตัวอย่างเช่น สอนเด็กๆ เรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัย นอกจากการโทรเบอร์ฉุกเฉิน 000

คุณซัลลิแวนแนะนำอีกว่าควรฝึกซ้อมดับเพลิงด้วย

“สิ่งแรกคือเตรียมแผนการหนีไฟในบ้านและฝึกกับครอบครัว สอนพวกเขาให้ ‘ก้มต่ำและหนีไป’ เพราะอากาศจะเย็นกว่า สะอาดกว่าเมื่ออยู่ใกล้พื้นดิน และสอนเด็กๆ ว่าหากเสื้อผ้าพวกเขาติดไฟ ให้ ‘หยุด ล้มตัวลง คลุมและกลิ้งตัว’ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาเอามือบังหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บบนใบหน้าและให้พวกเขากลิ้งตัวไปกับพื้น มันจะช่วยดับไฟได้เช่นกัน”
Man using fire extinguisher on arm chair on fire
ไม่ควรพยายามดับไฟด้วยตนเอง ยกเว้นไฟที่ยังไม่ลุกลามมากเกินไป และคุณมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม Credit: Michael Blann/Getty Images
การสอนบุตรหลานให้ป้องกันอัคคีภัยอาจเป็นเรื่องน่ากลัว

คุณซัลลิแวนบอกเคล็ดลับในการขจัดความกลัวและการสอนโดยใช้บทสนทนา

“ทำให้เป็นเรื่องง่าย ทำให้มันสนุก ทำให้น่ามีส่วนร่วม พยายามใช้กิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง ผมคิดว่าจุดเริ่มต้นที่ดีคืออธิบายให้เด็กๆ ฟังถึงจุดประสงค์ของเครื่องตรวจจับควัน มันทำงานอย่างไร มันอยู่ที่ไหน มันหน้าตาเป็นอย่างไร มันจะมีเสียงอย่างไร เสียงเตือนแจ้งไฟไหม้และเสียงเตือนว่าแบตเตอรี่ต่ำ ดังนั้นหากเกิดเหตุไฟไหม้"
พวกเขาจะไม่ตื่นตระหนกเพราะพวกเขาคุ้นชินกับเสียงเตือนและสิ่งที่พวกเขาต้องทำ
Little girl turns the oven button
อุบัติเหตุเกี่ยวกับความร้อนเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วินาที หากปล่อยให้เด็กอยู่ในครัวโดยไม่มีใครดูแล Credit: tolgart/Getty Images

เคล็ดลับความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand