คุณคิดว่าปริมาณสินค้าลดลง แต่ยังคงมีราคาเท่าเดิมหรือไม่? คุณอาจไม่ได้คิดไปเอง

Photo-Grocery stote-pexels-pixabay.jpg

การจัดวางสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต Credit: Pexels/Pixabay

‘Shrinkflation’ การลดปริมาณของสินค้า แต่ราคาเท่าเดิมหรือสูงขึ้น ปัญหาที่พบได้ในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง รัฐบาลเล็งหาวิธีตรวจสอบราคาต่อหน่วย และกำหนดบทลงโทษซูเปอร์ฯ ที่ฝ่าฝืน


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณอาจสังเกตเห็นว่าขนาดของสินค้าที่คุณซื้อ เช่น นม ขนมปัง มันฝรั่ง หรือพาสตา มีปริมาณน้อยลง แต่ราคายังคงเท่าเดิมหรืออาจมีราคาสูงขึ้น

นายกรัฐมนตรีอัลบานีซีประกาศ จะใช้กฎหมายที่เข้มงวดกว่าเดิมในการควบคุมราคาต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ในออสเตรเลีย มุ่งช่วยเหลือผู้บริโภคในวิกฤตค่าครองชีพสูง

“หนึ่งในสิ่งที่เราประกาศ ที่เราจะออกกฎหมายปีนี้ คือการบังคับใช้กฎเรื่องอาหารและร้านขายของชำ ซึ่งไม่เคยมีการบังคับใช้มาก่อน เดิมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่ แต่เราจะบังคับใช้กฎหมาย และนั่นหมายความว่าจะมีบทลงโทษหลายล้านดอลลาร์สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน ชริงเฟลชันเกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าน้ำหนัก 500 กรัม จะไม่กลายเป็น 400 กรัมในราคาเท่าเดิม หลายคนสังเกตเห็นเรื่องนี้ ผู้ผลิตลดปริมาณสินค้าลง ขณะที่ขึ้นราคาสินค้า นั่นเป็นการโกงผู้บริโภคออสเตรเลีย การบรรจุภัณฑ์ไม่ควรทำให้ลูกค้าจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อให้ได้สินค้าในปริมาณน้อยลง”
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) รายงานว่าพบสถานการณ์ชริงเฟลชันมากขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ต

เพื่อจัดการกับปัญหานี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาตั้งกฎที่เข้มงวดในการกำหนดราคาสินค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าตามน้ำหนักหรือปริมาณได้ และจะกำหนดบทลงโทษหลายล้านดอลลาร์สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนอย่างรุนแรง

ด้านผู้นำฝ่ายค้าน ปีเตอร์ ดัตทัน สนับสนุนเรื่องนี้
ประเทศของเราเป็นตลาดเสรี และเราสนับสนุนการตลาดเสรี แต่ท้ายที่สุดแล้วตลาดเสรีต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค
"เราควรมีการแข่งขัน และเราควรมีการแข่งขันที่เป็นธรรม ผู้ผลิตต้องมีความโปร่งใสในเรื่องราคาและผลิตภัณฑ์ที่ขายในตลาด และกฎหมายค่อนข้างชัดเจน หากคุณพยายามล่อลวงผู้บริโภค หากคุณพยายามปกปิดหรือดำเนินการในลักษณะผูกขาด จะต้องได้รับโทษ ผมคิดว่าผู้ผลิตที่กำลังดำเนินการลักษณะนี้อยู่ ต้องระมัดระวัง”

เกเรธ ดาวน์นิง ประธานผู้บริหารของสหพันธ์ผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้กฎหมายกำหนดราคาต่อหน่วยจะมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีการบังคับใช้ที่เข้มงวดพอในการปกป้องผู้บริโภค

“กฎระเบียบนี้ผ่านเป็นกฎหมายตั้งแต่ปี 2009 กฎการกำหนดราคาต่อหน่วยมีมาตั้งแต่ตอนนั้น แม้ว่าข้อกำหนดจะเป็นเชิงหลักการ แต่คุณต้องแสดงข้อมูลในรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนด แต่เราพบเห็นข้อมูลที่นำเสนอไม่สอดคล้องตามกฎหมาย อ่านยาก เข้าใจได้ยาก หวังว่าการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครั้งนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และให้มีบทลงโทษสำหรับการไม่นำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เห็นได้ชัด และง่ายต่อความเข้าใจของผู้บริโภค”
ALCbudget2023 groceries
ผู้จับจ่ายกำลังคิดเงินจากใบเสร็จ Source: iStockphoto / cyano66/Getty Images/iStockphoto
มาตรการดังกล่าวมีผลหลังจากที่ ACCC ทำการสอบสวนการทุจริตในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยได้รับงบประมาณ $30 ล้านจากรัฐบาล เพื่อไต่สวนยุทธวิธีกำหนดราคาของผู้ผลิตว่ามีผลต่อราคาของผลิตภัณฑ์อย่างไร

ผลการไต่สวนพบว่ามีการให้ข้อมูลการกำหนดราคาที่ไม่สุจริต บางผลิตภัณฑ์ถูกโฆษณาว่าลดราคา หลังจากที่ราคาถูกปรับขึ้นแล้ว

การสอบสวนยังพบว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังใช้แนวทางกักตุนสินค้า หรือการถือครองสินค้าเพื่อปิดกั้นการซื้อของคู่แข่ง

คาดว่าจะมีการเสนอร่างกฎหมายนี้ในปีนี้


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand