การเดินทางเพื่อทำงานและเพื่อพักผ่อนจะเปลี่ยนไปอย่างไร

Masked Ramayana statue is pictured at the departures hall at Suvarnabhumi Airport

รูปปั้นยักษ์สวมหน้ากากที่ห้องโถงผู้โดยสารขาออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ Source: Matt Hunt / SOPA Images/Sipa USA

จากวิกฤตโควิด เราได้เห็นโลกถูกย่อให้เล็กลงให้เหลือแค่ภายในพรมแดนประเทศของเรา มาดูกันว่าการเดินทางเพื่อทำงานและเพื่อพักผ่อนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หลังโควิด-19 ผ่านพ้นไป


กดฟังสัมภาษณ์
LISTEN TO
how-business-and-leisure-travel-will-change-after-the-pandemic image

การเดินทางเพื่อทำงานและเพื่อพักผ่อนจะเปลี่ยนไปอย่างไร

SBS Thai

17/01/202213:25
“ออสเตรเลีย ไม่มีใครชอบสิ่งใหญ่โตมากไปกว่าฉัน สัปปะรดผลใหญ่ กล้วย มันฝรั่ง กุ้ง แต่ฉันคิดว่าเราสามารถหาสิ่งใหญ่ๆ อย่างอื่นได้นะ ฉันคิดว่าประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใหญ่ และฉันคิดว่าไม่มีสิ่งไหนจะยิ่งใหญ่หรือดีไปกว่าการมาท่องเที่ยวที่นี่”

นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้มาท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งออสเตรเลียในปี 2021 ที่ทุ่มทุน 9 ล้านดอลล่าร์ เพื่อกระตุ้นให้ชาวออสเตรเลียเที่ยวภายในประเทศ

แต่ความเป็นจริงคือ คนออสเตรเลียส่วนมากไม่มีทางเลือกอื่น เนื่องจากพรมแดนระหว่างประเทศยังคงปิดเพื่อป้องกันการระบาดของโควิดที่ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 เผยจำนวนผู้โดยสารขาออกที่ลดลง 94.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตโควิดในเดือนมิถุนายน 2019

ด็อกเตอร์ เดวิด เบียร์แมน (David Beirman) อาจารย์สอนด้านการท่องเที่ยวที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (University of Technology Sydney)

"ก่อนปี 2020 คนส่วนใหญ่คิดว่าพวกเขาสามารถเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ แต่สิทธิ์นั้นมลายหายไปหลังเกิดโควิด ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงออสเตรเลีย”
Opera House Sydney
โอเปร่าเฮ้าส์ที่ซิดนีย์ Source: Pexels/Rijan Hamidovic
ข้อมูลของสำนักงานสถิติเดือนมิถุนายน ปี 2021 ยังเผยถึงจำนวนผู้มาเยือนออสเตรเลียเพียง 150,970 คน ลดลง 97.7 เปอร์เซ็นต์จากปี 2020

ส่งผลให้รายได้ในภาคส่วนของการท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลง 96.1 เปอร์เซ็นต์

โควิด-19 ยังทำให้ธุรกิจการเดินทางด้วยราคาย่อมเยาชะงักกะทันหัน ราคาตั๋วเครื่องบินลดลงถึงจุดที่เที่ยวบินระหว่างประเทศราคาจับต้องได้มากขึ้นสำหรับหลายคน  

นายเบียร์แมน อดีตเอเจ้นท์ท่องเที่ยวกล่าว

“เรามักจะขายตั๋วเครื่องบินไปลอนดอนหรือปารีสอยู่ที่ประมาณ $2,000 ดอลล่าร์ เมื่อสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมา คุณไม่  รอช่วงลดราคาเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบินจากซิดนีย์ไปลอนดอนในราคาประมาณ $1,250 ดอลล่าร์ ราคาตั๋วเครื่องบินถูกลง และนั่นไม่ใช่แค่เพียงตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ แต่ยังรวมถึงภายในประเทศด้วย”

ด็อกเตอร์ โรเบิร์ด ซินเนอร์บริงค์ (Robert Sinnerbrink) รองศาสตราจารย์จากภาควิชาปรัชญา แห่งมหาวิทยาลัยแม็กควอรี (Macquarie University) ได้พิจารณาถึงสาเหตุว่าเหตุใดผู้คนถึงเดินทาง โดยกล่าวว่ามนุษย์ถูกสร้างมาเพื่อให้เคลื่อนย้าย ให้เดินทาง ไม่ว่าจะในรูปแบบของการอพยพย้ายถิ่น การแสวงบุญทางศาสนา หรือพิธีกรรม

“มันเป็นความรู้สึกของการก้าวข้ามขอบเขต และยังได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่คุ้นเคยในรูปแบบใหม่ สำหรับคนยุคใหม่ การได้เดินทางรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจะเป็นการเดินทางเพื่อจุดประสงค์ในการทำธุรกิจ หรือเพื่อพักผ่อน หรือเป็นกิจวัตรช่วงปิดเทอม และผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราให้คุณค่าและเป็นเรื่องธรรมดา”
มาตรการจำกัดเพื่อป้องกันโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้พอยพในออสเตรเลียอีกด้วย ตัวเลขของผู้อพยพสู่ออสเตรเลียลดลงอย่างมาก ตั้งแต่การระบาดเริ่มขึ้น แต่คาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2022

ข้อมูลประชากรล่าสุดชี้ว่า ตัวเลขผู้อพยพจากต่างประเทศจะยังคงติดลบในปีงบประมาณนี้ ก่อนที่จะค่อยๆ ฟื้นตัวถึงจำนวน 235,000 คนต่อปี ในช่วงปี 2024-25

สำหรับผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียในขณะนี้ การได้พบเจอครอบครัวและเพื่อนที่ประเทศบ้านเกิดเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้

คุณนาบิล อัล นาชา  (Nabil Al Nashar) ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ เอสบีเอส อาราบิก มีประสบการณ์ตรงทั้งในฐานะผู้สื่อข่าวและในฐานะผู้อพยพจากอียิปต์ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดพรมแดนทั่วโลก

“ครอบครัวของฉันกระจายอยู่ในสี่ทวีปทั่วโลก ฉันอยู่ในออสเตรเลีย พ่อแม่ของฉัน คนหนึ่งอยู่ในแอฟริกา คนหนึ่งอยู่เอเชีย และน้องสาวของฉันอยู่ยุโรป เราพึ่งพาการเดินทางเพื่อไปพบเจอกัน ในระหว่างการระบาดและการล็อกดาวน์ มันหยุดทุกสิ่งครอบครัวของฉันส่วนใหญ่ได้ไปงานแต่งงานของน้องสาวฉัน และเธอเป็นน้องคนเดียวของฉัน ฉันพลาดงานเพราะฉันอยู่ในออสเตรเลีย ฉันยื่นขอยกเว้นและไม่ได้รับการอนุมัติ มันเป็นเรื่องยากมากจริงๆ ”

การเดินทางเพื่อการศึกษาและธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เนื่องจากโควิด

นายซินเนอร์บริงค์กล่าวว่า นายจ้างมีความระมัดระวังในการอนุมัติการเดินทาง เนื่องจากความกังวลในเรื่องของประกันและค่าเสียหาย

การเดินทางเพื่อการประชุม การประชุมแบบเห็นหน้ากัน ซึ่งเคยเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานร่วมกัน กลายเป็นสิ่งที่หรูหรามากขึ้นเรื่อยๆ

“ผมหมายความว่า เราสามารถทำอะไรทางออนไลน์ได้หลายอย่าง มันค่อนข้างเหลือเชื่อ ที่เห็นผู้คนปรับตัวได้รวดเร็วขนาดไหน ผมทราบว่าในภาคส่วนการศึกษา ครูชั้นมัธยมและชั้นมหาวิทยาลัยต้องปรับตัว และพวกเขาเริ่มชินกับการเรียนการสอนออนไลน์ แต่ยังมีหลายสิ่งที่โลกเสมืองจริงยังไม่สามารถทำได้ การพูดคุยเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าในสถานการณ์ตัวต่อตัว ยังมีการประชุมแบบไม่เป็นทางการและบทสนทนาที่เกิดขึ้นนอกห้องประชุม ซึ่งหลายคนมักพูดว่าบทสนทนาที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดเกิดขึ้นหลังการพรีเซ้นต์งาน ไม่ใช่ในระหว่างการพรีเซ้นต์งาน”
อีกสิ่งหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าได้รับผลกระทบหลังวิกฤตโควิดคือตลาดการท่องเที่ยวแบบประหยัด

นายเบียร์แมนกล่าวว่า มีประชากรออสเตรเลียหลายคนที่เดินทางไปประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่ราคาถูก

ในปี 2019 ประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้ถึง 14 ล้านคน และได้เพียงแค่หนึ่งล้านคนในปี 2020 และ 2021
และประเทศเหล่านั้นไม่มีเครือข่ายสนับสนุนทางสังคมและเศรษฐกิจ แบบที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในออสเตรเลียมี ในออสเตรเลียเรามีจ๊อบคีพเพอร์ (JobKeeper) และเงินสำรองประเภทอื่นๆ ในประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย พวกเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ดังนั้น พวกเขาจึงต้องสิ้นสุดการทำงาน วันหนึ่งพวกเขาอาจทำงานในโรงแรม วันต่อมาพวกเขาอาจจะทำงานไถพรวนดิน และนั่นเป็นหนทางเดียวที่พวกเขาจะอยู่รอดได้
นายเบียร์แมนกล่าวว่า ประเทศเหล่านี้จะกังวลที่จะรับนักท่องเที่ยวกลับเข้ามา โครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก

นอกจากนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สูง หมายความว่ามาตรการกักตัวและการตรวจเชื้อมีแนวโน้มที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น

“ฟิจีเปิดประเทศ คนออสเตรเลียสามารถเดินทางเข้าได้ มีแพ็คเกจกระตุ้นการเดินทางไปฟิจี ทั้งที่พักและค่าตั๋วเครื่องบิน แต่ค่าใช้จ่ายในการตรวจเชื้อทุกๆ 2-3 วันนั้นมีราคาสูง เพื่อนร่วมงานของผม เธอและสามีของเธอไปเที่ยวฟิจีมา พวกเขาซื้อแพ็คเกจได้ในราคาดี แต่หนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของพวกเขาหมดไปกับการตรวจเชื้อโควิด ดังนั้นสิ่งนี้จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไประยะหนึ่ง”

ยังมีทางเลือกของการท่องเที่ยวเสมือนจริง ที่นำเสนอทางเลือกใหม่ในการท่องเที่ยวทั่วโลกโดยใช้เทคโนโลยีแบบเสมือนจริงและแบบผสม

นายเดวิด แอทเทนโบรา (David Attenborough) บรรยายการเดินทางเสมือนจริงของแนวปะการัง เกรท แบริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) แก่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์นานาชาติ (Natural History Museum) ในสหราชอาณาจักร ในปี 2015

“โลกเสมือนจริงคือที่ที่คุณสามารถใส่อุปกรณ์ เช่น แว่นตาและหูฟัง และสามารถป้อนภาพเข้าดวงตาของคุณได้ มันน่าตื่นเต้นมาก ทันใดนั้นคุณตระหนักว่าเป็นโลกเสมือนจริงเมื่อคุณได้ยินเสียงรบกวน และหากคุณละสายตา คุณจะเห็นอีกภาพหนึ่ง และสามารถจมดิ่งสู่อีกโลกหนึ่งได้”

นายซินเนอร์บริงค์กล่าวว่า ในขณะที่นักปรัชญาพูดถึงประโยชน์ของการออกไปท่องโลก พวกเขายังตั้งคำถามถึงความหมกมุ่นของคนยุคใหม่กับการท่องเที่ยวด้วย

“ผมคิดว่านักปรัชญามีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องของความดีและความชั่วร้ายของการท่องเที่ยว นักปรัชญาบางท่านหลงใหลในการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายและการเดินทาง เสมือนเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงตนเอง แต่บางท่านกลับสงสัยและเหนื่อยหน่าย ชี้ว่าเป็นการทำให้ไขว้เขว แม้ว่ามันอาจทำให้เพลิดเพลินและสนุกสนาน แต่มันก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะเปลี่ยนเราในฐานะของคนคนหนึ่ง การได้อยู่กับสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ทำให้เรามีรากฐานที่มั่นคง เป็นการมองย้อนไปถึงตัวเองหรือการทำงานที่คุณต้องทำ เพื่อที่จะแก้ไขหรือปรับปรุงข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดของคุณ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand