มหาวิทยาลัยออสเตรเลียหวั่นกฎหมายจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติกระทบเศรษฐกิจ

University attendance figures

ร่างกฎหมายการจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ที่ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคมโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เจสัน แคลร์ Credit: Chris Radburn/PA

มหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจต่างๆ แสดงความกังวลต่อกฎหมายจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่จะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ด้านรัฐบาลกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว มีความจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้วีซ่านักเรียนเป็นทางลัดในการมาอยู่อาศัยในออสเตรเลีย


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

มีเสียงโต้แย้งในเรื่องนโยบาย การจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติ เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจทำให้ตำแหน่งงานหลายพันตำแหน่งตกอยู่ในความเสี่ยง และอาจส่งผลกระทบกับโครงการวิจัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

ร่างกฎหมายการจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ที่ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคมโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เจสัน แคลร์ โดยกระทรวงจะมีอำนาจในการกำหนดจำนวนนักศึกษา ในการลงทะเบียนนักศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

ผู้จัดการกลุ่มนโยบายการย้ายถิ่นฐานที่กระทรวงมหาดไทย ทารา แคฟวานนา กล่าวว่าร่างกฎหมายนี้มีความจำเป็นเพื่อทำให้ การจัดการระบบการย้ายถิ่นฐานที่ดีขึ้น ซึ่งจะป้องกัน ไม่ให้ผู้คนใช้วีซ่านักเรียนเป้นทางลัด ในการเข้าประเทศออสเตรเลีย คุณ แคฟวานนา ชี้ว่า

"เรามีหลักฐานการแสวงหาผลประโยชน์จากวีซ่านักศึกษาต่างชาติและผู้แสวงหาประโยชน์ในหลายภาคส่วนที่ต้องการทำลายระบบการย้ายถิ่นฐานและการศึกษาของออสเตรเลีย ผลที่ได้รับคือมีผู้คนเข้ามายังออสเตรเลียเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากการศึกษา"

"การแสวงหาผลประโยชน์นี้มีตั้งแต่การให้การศึกษาที่มีคุณภาพต่ำ ค่าธรรมเนียมการเรียนที่สูงเกินจริง และการแนะนำเส้นทางสู่การย้ายถิ่นฐานอย่างถาวรอย่างผิดๆ ไปจนถึงการค้ามนุษย์ แรงงานผูกมัด และเงื่อนไขสัญญาทาสสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาด้วยวีซ่านักเรียน มันเป็นกิจกรรมผิดกฎหมายทางอาญาทั้งในและนอกออสเตรเลีย"

 
armidale
รัฐบาลกล่าวว่าร่างกฎหมายนี้มีความจำเป็นเพื่อทำให้ การจัดการระบบการย้ายถิ่นฐานที่ดีขึ้น ซึ่งจะป้องกัน ไม่ให้ผู้คนใช้วีซ่านักเรียนเป้นทางลัด ในการเข้าประเทศออสเตรเลีย Source: SBS

ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย ลุค ชีฮี มีการเจรจากับคณะกรรมการรัฐสภาที่กำลังพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว คุณ ซีฮี กล่าวว่าการผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวดูเหมือนว่ามีแรงจูงใจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง

"ร่างกฎหมายบริการด้านการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติในแง่การปรับปรุงคุณภาพและความซื่อสัตย์ของวงการการศึกษานั้น ใจความส่วนใหญ่ดูเหมือนเป็นนโยบายเร่งด่วน องค์กรมหาวิทยาลัยแห่งออสเตรเลียสนับสนุนความตั้งใจของรัฐบาลในการรักษาความยั่งยืนของภาคการศึกษาระหว่างประเทศ แต่เราเชื่อว่าร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นควรมีมากกว่า การปกปิดทางการเมือง"

ตั้งแต่ปี 2023 รัฐบาลได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบายการย้ายถิ่นฐานที่สำคัญ 9 ประการที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนต่างชาติที่กำลังจะเข้ามาศึกษาต่อและรวมถึงอดีตนักเรียนต่างชาติด้วย
เมื่อพิจารณาประเด็นค่าเช่าที่สูงขึ้นและการขาดความพร้อมด้านที่พักอาศัย การเข้ามาควบคุมในเรื่องนี้ของรัฐบาล อาจเป็นการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาติมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ


นักเรียนจากบังกลาเทศ อย่างคุณ วิเวก อรูมูกัม ที่กำลังศึกษาอยู่ที่ Curtin University บอกกับ SBS นิวส์ ว่าเขาประสบปัญหาในการหาที่อยู่อาศัยในช่วงแรกที่มาถึง เขาเปิดเผยว่า

"ผมมาถึงออสเตรเลียเมื่อปีก่อน ตอนนั้นหาที่พักค่อนข้างลำบาก และเมื่อผ่านไปไม่กี่เดือน ผมก็ยังรู้ว่าจะพักที่ไหน นักศึกษาคนอื่นๆ ก็ตกอยู่ในสถานการณ์นี้เช่นกัน ขึ้น เรารู้ว่ามีนักศึกษาจำนวนมากมาเรียนต่อที่นี่ มันเลยหาที่พักยากนิดหน่อย"

นักศึกษาต่างชาติเป็นตัวแปรของวิกฤตที่อยู่อาศัยในออสเตรเลียจริงหรือ

คุณ ลุค ซีฮี กล่าวว่าจากข้อมูลที่มี แทบจะไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างจำนวนนักศึกษาต่างชาติกับวิกฤตที่อยู่อาศัยของออสเตรเลีย คุณ ซีฮี ชี้ว่า

"พรรคใหญ่ทั้งสองพรรค กำลังชูประเด็นการกลับเข้ามาในออสเตรเลียของนักศึกษาต่างชาติหลังการโควิด มาผนวกกับการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของออสเตรเลีย ซึ่งพวกเขานั่นแหละที่เป็นคนออกนโยบายสนับสนุนให้นักศึกษาต่างชาติกลับมา เรามีข้อมูลที่เป็นจริง ที่พิสูจน์ได้ว่าข้อโต้แย้งในประเด็นดังกล่าว ไม่เป็นความจริงไม่สนับสนุนข้อโต้แย้งนี้

"ข้อมูลที่อยู่อาศัยแสดงให้เห็นว่าจำนวนที่พักอาศัยให้เช่าเช่าในเขตชานเมืองรอบเมืองชั้นใน ซึ่งเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเมืองใหญ่ๆ นอกจากนี้ สภาที่พักนักศึกษายังพบว่านักเรียนต่างชาติมีส่วนแบ่งเพียงสี่เปอร์เซ็นต์ของตลาดให้เช่าแบบส่วนตัว หรือ private rental "

กฎหมายการจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติดังกล่าวจะอนุญาตให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาเกินขีดจำกัดได้ หากพวกเขาสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษา เพื่อลดแรงกดดันต่อตลาดค่าเช่า

ผลกระทบของการจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติ

ด้านมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยชั้นนำของออสเตรเลียหรือที่เรียกว่า ให้ความเห็นว่าเพดานการรับนักศึกษาต่างชาติดังกล่าวจะบ่อนทำลายอุตสาหกรรมการส่งออกด้านการบริการที่ใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดของออสเตรเลีย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Group of Eight วิกกี ทอมสัน กล่าวว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมีความเข้มงวดมากเกินไป

"กฎหมายที่เร่งรีบและไร้กรอบนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นกันมานานของนโยบายการเมืองแบบเก่าๆ มีเหตุผลต่างๆ ในการจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตที่อยู่อาศัย ค่าครองชีพ ความสามารถในการจ่ายค่าเช่า ความพร้อมในการเช่า การกระจายนักเรียนไปยังพื้นที่ระดับภูมิภาค หรือการยับยั้งผู้ให้บริการการศึกษาที่ไม่สุจริต"

"แต่สิ่งที่เราทุกคนเห็นพ้องต้องกันคือเราควรมีระบบการศึกษาที่มีพื้นฐานในด้านคุณภาพและความซื่อสัตย์ และเรามุ่งมั่นที่จะหารือเกี่ยวกับทางออกของการจัดการที่ก่อให้เกิดการพัฒนา แต่จะเห็นได้อย่างหนึ่งว่า ผู้ให้บริการการศึกษาแบบฉ้อโกงนั้น ไม่ได้อยู่ในภาคมหาวิทยาลัย"

 นอกจากความกังวลต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยและผู้ให้บริการการศึกษาอื่นๆ หยิบยกขึ้นมา อีกประเด็นหนึ่งที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันคือ คือผลกระทบที่ร่างกฎหมายนี้อาจมีต่อสถานะทางการเงินของมหาวิทยาลัย

นักศึกษาต่างชาติที่ชำระค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนในมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย และเป็นแหล่งรายได้หลักแหล่งเดียวสำหรับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง นอกเหนือไปจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

 มหาวิทยาลัยหลายแห่งกล่าวว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากการปฏิเสธวีซ่านักเรียนในอัตราที่สูงเนื่องมาจากคำสั่ง107 ของรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ส่วนภูมิภาคออสเตรเลีย ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ พบว่ารายได้ของมหาวิทยาลัยเหล่านี้ลดลงอย่างมากตั้งแต่ช่วงโควิดเป็นต้นมา


คุณ ลุค ซีฮี กล่าวว่าการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาติจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวม

"ผลกระทบของการมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในออสเตรเลียน้อยลงประมาณ 60,000 คนถือเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์ การลดลงของนักเรียนต่างชาติยังจะทำให้ภาคมหาวิทยาลัยต้องลดตำแหน่งงานไปมากกว่า 14,000 ตำแหน่ง ยังไม่ต้องพูดถึงผลกระทบต่อเนื่องสำหรับ ธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องพึ่งพานักศึกษาต่างชาติ"

อย่างไรก็ตาม สำหรับนักศึกษาต่างชาติจำนวนมาก ออสเตรเลียมีความได้เปรียบด้านการศึกษา

นักศึกษาที่มหาวิทยาลัย Curtin อย่างคุณ ฮูไฟซา นาวัส จากบังคลาเทศ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านั้นเขาคิดว่าจะไปเรียนต่อที่แคนาดา แต่สุดท้ายก็เลือกออสเตรเลียด้วยเหตุผลหลายประการ เขาเปิดเผยว่า
เหตุผลที่เลือกออสเตรเลียเพราะครองชีพทีนี่ถูกกว่า ได้เรทค่าจ้างที่ดีกว่าแคนาดา สภาพอากาศที่ดีกว่า เที่ยวบินก็ถูกกว่าด้วย
คุณ ฮูไฟซา นาวัส ชาวจากบังคลาเทศ นักศึกษาที่มหาวิทยาลัย Curtin

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand