Settlement Guide: สถานการณ์วีซ่าคู่ครองช่วงวิกฤตไวรัส

Partner & Prospective Marriage Visas

Source: AAP

มาตรการจำกัดห้ามการเดินทาง และการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้การประมวลเอกสารสำหรับผู้ขอวีซ่าคู่ครอง (Partner Visa) มีความล่าช้าเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากสถาบันด้านการอพยพย้ายถิ่นแห่งออสเตรเลีย พบว่า เมื่อปีงบประมาณที่ผ่านมา มีวีซ่าคู่ครองน้อยกว่าครึ่งจากทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติ


คุณแมกกี แทฟฟี (Maggie Taffie)  หัวหน้าทนายความ และเจ้าหน้าที่ด้านการอพยพย้ายถิ่น ที่สำนักงานทนายความด้านการอพยพย้ายถิ่น AHWC กล่าวว่า เวลาในการประมวลเอกสารสำหรับวีซ่าคู่ครองที่ยื่นขอจากนอกออสเตรเลีย (Offshore Partner Visa Subclass 309) มีความล่าช้าอย่างชัดเจน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เวลารอผลลัพธ์แบบคำร้องเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาโดยประมาณที่ 18 เดือน

การประมวลผลเอกสารนั้นใช้เวลานานมากอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด ตั้งแต่มีการแพร่ระบาด มันแทบจะเห็นได้ว่ากระบวนต่าง ๆ นั้นแทบจะหยุดชะงัก" คุณแทฟฟีกล่าว

"หากคุณไปที่เว็บไซต์ตรวจคนเข้าเมือง ก็จะเห็นว่าวีซ่าคู่ครองแบบยื่นจากนอกออสเตรเลียนั้น จะใช้เวลาในการประมวลเอกสารที่ระหว่าง 21-28 เดือน แต่จากประสบการณ์ของเราแล้ว มีหลายกรณีใช้เวลานานกว่านั้น

คุณจอห์น ฮูริแกน (John Hourigan) ผู้อำนวยการระดับชาติ สถาบันการอพยพย้ายถิ่นฐานออสเตรเลีย กล่าวว่า จำนวนของการอนุมัติวีซ่าคู่ครองในปีงบประมาณนี้ คิดเป็นเพียงเกือบครึ่งหนึ่งของแบบคำร้องวีซ่าชนิดนี้ทั้งหมดที่ยังคงรอการพิจารณา

"รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองได้เริ่มขั้นตอนเหล่านั้นแล้วในปีงบประมาณนี้ มีการพิจารณาอนุมัติวีซ่าคู่ครองประมาณ 40,000 ฉบับในขั้นแรก ดังนั้น หากแบบคำร้องที่ยังคงรอการพิจารณาอยู่ที่ประมาณ 85,000 ฉบับ และมีการประมวลเอกสารไปแล้วเพียง 40,000 ฉบับ นั่นหมายความว่า คุณจะต้องรอการประมวลเอกสารที่อยู่ในคิวรอพิจารณาอยู่แล้วนานกว่า 2 ปี" คุณฮูริแกนกล่าว

ขณะที่คุณแทฟฟี กล่าวว่า ความ ไม่เสมอต้นเสมอปลาย และการขาดความโปร่งใสของผลลัพธ์วีซ่า ได้สร้างความวิตกกังวลและความตึงเครียดให้กับบรรดาลูกค้าของเธอ ที่ไม่สามารถไปเยี่ยมคู่ครองที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียหรือในต่างประเทศได้ ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา

"เรากำลังพบเจอกับลูกค้าที่มีความรู้สึกสิ้นหวัง พวกเขารู้สึกแปลกแยก บางคนรู้สึกสิ้นหวังในด้านการเงิน เนื่องจากบางส่วนเป็นคนที่อาจมีลูกด้วย มีผู้ยื่นขอวีซ่าบางคนที่แสดงความกังวลไม่น้อยในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว เนื่องจากพวกเขาอาจกำลังจะมีอายุมากขึ้น" คุณแทฟฟีกล่าว

"นอกจากนี้ เรายังพบผู้ที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต เนื่องจากพวกเขาไม่รู้เลยว่า การรอคอยนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด

จากข้อมูลของคุณฮูริแกน ยังมีความเป็นไปได้สำหรับผู้ยื่นขอวีซ่าคู่ครองจากต่างประเทศ ในการเดินทางเข้ามายังออสเตรเลีย โดยพวกเขาสามารถยื่นขอวีซ่าผู้มาเยี่ยม (Visitor Visa) โดยขอความยินยอมจากคณะกรรมาธิการกองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย เพื่อเดินทางมาในฐานะคู่ครองของพลเมืองหรือผู้อาศัยถาวร

"ปัญหานั้นเริ่มเกิดขึ้นในกรณีของผู้ที่มีความสัมพันธ์เชิงพฤตินัย (de facto relationship) โดยคณะกรรมาธิการกองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย กำลังอนุมัติวีซ่าให้กับผู้ที่ยื่นหลักฐานทางเอกสารเป็นจำนวนมาก เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ในเชิงพฤตินัย" คุณฮูริแกนกล่าว

"ผู้ที่เดินทางไปกลับออสเตรเลียในช่วงเวลา 1-3 ปี แน่นอนว่าเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าพวกเขามีความเชื่อมโยงกับออสเตรเลียและกับคู่ครองที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียด้วย และสำหรับผู้ที่ไม่เคยเดินทางมาออสเตรเลียเลย ก็จะมีเพียงเอกสารที่พวกเขามีเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องมือยืนยัน"

ทั้งคุณฮูริแกน และคุณแทฟฟี กล่าวว่า สิ่งที่พวกเขาปฏิบัติเป็นประจำ นั่นคือการสังเกตการณ์การอนุมัติให้ผู้ถือวีซ่าคู่ครองและคู่หมั่น (Prospective Marriage Visa) สามารถเดินทางได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

"ถึงแม้ว่าจะได้รับอนุมัติแล้วผู้ที่ได้รับการอนุมัติวีซ่าคู่ครองและคู่หมั้นกำลังเริ่มตื่นตระหนก เนื่องจากพวกเขายังคงต้องขอยกเว้นมาตรการจำกัดห้ามการเดินทาง แม้พวกเขาจะได้รับวีซ่า และมีคู่ครองที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย การงดเว้นมาตรการจำกัดการเดินทางนั้นก็ยังไม่เป็นไปอย่างง่ายดาย ขณะที่บางส่วนนั้นอยู่ในสถานการณ์ที่พวกเขาเหลือเวลาเพียง​ 9 เดือน ในการเดินทางเข้ามายังออสเตรเลีย ไม่เช่นนั้น วีซ่าคู่ครองหรือคู่หมั้นที่พวกเขาถืออยู่จะหมดอายุ เราคาดว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นกับผู้คนเป็นจำนวนมาก" คุณแทฟฟีกล่าว

ขณะที่คุณแทฟฟีแสดงความกังวลว่า ผู้ที่ได้รับวีซ่าคู่หมั้นจะต้องเริ่มกระบวนการยื่นขอวีซ่าใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง หลังมีการยกเลิกมาตรการจำกัดการเดินทาง แต่ในขณะเดียวกัน คุณฮูริแกนมองว่า สถานการณ์จะเป็นไปในแง่บวกมากกว่า

"สำหรับผู้ที่วีซ่าหมดอายุแล้ว เราพูดถึงกรณีก่อนมาตรการห้ามเดินทางจะถูกยกเลิก พวกเขาเพียงต้องไปติดต่อกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวพิจารณาหลักฐานเกี่ยวกับวีซ่าใหม่อีกครั้ง เราไม่ทราบแน่ชัดว่ากระบวนการเหล่านี้จะมีอะไรบ้าง แต่ผมคิดว่าส่วนมากจะเป็นเพียงแค่การออกวีซ่าให้ใหม่ แต่ในบางกรณี พวกเขาอาจต้องส่งเอกสารยืนยันการยื่นขอกำหนดการแต่งงานใหม่อีกครั้งคุณฮูริแกนกล่าว

นอกจากนี้ คุณฮูริแกนกล่าวอีกว่า การยื่นขอวีซ่าให้ได้รับการอนุมัตินั้น ขึ้นอยู่กับว่า คุณเตรียมเอกสารเพื่อแสดงหลักฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ได้ดีแค่ไหน 

"สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาเอกสารและการสื่อสารที่มีความต่อเนื่อง ในช่วงเวลาที่คู่ครองยังไม่ได้มาอยู่ด้วยกัน พวกเขาต้องการที่จะพบเห็นธุรกรรมทางการเงินระหว่างคู่ครอง แต่ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากฝ่ายเดียวคือการที่คู่ครองชาวออสเตรเลียส่งเงินให้กับคู่ครองอีกฝ่ายในต่างประเทศ​ การมีที่พักอาศัยร่วมกัน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของเอกสารที่แสดงว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขามีต่อกันเช่นไร" นายฮูริแกนกล่าว

"ในคู่ครองบางกรณีอาจมีเอกสารเป็นจำนวนมาก บางคนไม่มีเลย และบางคนก็อาจมีไม่มาก พวกเขาต้องพยายามอย่างยากลำบากในการพิสูจน์ความสัมพันธ์" 

สำหรับคุณดริวนั้น เขาแนะนำว่า ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าคู่ครองนั้น ควรทำทุกสิ่งให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น

"ขอคำแนะนำด้านกฎหมายทำให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้เวลากับมัน และเตรียมตัวให้พร้อม มันอาจมีราคาไม่ถึง $7,000 ดอลลาร์ และมันก็อาจมีราคามากถึง $30,000 – $35,000 ดอลลาร์ ในระหว่างกระบวนการยื่นขอ มันอาจเป็นบริการที่มีราคาสูง" คุณดริวกล่าว

จากข้อมูลของคุณแทฟฟี ระบุว่า หน่วยงานมหาดไทยของออสเตรเลีย ไม่ได้ให้คำตอบในกรณีผู้ยื่นขอวีซ่าคู่ครองที่ได้รับการแจ้งเวลาที่ต้องใช้ในการประมวลเอกสาร

"ในขณะนี้หากเวลาในการประมวลเอกสารที่คุณได้รับแจ้งไว้อยู่ที่ 21-28 เดือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่ตอบคำถามใด ๆ ก่อนช่วงเวลาสิ้นสุดการประมวลเอกสารที่แจ้งไว้ที่ 28 เดือน​" คุณแทฟฟีกล่าว

"ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องยากสำหรับลูกค้าของเรา และสำหรับเราเอง ที่จะรู้อย่างแน่ชัดว่า เอกสารที่ยื่นขอไปอยู่ในขั้นตอนไหน เนื่องจากเราไม่ทราบข้อมูลใด ๆ จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง" 


ทั้งคุณแทฟฟี และคุณฮูริแกน แนะนำว่า สิ่งที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือการส่งหลักฐานสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยคู่ครองควรที่จะอีเมลหากัน หรือใช้งาน Skype, Facebook Messenger, Whatsapp, Viber หรือแอปพลิเคชันส่งข้อความใด ๆ ก็ตาม เพื่อบันทึกประวัติในการสื่อสารของทั้งสองฝ่าย

ความคิดเห็นต่าง ๆ ในรายงานนี้ เป็นเพียงคำแนะนำทั่วไปเท่านั้น และอาจไม่มีผลกับทุกกรณี หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะวีซ่า โปรดขอคำแนะนำทางกฎหมายโดยเร็วที่สุด


 

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand