รัฐวิกตอเรียไฟเขียวโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อสนามบินนครเมลเบิร์น

The new line will link Melbourne Airport to the CBD (Supplied).jpg

รัฐบาลรัฐวิกตอเรียอนุมัติโครงการสร้างทางเชื่อมทางรถไฟระหว่างสนามบินเมลเบิร์นกับสถานีต่างๆใน C-B-D

หลังจากความล่าช้าในกระบวนการเจรจาเรื่องโครงการอัพเกรดสนามบิน เมลเบิร์นมานานหลายปี ขณะนี้รัฐบาลรัฐวิกตอเรียเปิดไฟเขียวในโครงการสร้างทางเชื่อมทางรถไฟระหว่างสนามบินเมลเบิร์นกับสถานีต่างๆใน C-B-D


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน


หลังจากความล่าช้าในกระบวนการเจรจาเรื่องโครงการอัพเกรดสนามบิน เมลเบิร์น ซึ่งเป็นสนามบิน ที่พลุกพล่านมากที่สุดแห่งหนึ่งของออสเตรเลียมานานหลายปี ขณะนี้โครงการดังกล่าวดูเหมือนจะเข้าใกล้ความจริงเข้ามาอีกก้าวหนึ่ง เมื่่อรัฐบาล รัฐวิกตอเรียเปิดไฟเขียวในโครงการสร้างทางเชื่อมทางรถไฟระหว่างสนามบินเมลเบิร์นกับสถานีต่างๆใน C-B-D

สนามบินเมลเบิร์นเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 1970 ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่อำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางต่างประเทศอย่างมากในยุคนั้น

อย่างไรก็ตาม นักเดินทางที่มาถึงสนามบินทูลลามารีนบ่อยครั้ง จะรู้ดีว่าตัวเลือกในการเดินทางต่อไปในใจกลางเมืองที่มีระยะทาง 20 กิโลเมตรนั้นมีจำกัด

ซึ่งในขณะนี้โครงการที่จะแก้ปัญหานี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อรัฐบาลรัฐวิกตอเรียอนุมัติไฟเขียวในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างสนามบินสู่ใจกลางนครเมลเบิร์น

MELBOURNE AIRPORT
ขณะนี้สนามบินเมลเบิร์นมีทางเลือกจำกัดในการเดินทางไปในใจกลางเมือง Source: AAP / CON CHRONIS/AAPIMAGE

โครงการดังกล่าวหวังว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้โดยสารเกือบ 100,000 คนที่เดินทางมายังสนามบินเมลเบิร์นในแต่ละวัน

นอกจากนี้ยังจะช่วยสร้างงานกว่า 51,000 ตำแหน่ง และคาดว่าจะช่วยหมุนเวียนเม็ดเงินกว่า 5.9 พันล้านดอลลาร์ ในระบบเศรษฐกิจของรัฐวิกตอเรียในแต่ละปี เมื่อการสร้างรันเวย์แห่งที่ 3 เสร็จสิ้น ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลรัฐวิกตอเรียรอการการอนุมัติจากรัฐบาลกลางในเรื่องดังกล่าวอยู่

ประธานฝ่ายบริหารของสนามบินเมลเบิร์น ลอรี อาร์กัส ชี้ว่าแม้การสร้างสถานีใต้ดินจะมีผลดีในระยะยาวแต่การมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อในอนาคตอันใกล้สำคัญมากกว่า คุณ อาร์กัส เปิดเผยว่า

"เราเชื่อว่าในอนาคต สถานีรถไฟใต้ดินจะอำนวยความสะดวกได้ดีกว่า สำหรับเทอร์มินัลกลาง แต่ความจริงก็คือเราอาจทำตามแผนการดังกล่าวและพบว่าอีกปี หรือ สองปีข้างหน้า เราก็ยังไม่มีรางรถไฟเชื่อมต่อไปยัง CBD"
มุมมองของเรามีรถไฟไม่ว่าแบบใดก็ ดีกว่าไม่มีเลย ระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อกับสนามบินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชุมชนและพนักงานของเรา
ประธานฝ่ายบริหารของสนามบินเมลเบิร์น ลอรี อาร์กัส


โครงการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อสนามบินนี้ได้หยุดชะงักมาหลายปี จนกระทั่งในปีงบประมาณปีนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวการคลังของรัฐวิกตอเรีย ทิม พาลลาส ถูกกดดันให้พิจาณาการสร้าง

ทางรถไฟเชื่อมไปยังสนามบินรองของรัฐวิกตอเรีย นั่นคือ สนามบินอาวาลอน ในประเทศจีลอง แทน

ด้านมุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย จาซินตา อัลลัน กล่าวว่าทางผู้บริหารสนามบินเพิ่งเปลี่ยนจุดยืนหนึ่งวันก่อนการประกาศในวันจันทร์ (8 กรกฎาคม) มุขมนตรี อัลแลน ชี้ว่า

"ผู้บริหารสนามบิน เปลี่ยนใจเพียงแค่หนึ่งวันก่อนหน้าการประกาศของรัฐบาล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขา จะลบล้างความล่าช้าไปเกือบ 4 ปีจากการยืนกรานจะสร้างรถไฟใต้ดิน"

ผู้บริหารสนามบิน เมลเบิร์นลอรี อาร์กัส กล่าวว่าการประนีประนอมอาจนำไปสู่การดำเนินการโครงการนี้ให้แล้วเสร็จเร็วกกว่าที่รัฐบาลวิกตอเรียคาดการณ์ไว้ในเกือบ10 ปีข้างหน้า คุณ อาร์กัส อธิบายว่า

"ปัญหาประการหนึ่งคือการเจรจาประนีประนอมระหว่างกัน และเมื่อตอนนี้เราเต็มใจที่จะเปลี่ยนจุดยืน ซึ่งเราหวังว่าโครงการนี้จะเสร็จสิ้นก่อนการคาดการณ์ไว้ เราอยากเห็นรางรถไฟเสร็จสิ้นก่อนที่รันเวย์แห่งที่3 จะเสร็จสิ้นราวๆปี 2030"

ความล่าช้าของโครงการเส้นทางรถไฟดังกล่าวทำให้เมลเบิร์นยังคงล้าหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับสนามบินในนครหลวงหลักๆ ของออสเตรเลีย เช่น

การก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมสนามบินของนครซิดนีย์เริ่มต้นในปี 1995 และแล้วเสร็จทันโอลิมปิกปี 2000
เส้นทางรถไฟไปยังสนามบินของบริสเบนใช้เวลาเพียงสองปีในการสร้างระหว่างปี 1999 ถึง 2001

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขผู้โดยสารล่าสุดของสนามบินเมลเบิร์น ก็ยิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในโครงการนี้
เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้สนามบินในจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในแต่ละปี ซึ่งคิดเป็นจำนวนกว่า 76 ล้านคนภายในปี 2042


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  




Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand