แรงงานต่างชาติเผยถูกเอาเปรียบมากขึ้นช่วงโควิด

Underpaid worker Iris Yao

Underpaid worker Iris Yao Source: SBS

แรงงานต่างชาติหลายคนในออสเตรเลียได้รับค่าจ้างน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าจ้างขั้นต่ำ และสถานการณ์โควิดยิ่งทำให้ปัญหาเรื่องการจ่ายค่าจ้างผิดกฎหมายยิ่งเลวร้ายมากขึ้น สหภาพแรงงานฯ พบประกาศโฆษณารับสมัครงานนับพันที่จ่ายค่าจ้างผิดกฎหมายในอินเทอร์เน็ตในภาษาต่างๆ


LISTEN TO
Migrant wage theft image

แรงงานต่างชาติเผยถูกเอาเปรียบมากขึ้นช่วงโควิด

SBS Thai

17/12/202006:33
คุณ ไอริส โหยว นักศึกษาจากประเทศจีนเปิดเผยว่าเธอเคยมีประสบการณ์ถูกนายจ้างเอาเปรียบ

“ฉันเคยทำงานที่ร้านอาหารจีนแห่งหนึ่ง และฉันได้รับค่าจ้างแค่ 7 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และฉันต้องทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการล้างครัว การรับรายการอาหารและทำหน้าที่อื่นๆ ด้วยในเวลาเดียวกัน”

เธอชี้ว่าปัญหาการเอาเปรียบค่าจ้างนี้เป็นปัญหาสำคัญในหมู่นักเรียนต่างชาติผู้ซึ่งไม่ได้มีครอบครัวที่มีฐานะพอที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตในต่างประเทศขณะเรียนหนังสือได้ 

“อย่างที่ทราบว่านครซิดนีย์เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงมากและฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักเรียนต่างชาติส่วนใหญ่ที่ต้องทราบเกี่ยวกับค่าแรงขึ้นต่ำ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถปกป้องตัวเองได้” 

ส่วน คุณ ลีออง วัย 38 ปีจากจีนพบประกาศโฆษณารับสมัครงานในร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันเจ้าหนึ่ง เขาเล่าว่าเขาได้รับค่าจ้างเป็นเงินสด 13 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงในร้านอาหารแห่งนั้น เขามีความกังวลใจมากเพราะเพิ่งย้ายมาและเขาไม่มีที่ไป
“ผมหวังว่ามันจะมีกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างเหล่านั้นไม่สามารถเอารัดเอาเปรียบคนงานจากจีนและประเทศอื่นๆได้ ”
ด้านนักวิจัยจากสหภาพแรงงาน ยูเนียนส์ นิวเซาท์เวลส์  ได้ทำการสำรวจโฆษณาประกาศรับสมัครงานทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเป้าหมายการจ้างงานผู้ย้ายถิ่นโดยเฉพาะพบว่าโฆษณารับสมัครงานกว่า 3,000 ชิ้นเป็นการประกาศรับสมัครงานในภาษาจีน เกาหลี เวียดนาม เนปาล สเปนและภาษาโปรตุเกส  

พวกเขาพบโฆษณารับสมัครงานหนึ่งชิ้นที่เขียนเป็นภาษาเวียดนามมองหาพนักงานทำเล็บที่เสนออัตราค่าจ้างเพียงแค่ 10 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงเท่านั้น ร้อยละ 90 ของจำนวนโฆษณารับสมัครงานทั้งหมดเสนอค่าจ้างในอัตราที่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

โดยที่ร้อยละ 97 งานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง รองลงมาคืองานทำความสะอาด งานในร้านเสริมสวย งานร้านอาหารฟ้าสต์ฟู้ด และร้านขายปลีก งานในอุตสาหกรรมการบริการ งานตำแหน่งเสมียน และงานเกี่ยวกับการขนส่ง
นาย มาร์ค มอเรย์ เลขาธิการสหภาพแรงงาน ยูเนียนส์ นิวเซาท์เวลส์ เปิดเผยว่าสถานการณ์การเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างเพิ่มมากขึ้นในระหว่างวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา เขากล่าวว่า

 “แรงงานต่างชาติที่ถือวีซ่าประเภทต่างๆ  ในออสเตรเลียไม่ได้รับความช่วยเหลือทั้งจาก JobSeeker และ JobKeeper ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เองผลักไสให้พวกเขาต้องทำงานอะไรก็ได้ที่ทำให้พวกเขามีชีวิตรอด มันมีการเอารัดเอาเปรียบในระดับของอุตสาหกรรมซึ่งเราต้องการให้ออสเตรเลียมีกฎหมายใหม่ที่เข้มแข็งเพื่อหยุดยั้งการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้นนี้ และบรรดาลูกจ้างเหล่านี้หลายรายที่ยังทำงานและถูกเอาเปรียบต่อไปโดยไม่รับการชดเชย”  

ด้านรัฐบาลสหพันธรัฐเปิดเผยว่ากฎหมายของกระทรวงแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่จะกำหนดโทษให้นายจ้างที่เอาเปรียบแรงงานจะมีบทลงโทษถูกจำคุกเป็นเวลา 4 ปีและมีการจ่ายค่าปรับถึง 5.5 ล้านดอลลาร์ ส่วนคณะกรรมการแฟร์เวิร์ก กล่าวว่าหน่วยงานเป็นโจทย์ให้แรงงานต่างชาติในศาลต่างๆ และในปีที่ผ่านมาก็มีการจ่ายค่าชดเชยจากนายจ้างกว่า 1.7 ล้านดอลลาร์

นาย ปีเตอร์ สตรอง ประธานกรรมการบริหารของสภาองค์กรธุรกิจขนาดย่อมแห่งออสเตรเลียให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่านายจ้างที่ดีก็มีมี ดังนั้นอย่างเพิ่งเหมารวม

 “นายจ้างที่มีภูมิหลังมาจากชุมชนหลากเชื้อชาติในออสเตรเลียจำนวนมากเป็นนายจ้างที่ดี พวกเขาสร้างทักษะให้ลูกจ้าง พวกเขาจ่ายค่าจ้างอย่างถูกต้อง  ดังนั้นอย่าเพิ่งเหมารวมว่านายจ้างเหล่านี้เป็นคนไม่ดีไปทั้งหมด มันมีบางส่วนที่ทำเรื่องไม่ถูกต้องดังนั้นเราควรที่จะให้ความรู้แก่พวกเขาเพื่อที่พวกเขาจะได้รับค่าจ้างที่ถูกต้อง”

คุณสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสล่าสุดในภาษาของคุณได้ที่ sbs.com.au/coronavirus

 


 

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

 

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


 

 

  

 

 

 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand