แนะนำงานผู้ช่วยหมอดมยา ที่รายได้ดีและไม่ยากเกินเอื้อม

Tata Web Cover.png

คุณ ชนกพร จียาศักดิ์ หรือ ตาต้า ทำงานเป็นผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ (Anaesthetic Technician) ที่โรงพยาบาล ฟิโอนา สแตนลีย์ ในนครเพิร์ท Source: Supplied / Chanokporn Jeeyasak

คุณ ชนกพร จียาศักดิ์ (ตาต้า) ผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ชวนคนไทย ที่ชอบความท้าทาย ชอบใช้ไหวหริบ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และเป็นคนใส่ใจในรายละเอียด มาทำงานเป็นผู้ช่วยหมอดมยาในออสเตรเลีย ซึ่งเธอบอกว่ารายได้ดี และมีโอกาสเติบโตในสายงานอย่างต่อเนื่อง


คลิก ▶ ด้านบนเพื่อฟังสัมภาษณ์

คุณ ชนกพร จียาศักดิ์ หรือ ตาต้า ทำงานเป็นผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ (Anaesthetic Technician) ที่โรงพยาบาล ฟิโอนา สแตนลีย์ (Fiona Stanley Hospital) ในนครเพิร์ท หลังจากที่ได้ทำงานในตำแหน่งเดียวกันที่โรงพยาบาล โรยัล พรินซ์ อัลเฟรด ในซิดนีย์ เธอเล่าถึงหน้าที่ของผู้ช่วยหมอดมยาว่ามีความแตกต่างกันในแต่ละวัน

“ก่อนอื่นเมื่อไปถึง เราต้องเช็คก่อนว่าเราอยู่ห้อง (ห้องผ่าตัด) ห้องไหน และเป็นการผ่าตัดประเภทไหน จากนั้นเราก็ไปที่ห้องนั้นเพื่อไปเช็คเครื่องดมยาสลบว่าเครื่องผ่านไหม และเตรียมอุปกรณ์ดมยาต่าง ๆ เช่นเราต้องเซ็ตอัพน้ำเกลือ เตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับทางเดินหายใจว่าเป็นท่อช่วยหายใจประเภทไหน คุณหมอที่เราจะร่วมงานด้วยคือใคร เพราะแต่ละคนจะมี preference ที่ไม่เหมือนกัน และเราก็จะเตรียมเรื่องเข็มต่าง ๆ เช่น หมอคนนี้จะต้องการใส่เข็ม arterial line (การใส่สายสวนหลอดเหลืองแดง) หรือเปล่า หรือมีการบล็อกหลังหรือเปล่า เราต้องเตรียมยาชาหรือเปล่า โดยต้องเตรียมให้ครบสำหรับเคสที่เราจะทำในวันนั้น”
Tata WA 1.jpeg
คุณตาต้า ขณะเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับให้วิสัญญีแพทย์ใช้ในการผ่าตัด Source: Supplied / Chanokporn Jeeyasak
Tata WA 4.jpeg
อุปกรณ์สำหรับการนำยาชาเข้าสู่ร่างกายที่ต้องเตรียมให้คนไข้ในการผ่าตัด Source: Supplied / Chanokporn Jeeyasak
คุณตาต้าอธิบายถึงหลักสูตรที่เรียนจบแล้วจะสามารถทำงานเป็นผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ หรือผู้ช่วยหมอดมยา ในบางรัฐของออสเตรเลียได้

“จะเป็นคอร์ส Diploma of Anaesthetic Technology and Practice HLT 57921 หลักสูตรสองปี มีการฝึกงานสามครั้ง ระหว่างที่เราเรียนไปแล้วครึ่งทาง ตอนที่เราฝึกงานแห่งแรกและแห่งที่สอง ถ้าโรงพยาบาลเขาเล็งเห็นว่าเรามีความสามารถ แล้วเขาสนใจ เขาอาจจะติดต่อเลยว่า หลังจากที่คุณจบแล้ว ก็อยากให้คุณมาทำงานในสายนี้เลย ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตกลงกับเขาว่าเราจะทำงานพาร์ทไทม์หรือฟูลไทม์ และหลังจากที่เราได้ประกาศนียบัตรเรียบร้อยแล้ว รายได้ก็จะเพิ่มจากที่เป็นเทรนนี (trainee) อยู่ เท่าที่ทราบถ้าเป็นที่เวสเทิร์นออสเตรเลีย ควีนส์แลนด์ หรือนิวเซาท์เวลส์ สามารถเรียนคอร์สนี้ ที่เทฟ (TAFE) ได้ค่ะ” คุณตาต้า กล่าว

เธอเล่าว่า ในการทำงานแต่ละวัน สิ่งที่สนุกและท้าทาย คือการได้ใช้ไหวหริบในการรับมือสถานการณ์ ซึ่งทำให้เธอได้เรียนรู้ในหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวกับงาน

“ในแต่ละวันที่เราเจอแต่ละเคส ถึงแม้จะเป็นเคสแบบเดิม แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจไม่เหมือนกัน เช่น จู่ ๆ คนไข้มีอาการภาวะแทรกซ้อน หรือมีอาการแพ้ยาขึ้นมา เราจะรับมืออย่างไรกับสถานการณ์นั้น เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เราก็จะมาอภิปรายกันว่าเกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้นอีก ในครั้งหน้าเราจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร เพราะฉะนั้น ในการทำงานนี้ เราจึงจะต้องมีการเสริมความรู้อย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ ด้านค่ะ” คุณตาต้า กล่าว
Tata WA 6.jpeg
เข็มแทงน้ำเกลือต่าง ๆ ตามขนาดใหญ่/เล็กของเข็ม Source: Supplied / Chanokporn Jeeyasak
Tata Equipment Collage 1.png
รูปหน้ากากดมยาสลบแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีหลายขนาดตามขนาดใบหน้าของผู้ป่วย Source: Supplied / Chanokporn Jeeyasak
สำหรับด้านรายได้แล้ว ค่าตอบแทนสำหรับงานผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ในออสเตรเลียก็อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ

“ตอนนี้ งานนี้ที่ WA ถ้าเป็นเรทตั้งแต่ trainee เป็นต้นมาจะอยู่ที่ 70,000 ดอลลาร์ และจะเพิ่มขึ้นไปตามระดับ แต่ range จะอยู่ที่ 70,000-90,000 ดอลลาร์ และยังมี overtime และเรท on call ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนที่เป็นฐานของเราด้วยค่ะ”

“ก็อยากฝากไว้ให้คนไทยในทำงานสายนี้กันเยอะ ๆ นะคะ ถ้าได้เข้ามาและพอเราได้ดูแลช่วยเหลือผู้อื่น เราก็จะรู้สึกว่า เราได้อยู่ประเทศนี้และเราได้ทำงานอย่างที่ใจรัก แล้วงานเราก็จะออกมาอย่างมีคุณภาพค่ะ” คุณตาต้า กล่าวทิ้งท้าย
Tata WA 2.jpeg
คุณตาต้ากล่าวว่า งานผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์นั้น ท้าทาย รายได้ดี และทำให้เธอได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ Source: Supplied / Chanokporn Jeeyasak
ก่อนจะลงเรียนการเรียนเป็นผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ในออสเตรเลียได้ต้องมีทักษะอะไร ภาษาอังกฤษต้องดีระดับไหน วิชาที่เรียนมีอะไรบ้าง ในการทำงานจริงแต่ละวันยากแค่ไหน มีความท้าทายอย่างไร งานตำแหน่งนี้หาง่ายแค่ไหนในแต่ละรัฐในออสเตรเลีย ฟังรายละเอียดได้จากสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่นี่
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Tata Anaesthetic Technician WA image

แนะนำงานผู้ช่วยหมอดมยา ที่รายได้ดีและไม่ยากเกินเอื้อม

SBS Thai

07/12/202321:01
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand