เรื่องต้องรู้ถ้าจะก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านในออสเตรเลีย

12102022 Budding Architech Designer INTV.jpg

นัสรา แถมมี ผู้ช่วยสถาปนิก ที่บริษัท Architecture by Us ในเมลเบิร์น Credit: Nutsara Thaemmee

จะก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านในออสเตรเลียมีระเบียบกฎเกณฑ์อะไรที่ต้องคำนึงถึง มีความท้าทายอย่างไรในการก่อสร้างบ้านหลังโควิดเพิ่งซาลงได้ไม่นาน และการทำงานในบริษัทสถาปนิกในออสเตรเลียแตกต่างจากที่เมืองไทยอย่างไร คุณนัสรา แถมมี (เนล) อดีตสถาปนิกจากเมืองไทย ที่ขณะนี้เป็นผู้ช่วยสถาปนิก ของบริษัท Architecture by Us ในเมลเบิร์น มากว่า 6 ปี มีคำแนะนำ


ประเด็นสำคัญในพอดคาสต์
  • การขอใบอนุญาตจากเทศบาลสำหรับการก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านในออสเตรเลีย
  • กฎเกณฑ์การต่อเติมบ้านเก่าที่จัดเป็น heritage listed building
  • ความท้าทายในการก่อสร้างและต่อเติมบ้านในออสเตรเลียหลังโควิดซาลงได้ไม่นาน
  • ความแตกต่างการทำงานสถาปนิกในออสเตรเลียและที่เมืองไทย
  • ถ้าเรียนจบสถาปัตย์จากไทย แล้วอยากทำงานเป็นสถาปนิกในออสเตรเลียมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
คุณนัสรา แถมมี หรือเนล ผู้ช่วยสถาปนิก ที่ทำงานในเมลเบิร์นมากว่า 6 ปี โดยก้าวเข้าไปทำงานด้านนี้ที่นี่ตั้งแต่เดินทางมาด้วยวีซ่า Working Holiday หลังจากนั้นได้เรียนจนจบปริญญาโทด้าน Urban Design ที่ RMIT และกำลังอยู่ระหว่างเตรียมตัวสอบขอใบอนุญาตเป็นสถาปนิกอย่างเต็มตัวในออสเตรเลีย เธอเล่าว่าลูกค้าในออสเตรเลียที่มาใช้บริการสถาปนิกมีความแตกต่างจากลูกค้าที่เมืองไทย

“ลูกค้าที่นี่ที่มาจ้างสถาปนิก เขามีความเข้าใจในวิชาชีพอยู่แล้ว ว่าสถาปนิกทำหน้าที่อะไร แต่ขณะที่ในไทย ไม่ค่อยมีความเข้าใจสักเท่าไหร่ แต่คนที่นี่เขาเข้าใจว่า สถาปนิกคือคนที่ทำให้เขาได้ใบอนุญาตเพื่อสร้างบ้าน และคุณภาพชีวิตที่เขาจะได้ในบ้านคืออะไร เราออกแบบการใช้ชีวิตในบ้าน เราไม่ได้แค่สร้างบ้านเหมือนหมู่บ้านจัดสรร ที่ทุกคนเข้าไปอยู่ได้ แล้วไป adapt (ปรับ) ตัวเองให้เข้ากับบ้าน แต่อันนี้คือ เราสร้างบ้านเพื่อให้ adapt ให้เข้ากับผู้อยู่” คุณเนล นัสรา แถมมี กล่าว
นัสรา แถมมี 2
"เราออกแบบการใช้ชีวิตในบ้าน เราไม่ได้แค่สร้างบ้าน" นัสรา แถมมี กล่าวถึงวิชาชีพสถาปนิก Source: Supplied / Nutsara Thaemmee
เราออกแบบการใช้ชีวิตในบ้าน เราไม่ได้แค่สร้างบ้านเหมือนหมู่บ้านจัดสรร ที่คนเข้าไปอยู่ adapt ตัวเองให้เข้ากับบ้าน แต่เราสร้างบ้านเพื่อให้ adapt ให้เข้ากับผู้อยู่
นัสรา แถมมี
เธออธิบายต่อไปว่า โดยทั่วไปแล้วในการขออนุญาตเพื่อต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้านในออสเตรเลียนั้น ต้องมีการขออนุญาตจากเทศบาลที่บ้านตั้งอยู่ และต้องแจ้งให้เพื่อนบ้านทราบว่าบ้านที่ต้องการก่อสร้างหรือต่อเติมมีหน้าตาเป็นอย่างไร เพื่อให้เพื่อนบ้านยอมรับและไม่คัดค้าน โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

สิ่งที่เรากังวลมากที่สุดเวลาเราทำแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้างมี 2 อย่างคือ เรื่อง overlooking หน้าต่างของเราจะต้องไม่เห็น private open space ของเพื่อนบ้าน เรื่องที่สองคือ shadow เวลาแดดกระทบตึกของเรา มันจะเกิดเงา และเงาของตึกเรา จะต้องไม่ไปบัง private open space ของเพื่อนบ้านเป็นเวลากี่ชั่วโมงในแต่ละวัน ซึ่งเราจะต้องคำนวณเพราะมันเป็นสิทธิของเขาที่เขาจะต้องได้รับแดด และอีกอย่างคือถ้าผนังที่เราจะก่อสร้างสูงเกินบ้านเขา หรือสิ่งก่อสร้างที่เขาจะเห็นในอนาคตไม่สวยงาม เขาก็สามารถโต้แย้งได้” คุณเนลยกตัวอย่าง
นัสรา แถมมี 3
นัสรา แถมมี กำลังเตรียมตัวสอบขอใบอนุญาตเป็นสถาปนิกอย่างเต็มตัวในออสเตรเลีย Source: Supplied / Nutsara Thaemmee
เธอยังฝากถึงคนไทยคนอื่นๆ ที่อยากทำงานด้านสถาปนิกในออสเตรเลียอย่างเธอบ้าง ให้กล้าที่จะทำตามฝันของตัวเอง

“ก็ลองดูเลยค่ะ ไม่ต้องฟังใคร อยากทำอะไร เราก็ทำ ให้หาข้อมูลดูและมั่นใจในตัวเอง แล้วลองหางานทำ เอาตัวเองเข้ามาให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ค่ะ” คุณเนล นัสรา แถมมี กล่าว

กด ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กดฟังสัมภาษณ์
thai_051022_Thai Architect Assistant image

จะก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านในออสเตรเลียมีระเบียบกฎเกณฑ์อะไรที่ต้องคำนึงถึง การทำงานในบริษัทสถาปนิกในออสเตรเลียแตกต่างจากที่เมืองไทยอย่างไร คุณนัสรา แถมมี (เนล) ผู้ช่วยสถาปนิก ของบริษัท Architecture by Us ในเมลเบิร์น มีคำแนะนำ

SBS Thai

07/10/202219:58
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand