นักเรียนต่างชาติแห่มาออสฯ แต่พวกเขาทำงานหนักไปหรือไม่?

นานิฮาล สิงห์ ทำงานในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เมลเบิร์น

นานิฮาล สิงห์ ทำงานในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เมลเบิร์น Source: SBS / Sandra Fulloon

สถาบันการสอนในออสเตรเลียนับเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของนักศึกษาต่างชาติ อย่างไรก็ตามหลายคนต้องทำงานหลายแห่ง บ้างต้องส่งเงินกลับบ้าน


กด ▶ ด้านบนเพื่อฟังพอดคาสต์

คุณนันนิฮาล สิงห์ (Naunihal Singh) เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท เขาทำงานที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมลเบิร์นขณะที่ศึกษาอยู่ในออสเตรเลีย เขายอมรับว่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย

“ตั้งแต่ที่ผมทำงานในซุปเปอร์มาร์เก็ต ผมเห็นว่าราคาสินค้าสูงขึ้น และมันเริ่มกลายเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ ค่าน้ำมันแพงมาก ผมต้องจ่ายประมาณ 80 ดอลลาร์เพื่อเติมน้ำมันเต็มถัง นั่นเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายของผม ค่าใช้จ่ายที่แพงที่สุดคือค่าเช่าบ้าน จากนั้นคือค่าน้ำมันและค่าจับจ่ายใช้สอย”
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
Students flood back to uni campuses image

มหาวิทยาลัยคึกคักอีกครั้งหลังนักศึกษาต่างชาติทยอยกลับมา

SBS Thai

18/02/202208:34
คุณสิงห์เป็นหนึ่งในนักศึกษากว่าแสนคนจากอินเดียที่ลงทะเบียนเรียนในออสเตรเลีย และต้องทำงานหลายแห่งดังเช่นอีกหลายคน

“ตอนนี้ผมทำงานประมาณ 35 ชั่วโมงกว่าๆ  ช่วงหนึ่งผมเคยทำงานได้มากกว่า 40 ชั่วโมง แต่ต้องลดลงเพราะมันเหนื่อยเกินไป ผมต้องการความสมดุลระหว่างงานกับการใช้ชีวิต”

คุณสิงห์เดินทางมาจากเมืองไฮดราบัด (Hyderabad) ประเทศอินเดียตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านการปรึกษาเรื่องการฟื้นฟูที่มหาวิทยาลัย ลา โทรบ (La Trobe University) เป็นเวลา 2 ปี และเขากำลังทำงานในช่วงที่ไม่มีการจำกัดชั่วโมงทำงานอย่างคุ้มค่าที่สุด
ทุก 2 สัปดาห์ ผมมีรายได้ประมาณ 1,500 ดอลลาร์ ผมทำงานเพื่อจ่ายค่าเช่าเป็นส่วนใหญ่ ผมหาเลี้ยงตัวเองและไม่ได้พึ่งพาครอบครัวเรื่องเงิน
ผู้หญิงกำลังยืนรอในสนามบิน
ผู้หญิงกำลังยืนรอในสนามบิน Source: Getty / Getty Images
เรื่องภาระการเรียนและการทำงานเป็นสิ่งที่น่าวิตก คุณฟิล ฮันนีวูด (Phil Honeywood) ผู้บริหารสมาคมการศึกษาแห่งออสเตรเลีย (Education Association of Australia) กล่าวว่านักศึกษาส่วนมากทำงานประมาณ 3 หรือ 4 แห่ง ซึ่งอาจจะทบกับการศึกษาของพวกเขา

“เรามีนักศึกษาจำนวนมากที่มาจากอินเดีย เนปาล ศรีลังกา ที่ทำงานสามสี่แห่ง 140 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หลายคนตอนนี้กำลังเผชิญความกดดันด้านสุขภาพจิตจากครอบครัวที่บ้าน ที่บอกว่าหากคุณมีรายได้ด้วยการทำงานโดยไม่จำกัดชั่วโมง เป็นเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ขณะที่คุณเรียน คุณก็สามารถส่งเงินกลับบ้านได้”

เพื่อยื่นขอวีซ่านักเรียนในออสเตรเลีย ผู้สมัครต้องพิสูจน์ว่าสามารถเลี้ยงดูตนเองได้ แต่คุณฮันนีวูดกล่าวว่านักศึกษาบางคนหวังที่จะทำงานด้วย และต้องแบ่งเวลาระหว่างการเรียนแบบเต็มเวลากับการทำงานหลายแห่งซึ่งเป็นเรื่องเครียด นำไปสู่ความต้องการการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม

“ไม่มีนักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่มีคุณวุฒิเหมาะสมด้านพหุวัฒนธรรมในออสเตรเลีย หากนักศึกษาสามารถนัดพบนักจิตวิทยาที่มีคุณสมบัติตามกำหนดของออสเตรเลีย พวกเขามักเชื่อว่านักจิตวิทยาอาจไม่เข้าใจปัญหาเรื่องวัฒนธรรมบางประการ ปัญหาเรื่องเพศ ปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา พวกเขาต้องการใครบางคนที่เข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรมเฉพาะของพวกเขา ความคาดหวังทั้งหลายและมีวิธีที่ทำงานเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตเหล่านั้น”
ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2022 กระทรวงมหาดไทย (Department of Home Affairs) ระบุว่า 44,000 คำร้องขอวีซ่านักเรียนมาจากประเทศอินเดีย แซงหน้าประเทศจีนซึ่งมีเกือบ 39,000 คำร้อง

และจีนประกาศแบนการเรียนทางออนไลน์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้นักศึกษาจากจีนกว่า 40,000 คนต้องเดินทางกลับมาเรียนในสถาบันที่ออสเตรเลียเพื่อสำเร็จวุฒิการศึกษา
ขณะนี้ที่ออสเตรเลียไม่จำกัดชั่วโมงการทำงานกับนักศึกษาต่างชาติเป็นแรงจูงใจกับหลายคน ซึ่งคุณฮันนีวูดกล่าวว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนไปในไม่ช้า

“รัฐมนตรีแคลร์ โอนีล (Claire O'Neill)  ประกาศว่าจะลดชั่วโมงการทำงานให้เป็น 20 ชั่วโมงหรือประมาณนั้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีนี้ นั่นเป็นสิ่งที่ควรทำและเหมาะสมกับเวลา เพราะเรากังวลเรื่องแรงจูงใจของวัยรุ่นเหล่านี้บางคน พวกเขามาเรียนที่ออสเตรเลียจริงๆ หรือมีเหตุผลอื่นในการพยายามและเข้ามาในระบบเศรษฐกิจของเราเพื่อหาเงิน?”
สำหรับนักศึกษาต่างชาติหลายคน เป้าหมายคือการอยู่ในออสเตรเลียต่อไปและเป็นผู้พำนักถาวร (permanent resident) เพื่อทำงานหลังจบการศึกษา คุณสิงห์อธิบาย

“ผมมีพี่สาวสองคนและผมเป็นลูกชายคนเล็ก ดังนั้นมีเรื่องที่ว่าผมต้องเป็นคนหาเลี้ยงครอบครัว ผมมีแผนที่จะศึกษาปริญญาเอกหลังจากนี้ ผมไม่รู้ว่าผมจะทำงานและเรียนไปด้วยหรือเรียนเพียงอย่างเดียว ใช่ผมกำลังทำงานให้ได้มากเท่าที่ผมจะทำได้ในตอนนี้ ก่อนที่ข้อจำกัดเรื่องชั่วโมงจะกลับมา เพื่อที่ผมจะประหยัดเงิน”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand