ผลการวิจัยล่าสุดชี้นมเด็ก Toddler ขาดสารอาหารแถมน้ำตาลสูง

Bottle feeding

I thought back to my horrific manic episodes in my twenties. In my thirties, I have so much more to lose. Source: Digital Vision

ผลวิจัยล่าสุดพบว่านมและผลิตภัณฑ์อาหารของเด็กวัยหัดเดินไม่เพียงแต่จะมีปริมาณน้ำตาลสูงเท่านั้น แต่ยังมีราคาแพงเกินจริงและไม่มีสารอาหารที่สำคัญอย่างเพียงพอ องค์กรด้านสุขภาพต่างๆ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐออกกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว


LISTEN TO
TODDLER MILK image

ผลการวิจัยล่าสุดชี้นมเด็ก Toddler ขาดสารอาหารแถมน้ำตาลสูง

SBS Thai

05/11/202007:17
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดีกิน ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่าผลิตภัณฑ์นมของเดินวัยหัดเดินบางยี่ห้อในปริมาณเกือบหนึ่งถ้วยนั้นมีปริมาณน้ำตาลมากกว่านมสดธรรมดาถึง 8 กรัม

การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก VicHealth ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของคุณเจนนิเฟอร์ แมคแคน ซึ่งได้ชี้แจงว่านมของเด็กวัยหัดเดินนั้นแตกต่างจากนมผงของเด็กทารกซึ่งบุคลากรทางการแพทย์แนะนำให้เป็นนมที่ใช้แทนนมแม่

คุณ เจนนิเฟอร์ แมคแคน ซึ่งเป็นนักโภชนาการและเป็นนักศึกษาปริญญาเอก อธิบายว่าการรับประทานนมสำหรับเด็กวัยหัดเดินแค่เพียงปริมาณน้อยกว่า 1 ถ้วยต่อวัน จะทำให้ใน 1 ปีคุณจะได้รับปริมาณน้ำตาลถึง 3 กิโลกรัมเลยทีเดียว 

เธอกล่าวต่อไปว่าผลิตภัณฑ์นี้ใช้ช่องโหว่ของข้อบังคับใช้ทางการตลาด  และจากผลการศึกษาพบว่านมของเด็กวัยหัดเดินนั้นไม่จำเป็นต่อเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี ยิ่งไปกว่านั้นนมประเภทนี้ยังมีประโยชน์น้อยกว่านมวัวธรรมดา

"นมของเดินวัยหัดเดินนั้นเพิ่งมีมาในตลาดไม่ถึงช่วง 10 ปี  มันมีปริมาณน้ำตาลสูง มีโปรตีน และแคลเซียมน้อยกว่านมธรรมดาด้วยซ้ำ จริงๆแล้วเด็กในวัยนี้ควรจะรับประทานอาหารปกติที่ครอบครัวทานในปริมาณที่เหมาะกับเด็ก"

คุณ นามา โซฮา จากนครเมลเบิร์นมีบุตร 4 คน ซึ่งในสี่คนนี้มี 2 คนที่อยู่ในวัยหัดเดิน เธอให้ลูกคนเล็กดื่มนมสำหรับเด็กทารกแทนที่จะดื่มนมวัวเพราะว่าเหตุผลทางวัฒนธรรม 

"เรามาจากประเทศอิสราเอลและในแถบเมดิเตอเรเนียนนั้นเราไม่ค่อยดื่มนมเป็นแก้วๆ เราใช้นมในการทำอาหารหรือในซีเรียลหรือในการทำขนม แต่การดื่มนมเป็นแก้วนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราคุ้นเคยดังนั้นเราจึงไม่เคยหัดให้ลูกดื่มนม และมันก้แค่ 6 เดือนเท่านั้นก่อนที่เด็กๆจะกินอาหารเองได้"

VicHealth เป็นมูลนิธิอิสระที่ทำการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านสุขภาพซึ่งเน้นไปที่นโยบายด้านสุขภาพของรัฐวิกตอเรีย

การศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่มีต่อสุขภาพของชาววิกตอเรียของ VicHealth ได้ทำการสำรวจคน  2,000 คน และพบว่าในช่วงปิดเมืองครั้งแรก  1 ใน 6 ของผู้ทำการสำรวจมีความกังวลว่าพวกเขาจะสามารถซื้ออาหารบริโภคได้หรือไม่

ดร. ซานโดร เดมายโอ ประธานบริหารของ VicHealth เปิดเผยว่านมสำหรับเด็กหัดเดินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ของรายจ่ายที่สร้างความกดดันให้แก่หลายๆครอบครัว การวิจัยยังพบอีกว่านมของเด็กหัดเดินนั้นมีราคาสูงกว่านมปกติถึง 4 เท่า 

"ถ้าเด็กดื่มนมชนิดนี้ทุกวันจะมีค่าใช้จ่ายที่ครอบครัวต้องจ่ายมากขึ้นประมาณ 23 ดอลลาร์ต่อเดือนเมื่อเทียบกับการซื้อนมวัวธรรมดา และเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายต่อปีแล้วค่าใช้จ่ายตรงนี้จะมากขึ้นขึ้นเป็น 280 ดอลลาร์เลยทีเดียว"

"มันคือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความจำเป็นและอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กวัยนี้ด้วยซ้ำ เราเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐต้องมีมาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีการจัดการเรื่องมาตรฐานของการแจ้งส่วนผสมต่างๆ บนฉลากของผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะเรื่องน้ำตาลตามความเป็นจริง และให้ควบคุมดูแลเรื่องการโฆษณาและการตลาดของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ด้วย"

คุณ อลิซ ไปรเยอร์ ผู้ดูแลกลุ่ม  Parents’ Voice ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุนและเรียกร้องสิทธิต่างๆ สำหรับครอบครัวชาวออสเตรเลีย เธอเปิดเผยว่ามันเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่เห็นว่าโรงงานและแผนกการตลาดของพวกเขาใช้โซเชียลมีเดียในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่างไร

"มันน่าเป็นห่วงมากที่เห็นโรงงานเหล่านี้ใช้กลวิธีทางการตลาดอย่างหลอกลวงเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์นมและอาหารของเด็กวัยหัดเดิน คนดังหลายๆคนก็ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างแนบเนียน เพราะฉะนั้นมันเป็นการอย่างที่จะบอกว่านี่คือการโฆษณาหรือการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกัน"


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand