ผลสำรวจล่าสุดชี้โควิด-19 ทำคนรุ่นใหม่เสี่ยงเครียดทางการเงิน

Persone attendono in fila davanti agli uffici di Centrelink

คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะใช้เงินออมไปจนหมดและไปกู้เงินเพิ่มเพื่อที่จะอยู่รอดในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัส Source: AAP

ศูนย์การวิจัยนโยบายผู้บริโภค The Consumer Policy Research Centre หรือ CPRC ได้สำรวจความมั่นใจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในขณะที่ออสเตรเลียค่อยๆ ฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ไวรัสโคโรนาและพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ต้องดิ้นรนในการอยู่รอดมากที่สุด


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงาน

การรายงานจากผลการสำรวจคนกว่า 1,100 คนพบว่าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้คนรุ่นใหม่และผู้เช่าที่อยู่อาศัยรวมถึงพนักงานแคชชวลเป็นกลุ่มที่ต้องดิ้นรนในการอยู่รอดมากที่สุด การสำรวจในครั้งนี้ดำเนินการโดยคุณ รอย มอแแกน โดยเริ่มต้นโครงการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาและผลการสำรวจฉบับแรกพบว่ากลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดคือคนรุ่นใหม่ที่อายุระหว่าง 18-35 ปี

สถานการณ์ไวรัสโควิด-19ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นใหม่อย่างไร

ในจำนวนคนหลากหลายช่วงวัยที่ได้ทำการสำรวจนั้น คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะใช้เงินออมไปจนหมดและไปกู้เงินเพิ่มเพื่อที่จะอยู่รอดในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัส คุณ ลอเรน โซโลมอน ประธานกรรมการบริหารของ CPRC เปิดเผยในเรื่องนี้ว่า

"เราได้รับรายงานว่า ทั้งลูกจ้างชั่วคราว ผู้เช่า และรวมถึงคนรุ่นใหม่นั้นมีความกังวลอย่างมากว่าพวกเขาจะมีความสามารถที่จะหารายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการอยู่อาศัยหรือไม่ และอีกประการหนึ่งคือพวกเขายังประสบปัญหาในการเข้าถึงการช่วยเหลือต่างๆ อีกด้วย"

ซึ่งจากการรายงานผลการสำรวจนี้พบว่าคนรุ่นใหม่ร้อยละ 34 ถอนเงินออมของพวกเขาออกมาใช้ในขณะที่คนรุ่นใหม่อีกร้อยละ 8 ต้องถอนเงินซูเปอร์แรนูเอชัน (superannuation) หรือเงินสะสมหลังเกษียณของพวกเขาออกมาเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายท่ามกลางวิกฤตการณ์ไวรัสโคโรนา ศาตราจารย์ บิล มิชเชล ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลชี้ว่า สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อคนรุ่นใหม่ไปอีกหลายปี

“มันส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านจากโรงเรียน มหาวิทยาลัยสู่ตลาดแรงงานมีความยุ่งยากสำหรับคนรุ่นใหม่ เช่นถ้าหากคุณตกงานมันก็หมายความว่าคุณไม่ได้รับประสบการณ์ในสายงานอย่างที่ควรจะเป็นและส่งผลให้คุณขาดการพัฒนาทักษะ ในอนาคตมันอาจทำให้คุณพลาดโอกาสต่างๆ ในชีวิตรวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย"

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อความเครียดทางการเงิน

ผลการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่าการหาเงินเพื่อจ่ายค่าเช่าบ้านนั้นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนเกิดความเครียดทางการเงินสูงถึงร้อยละ 37 ซึ่งคุณลอเรน โซโลมอน เปิดเผยเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่ามีผู้เช่าบ้านจำนวนมากที่มีแนวโน้มจะถอนเงินซุปเปอร์ของตนออกมาใช้จ่าย

“สิ่งสำคัญที่พบในการสำรวจครั้งนี้คือการที่ผู้เช่าบ้านมีความกังวลเกี่ยวกับการจ่ายค่าเช่า รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคประจำวันและคนกลุ่มนี้เองที่เราพบว่าพวกเขาถอนเงินซุปเปอร์ออกมาใช้มากที่สุดในจำนวนประชากรทั้งหมดในการสำรวจ”

ปัจจุบันเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรออสเตรเลียพยายามจะพยุงค่าใช้จ่ายประจำวันด้วยวิธีหลากหลายเช่น ร้อยละ 22 ใช้เครดิตการ์ดในการจับจ่ายใช้สอย หรือใช้บริการซื้อก่อนจ่ายทีหลังและที่เหลืออีกร้อยละ15 ได้ยกเลิกค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นน้อยลงเช่น ค่าประกันหรือค่าสมัครสมาชิกต่างๆ

กลุ่มใดบ้างที่ได้รับความเดือดร้อนทางการเงิน

นอกจากกลุ่มคนรุ่นใหม่จะได้รับผลกระทบมากในเรื่องการเงินแล้ว ก็ยังมีกลุ่มนักเรียนต่างชาติ คนที่ถือวีซ่าชั่วคราวและพนักงานแคชชวลที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินด้วย คุณ คริสเทน ฮาร์ทเนต ที่ปรึกษาทางการเงินจากองค์กร Salvation Army เปิดเผยว่าองค์กรของเธอได้รับการติดต่อขอความช่วยเหลือจากคนกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น

“กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ส่วนใหญ่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือที่เป็นความช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน เช่น การช่วยเหลือด้านอาหารและค่าเช่าที่อยู่อาศัย”

คุณฮาร์เนตยังแนะนำให้ชาวออสเตรเลียที่ต้องการคำปรึกษาทางการเงินสามารถใช้บริการที่องค์กรของเธอได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังมีบริการล่ามสำหรับผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

“ สิ่งที่เป็นประโยชน์จากบริการนี้คือ มันเป็นบริการฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายและเรามีบริการล่ามฟรีให้คุณอีกด้วย”



สำหรับการบริการล่ามฟรีคุณสามารถติดต่อที่ 13 14 50  เพื่อแจ้งภาษาของคุณและติดต่อองค์กรที่คุณต้องการ


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 



Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand