แรงงานพร้อมเดินทาง เพื่อเติมช่องว่างที่ขาดแคลน

ผู้ชายยืนถือกระเป๋าเดินทางรอขึ้นเครื่องที่สนามบิน

ผู้ชายยืนถือกระเป๋าเดินทางรอขึ้นเครื่องที่สนามบิน Credit: Pexels/Victor Freitas

รัฐบาลออสเตรเลียจะเร่งอนุมัติให้แรงงานจากเกาะแฟซิฟิกเข้าประเทศโดยเร็ว เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคส่วนเกษตรกรรม นับเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องเรื่องการอพยพย้ายถิ่น และจะอนุมัติให้นักศึกษาต่างชาติสามารถพำนักและทำงานในประเทศได้ หลังจบการศึกษา


แรงงานเกษตรกรขาดแคลนเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ส่งผลให้พืชผลถูกทิ้งให้เน่าเปื่อย ตลอดการระบาดของโควิด

ขณะนี้ แรงงานจำนวน 40,000 คนจากหมู่เกาะแปซิฟิกซึ่งผ่านการตรวจสอบ พร้อมเดินทางมายังออสเตรเลียแล้ว

รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร เมอร์เรย์ วัตต์ (Murray Watt) เผยกับสกาย นิวส์ (Sky News) ว่าการเร่งอนุมัติให้แรงงานเหล่านี้เข้าประเทศเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง

“เราต้องการให้พวกเขาเข้าประเทศให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เราเพิ่มจำนวนรับผู้อพยพแล้ว และแน่นอนแรงงานกลุ่มนี้จะมีโอกาสที่จะร่วมมือหาทางต่อไปในอนาคต”
การปรับแก้เรื่องการอพยพย้ายถิ่นเป็นหัวใจสำคัญของการประชุมสุดยอดแรงงานและทักษะของรัฐบาลกลาง ในวันที่ 1-2 กันยายนที่ผ่านมา

รัฐบาลเพิ่มจำนวนรับผู้เดินทางเข้าประเทศเป็น 35,000 คนต่อปี

ฝ่ายสมาพันธ์เกษตรกร (Farmer’ Federation) และพรรคเดอะ เนชั่นแนลส์ (The Nationals) กล่าวว่ายังไม่เพียงพอ จากการประเมินว่าแรงงานขาดแคลนจำนวน 172,000 คนทั้งระบบ

รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแห่งรัฐบาลกลาง แคลร์ โอ นีล (Claire O’Neil) กล่าวว่า

“เราเดินออกจากระบบที่เน้นการห้ามคนเข้าประเทศ สู่ระบบที่ตระหนักว่าเรากำลังอยู่ในสงครามแย่งชิงผู้ที่มีความสามารถทั่วโลก”

รัฐบาลยังเจาะตลาดนักศึกษาต่างชาติเพื่อเติมเต็มแรงงานทักษะที่ขาดแคน โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) แซลลี วีลเลอร์ (Sally Wheeler) กล่าวว่าการเปลี่ยนนโยบายอื่นๆ ด้วยเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

“นายจ้างควรปรับตัวกับความคิดที่เสนอการทำงานร่วมกับการเรียนและการฝึกงานแก่นักศึกษาต่างชาติ”
Federal Home Affairs Minister Clare O'Neil (AAP).jpg
รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลกลาง แคลร์ โอ นีล (Clare O'Neil)/AAP
คุณจานาจีด โลเกจวารัญ (Janageeth Logeswaran) จากประเทศศรีลังกา กำลังศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยอะดิเลดส์ ฟลินเดอร์ส (Adelaides’s Flinders University) กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักศึกษาจะอพยพไปประเทศอื่น เช่น แคนาดาหรือสหราชอาณาจักร เพราะออสเตรเลียมีระบบวีซ่าที่ซับซ้อน

“หากกระบวนการอนุมัติให้นักศึกษาต่างชาติสามารถขอสถานะผู้พำนักถาวร (Permanent residence) ในออสเตรเลียได้ง่ายขึ้นเล็กน้อย ผมมั่นใจว่านักศึกษาหลายคน คนที่มีความรู้ความสามารถ จะไม่ลังเลที่จะเลือกออสเตรเลีย"

รัฐบาลกลางยังคงมุ่งมั่นที่จะเจรจาต่อรองกับบรรดานายจ้าง

จากเสียงเรียกร้องของสหภาพแรงงานเพื่อให้แรงงานจากหลายภาคส่วนสามารถรวมตัวกันเพื่อผลักดันเรื่องค่าแรงและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น แม้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจนำไปสู่การสไตร์คหยุดงานมากขึ้น

รัฐมนตรีกระทรวงทักษะแรงงานและการฝึกอบรม แบรนเดน โอ คอร์เนอร์ (Brendan O’Connor) ปฏิเสธคำวิจารณ์นี้

“แนวความคิด ความหวาดกลัวการโต้เถียงครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นเพราะเรามีเครื่องมือในการต่อรองใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องจริง นั่นไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการต่อรองครั้งใหม่หรือการต่อรองกับบรรดานายจ้าง ไม่ใช่แบบนั้น ผมคิดว่านั่นเป็นภาพสมัยยุค 70 ไม่ว่าจะเป็นที่นี่ หรือที่ยุโรป หรือในบางพื้นที่ของอเมริกาตอนเหนือ หรือสหราชอาณาจักร”
แต่ทางฝ่ายค้านไม่คิดเช่นนั้น

วุฒิสมาชิก มิเคเลีย แคช (Michaelia Cash) กล่าวกับสกาย นิวส์ ว่าเธอเล็งเห็นธุรกิจขนาดเล็กถูกผูกมัดกับข้อตกลงที่พวกเขาไม่ต้องการ

“ผลของการประชุมสุดยอดคือชัยชนะของสหภาพแรงงานในออสเตรเลีย เป็นสิ่งที่พวกเขาเฝ้าขอ ตั้งแต่หลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ ฉันขอพูดให้ชัดเจน ปีเตอร์ ดัตตัน (Peter Dutton) และพรรคพันธมิตร (The Coalition) จะต่อสู้ในทุกขั้นตอน หากต้องทำ”

การประชุมสุดยอดได้ปูทางไปสู่การปฏิรูป แต่การบรรลุผลตามกฎหมายจะเป็นแบบทดสอบที่แท้จริง และจะเห็นผลในการลงคะแนนในรัฐสภา สัปดาห์นี้

การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด และธนาคารกลางออสเตรเลียจะประชุมในวันอังคารที่ 6 กันยายนนี้

คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง แต่วุฒิสมาชิกนิก แม็กคิม (Nick McKim) จากพรรคกรีนส์ขอให้ระงับไว้ชั่วคราว

“ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่ธนาคารกลางจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีก และทำให้การใช้เงินยากขึ้นไปอีกสำหรับเจ้าของบ้าน ผู้เช่า และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก การพยายามแก้ไขปัญหาที่คนเหล่านี้ไม่มีส่วนทำให้เกิด”

ดูเหมือนว่าสัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์ที่วุ่นวาย ที่แคปิตอล ฮิลล์ (Capital Hill)


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand