รัฐบาลออสฯ แจงแผนสะสางใบสมัครวีซ่าตกค้าง เล็ง ‘แรงงานมีทักษะ’

รมต.มหาดไทยออสฯ แจงแผนรัฐบาลเร่งสะสางใบสมัครวีซ่าตกค้างที่มีมากกเกือบล้านฉบับ เล็งพิจารณาแรงงานมีทักษะรอขอพีอาร์จากนอกประเทศเป็นอันดับแรก ผู้เชี่ยวชาญแนะรัฐบาลควรมีแผนที่ยั่งยืน และการฝึกอบรมทักษะที่รองรับ

Skilled workers prioritised amid a backlog of almost one million visa applications

Skilled workers prioritised amid a backlog of almost one million visa applications Source: SBS

ประเด็นสำคัญ

  • ออสเตรเลียกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน จากการปิดพรมแดนระหว่างประเทศในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่ถึงแม้พรมแดนจะเปิดแล้ว แต่ก็ถูกซ้ำเติมจากปัญหาใบสมัครวีซ่าคงค้างเกือบล้านฉบับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานที่จะเข้ามาเติมตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ได้
  • รัฐบาลมุ่งเน้นอย่างจริงจังที่จะจัดการปัญหานี้ ทั้งการทุ่มเททรัพยากรและกำลังคนไปยังหน่วยงานพิจารณาใบสมัครวีซ่าที่คงค้าง รมต.มหาดไทยย้ำว่า รัฐบาลกำลังเล็งแรงงานที่มีทักษะซึ่งอยู่ในต่างประเทศและได้ยื่นสมัครไว้แล้ว โดยมี 3 สายงานที่รัฐบาลเล็งไว้ คือ สุขภาพ การศึกษา และการดูแลผู้สูงอายุ
  • ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า รัฐบาลควรมีแผนในโครงการอพยพย้ายถิ่นที่ยั่งยืน รวมถึงมีการปรึกษาหารือกับชุมชนในออสเตรเลีย และมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลลงทุนในด้านการฝึกอบรมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้อพยพย้ายถิ่นได้รับทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน

ปัญหาวีซ่าคงค้างของออสเตรเลียกำลังจะได้รับการจัดการ ด้วยการจัดความสำคัญในการพิจารณาใบสมัครขอสถานะประชากรถาวร (พีอาร์) จำนวนกว่า 60,000 ฉบับที่ยื่นโดยแรงงานทักษะที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นอันดับแรก ขณะที่รัฐบาลสหพันรัฐกำลังมุ่งเน้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เลวร้ายลงจากความล่าช้าในการประมวลเอกสารวีซ่า

มีการเปิดเผยว่าปัญหาคำร้องวีซ่าคงค้างที่รัฐบาลกำลังเผชิญนั้นอยู่ในระดับเกือบ 1 ล้านฉบับในวีซ่าหลายประเภท ซึ่งมีสาเหตุมาจากผลกระทบของการปิดพรมแดนระหว่างประเทศจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

หน่วยงานมหาดไทยออสเตรเลียได้เปลี่ยนเส้นทางในการจัดสรรทรัพยากรและดึงคนทำงานเข้ามาเพิ่มขึ้น เพื่อจัดการกับปัญหาวีซ่าที่มีความติดขัดที่ได้ทำให้เวลารอผลเอกสารของผู้สมัครเลวร้ายลงไปกว่าเดิม
แต่ นางแคลร์ โอนีล (Clare O’Neil) รัฐมนตรีมหาดไทยของออสเตรเลีย ได้ออกมายืนยันแล้วในตอนนี้ว่าจะให้ความสำคัญกับแบบคำร้องจากแรงงานทักษะที่อยู่ในต่างประเทศ โดยจะมุ่งเน้นในส่วนของงานด้านสุขภาพ การศึกษา และงานดูแลผู้สูงอายุ

สิ่งสำคัญอย่างแท้จริงสำหรับฉันก็คือ อะไรบ้างที่เราทำได้ภายใต้ข้อจำกัดของระบบเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา (เอกสารคงค้าง) ได้อย่างรวดเร็ว” นางโอนีล กล่าวกับวิทยุเอบีซีเมื่อวานนี้ (21 มิ.ย.)

“การเปลี่ยนแปลงที่ว่าก็คือ การจัดลำดับความสำคัญของผู้ที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งต้องการที่จะมาที่นี่เพื่อทำงาน และการจัดการแบบคำร้องเหล่านั้นอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เราจะทำได้”
มันเหมือนหยดน้ำในทะเลเมื่อเราพูดถึงเอกสารคงค้างที่มีเกือบ 1 ล้านฉบับ
ตัวเลขจากรัฐบาลใหม่เปิดเผยว่า คำร้องขอวีซ่าทุกประเภทที่คงค้างในขณะนี้อยู่ที่ 961,016 ฉบับ โดยมี 560,187 ฉบับที่ยืนขอมาจากนอกออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงจากคนทำงานมีทักษะที่ต้องการขอสถานะพีอาร์ 57,906 ฉบับ และอีก 13,806 ฉบับจากผู้ที่ยื่นขอจากต่างประเทศที่ต้องการขอวีซ่าชั่วคราว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แอนนา บูเช (Assoc Prof Anna Boucher) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ อธิบายถึงปัญหาคำร้องขอวีซ่าคงค้างว่า “เป็นเรื่องใหญ่” และกล่าวว่า การตอบสนองระยะแรกเทียบได้เพียงก้าวแรกเท่านั้น

“มันเหมือนหยดน้ำในทะเลเมื่อเราพูดถึงเอกสารคงค้างที่มีเกือบ 1 ล้านฉบับ และเราต้องการคนทำงานเกือบครึ่งล้านคน ขณะที่อัตราการว่างงานนั้นกำลังลดลงเรื่อย ๆ” ผศ.บูเช กล่าว

“ถึงแม้พวกเขาจะรับผู้ถือวีซ่าถาวรทุกคนที่รออยู่ในคิว และผู้ถือวีซ่าชั่วคราวทั้งหมด มันก็ยังไม่มีทางครอบคลุมขอบเขตของปัญหาขาดแคลนแรงงานได้”

นางโอนีล รัฐมนตรีมหาดไทยออสเตรเลียยอมรับว่า แผนในระยะแรกนั้นคือการตอบสนองในระยะสั้น แต่ก็ได้ระบุว่ารัฐบาลมีความตั้งใจที่จะพูดคุยว่าโครงการอพยพย้ายถิ่นสามารถปรับเปลี่ยนใหม่มีความเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวในการประชุมสุดยอดด้านแรงงานในวันที่ 1-2 ก.ย.นี้

“โครงการอพยพย้ายถิ่นของเราคือการดำเนินการเพื่อสร้างชาติอันศักดิ์สิทธิ์ที่เราจะต้องพิจารณา มีการสนทนาที่ดีกับชุมชนเกี่ยวกับเรื่องนี และออกแบบมันอย่างระมัดระวัง” นางโอนีล กล่าว

ข้อถกเถียงเรื่องการอพยพย้ายถิ่น

ในการประชุมสุดยอดด้านแรงงานของรัฐบาลเดือนกันยายนนี้ จะเป็นการรวมตัวของสหภาพแรงงาน นายจ้าง ภาคประชาสังคม และตัวแทนของรัฐบาล โดยจะมีเรื่องการอพยพย้ายถิ่นเป็นประเด็นสำคัญในการอภิปราย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บูเช กล่าวว่า มันเป็นเรื่องสำคัญในการหาจุดยืนร่วมกันในการอภิปรายนี้ และเตือนว่าหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว  อาจเป็นการเติมเชื้อไฟให้แนวโน้มการเกลียดกลัวชาวต่างชาติ

“มันไม่ใช่เรื่องของขนาดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของภาพที่ละเอียดขึ้น และการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับโครงการอพยพย้ายถิ่น มันสำคัญแค่ไหน และความซับซ้อนบางอย่างของมันจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร”

ทั้งนี้ โครงการอพยพย้ายถิ่นถาวรในรัฐบาลนายสกอตต์ มอร์ริสัน ได้ถูกกำหนดเพดานรับสูงสุดไว้ที่ 160,000 ตำแหน่งต่อปี แต่ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การอพยพย้ายถิ่นถาวรตกลงไปสู่แดนลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

การกลับมาเปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ทำให้จำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฟื้นฟูอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่บรรดาธุรกิจต่าง ๆ ยังคงต้องรอเป็นเวลาหลายเดือนในการนำพนักงานมาเติมช่องว่างของแรงงานทักษะที่ขาดแคลน

ด้านหอการค้าออสเตรเลียได้เรียกร้องให้มีขยายเพดานรับในโครงการอพยพย้ายถิ่นเป็น 2 แสนคน เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงให้กับเส้นทางของระบบเศรษฐกิจในการฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19
จิม ชาลเมอส์ รัฐมนตรีคลังออสเตรเลียระบุว่า ธุรกิจต่าง ๆ ต้องการคนทำงาน โดยอธิบายถึงการขาดแคลนแรงานว่าเป็นอุปสรรคที่เหนี่ยวรั้งระบบเศรษฐกิจ

“การมุ่งเน้นไปที่แรงงานทักษะที่ธุรกิจต่าง ๆ กำลังเรียกร้อ งซึ่งกำลังอยู่คิวยาวของการรอผลเอกสารสมัครวีซ่า ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ฉลาดมากที่จะทำ” นายชาลเมอส์ กล่าว

“(แต่) เราจะต้องระวังการคิดว่าการอพยพย้ายถิ่นจะสามารถทดแทนบางสิ่งอื่น ๆ ที่เราต้องทำในการสร้างตลาดแรงงานที่ใหญ่ขึ้น มีผลิตผลมากขึ้น มีทักษะที่ดีขึ้น และมีค่าจ้างสูงขึ้นในประเทศนี้”

อัตราการว่างงานในออสเตรเลียนั้นลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเดือนมิถุนายน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 48 ปี แต่ถึงแม้ตลาดแรงงานจะมีความแข็งแรง แต่การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะนั้นยังคงเป็นความท้าทาย

ศาสตราจารย์โรเบิร์ต บรูนิก (Prof Robert Breunig) นักเศรษฐศาสตร์นโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการพิจารณาการลงทุนในการฝึกอบรม ในการอภิปรายเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการในตลาดแรงงานของออสเตรเลีย

“นี่เป็นความคิดที่ดี (การมุ่งเน้นไปที่ใบสมัครวีซ่าทักษะ) เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่การขาดแคลนแรงงานกำลังสร้างความเสียหายในระบบเศรษฐกิจ” ศาสตราจารย์บรูนิก กล่าว

“แต่ความท้าทายสำหรับออสเตรเลียก็คือ เราจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าระบบการศึกษาจองเรานั้นจะมอบทักษะให้กับผู้คนที่ตลาดแรงงานของเราต้องการ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

หน้ากาก วัคซีน WFH: รวมคำแนะนำล่าสุดเกี่ยวกับโควิด-19 ในออสเตรเลีย


Share
Published 21 July 2022 5:27pm
Updated 21 July 2022 5:34pm
By Tom Stayner
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand