เตือนออสเตรเลียให้เตรียมรับโควิด 1,000 ราย/สัปดาห์หากเปิดพรมแดน

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน เตือนว่า สถานการณ์การไม่มีผู้ติดเชื้อโควิดในชุมชนเป็นศูนย์จะต้องเปลี่ยนแปลงไป หากออสเตรเลียเปิดให้เดินทางระหว่างประเทศได้

A Qantas plane is seen as passengers walk to their flights at Sydney International Airport in Sydney.

Passengers walk to their flights at Sydney International Airport. Source: AAP Images/Lukas Coch

มีคำเตือนให้ชาวออสเตรเลียเตรียมรับมือกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจสูงถึง 1,000 รายต่อสัปดาห์ เมื่อพรมแดนระหว่างประเทศกลับมาเปิดอีกครั้ง

ข่าวดังกล่าวมีขึ้นขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังตรวจสอบความเชื่อมโยงที่อาจเป็นไปได้ของการเสียชีวิตของหญิงวัย 48 ปีผู้หนึ่ง ในนิวเซาท์เวลส์ ที่มีรายงานว่าได้รับการฉีดวัคซีนโควิดของแอสตราเซเนากาก่อนเกิดอาการลิ่มเลือดอุดตัน

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ขอให้ประชาชนอย่าด่วนสรุปเกี่ยวกับการเสียชีวิตของหญิงคนดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลของรัฐและสหพันธรัฐกำลังรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเธอ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชาวออสเตรเลียที่อายุต่ำกว่า 50 ปีได้รับคำเตือนเรื่องการฉีดวัคซีนโควิดของแอสตราเซเนกา หลังมีการยืนยันความเชื่อมโยงกันระหว่างวัคซีนกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยาก

คำเตือนดังกล่าวทำให้โครงการฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชนของออสเตรเลียล่าช้าลงอีก และทำให้การเตรียมตัวของสายการบินๆ ต่างเพื่อเปิดการเดินทางระหว่างประเทศอีกครั้งในเดือนตุลาคมดูเหมือนจะเป็นเพียงความหวัง

การที่รัฐบาลสหพันธรัฐละทิ้งกำหนดเดิมของโครงการฉีดวัคซีนโควิดหมายความว่า พรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียไม่น่าจะเปิดจนกว่าจะถึงปี 2022

นายมอร์ริสัน กล่าวว่า ชาวออสเตรเลียเริ่มเคยชินกับการไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดในชุมชนเลย แต่นี่จะเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

“หากเราจะเปิดพรมแดนระหว่างประเทศและผู้คนจะเดินทางมา เราจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น” นายมอร์ริสัน บอกกับวิทยุ ซิกส์พีอาร์ (6PR Radio)

“ชาวออสเตรเลียจะต้องเคยชินกับการจัดการกับผู้ติดเชื้อถึง 1,000 รายต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น”
นายมอร์ริสัน กล่าวว่า รัฐและมณฑลต่างๆ จำเป็นต้องมีแนวทางไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับการยอมรับจำนวนผู้ติดเชื้อ เมื่อการเดินทางเริ่มต้นอีกครั้ง

เขากล่าวเรื่องนี้หลังเผยว่า “เป้าหมายแรก” ของการกลับมาเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง คือ การอนุญาตให้ชาวออสเตรเลียที่ฉีดวัคซีนแล้วเดินทางไปต่างประเทศได้ เพื่อ “วัตถุประสงค์ที่สำคัญ” เช่น เพื่องาน เพื่อเหตุผลทางการแพทย์ หรือเพื่อร่วมงานศพ

เป้าหมายแรกที่ผมคิดคือ อนุญาตให้ชาวออสเตรเลียที่ฉีดวัคซีนแล้วสามารถเดินทางได้ โดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญต่างๆ และเป้าหมายที่สองคือ สำหรับผู้อยู่อาศัยของออสเตรเลียและพลเมืองออสเตรเลียจากต่างประเทศ ที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมแล้ว พวกเขาจะสามารถเดินทางกลับมาได้ตามแนวทางดังกล่าว” นายมอร์ริสัน กล่าวในเวทีเสวนาวัคซีนชุมชน ที่ศูนย์กิจกรรมชุมชนสเตอร์ลิง คอมมิวนิตี เซนเตอร์ ที่เพิร์ท ในวันพฤหัสบดี (15 เม.ย.)

“นั่นจะช่วยให้ชาวออสเตรเลียเดินทางได้เพื่อธุรกิจเป็นอย่างแรกและเพื่อเรื่องจำเป็นต่างๆ แต่ในที่สุดหากมันเป็นไปด้วยดีเมื่อเวลาผ่านไป และมีสถิติที่ชี้ว่าการกักตัวที่บ้านไม่ได้สร้างความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหรือมีความเสี่ยงที่ลดลง นั่นจะอาจนำไปสู่สิ่งที่มีนัยสำคัญยิ่งกว่า เราจึงจะสามารถไปสู่ก้าวต่อไปได้”

“นั่นจะกำหนดให้จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนและผมคิดว่านั่นจะเป็นเครื่องจูงใจที่สำคัญให้ฉีดวัคซีน”

นายแพทย์ โอมาร์ โคร์ชิด ประธานแพทยสมาคมแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า การฉีดวัคซีนจะเป็นทางออกสำหรับวิกฤตด้านสุขภาพครั้งนี้ของประเทศ

“ขณะนี้เราไม่มีโควิด แต่โควิดกำลังจะมา” เขาบอกกับ วิทยุเอบีซี

“เราไม่สามารถทำให้ออสเตรเลียปราศจากเชื้อโควิดไปตลอดกาลได้ นอกเสียจากว่าเราจะกลายเป็นประเทศเกาะอย่างแท้จริง โดยไม่ให้มีการเดินทางเลย”
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 16 April 2021 12:49pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand