พิษโควิดทำ ปชช.หลากภาษาและวัฒนธรรมขอสินเชื่อมากขึ้น

งานวิจัยล่าสุดเผยปัญหาการเงินในชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมออสเตรเลีย พบขอสินเชื่อพุ่ง ใช้เงินออม ถอนเงินซูเปอร์ฯ ให้พออยู่พอกินท่ามกลางวิกฤตทางการเงินจากโควิด-19

Paw Eh and her family had to draw money from their superannuation after her husband lost his job during the COVID-19 lockdown.

Paw Eh and her family had to draw money from their superannuation after her husband lost his job during the COVID-19 lockdown. Source: SBS News

คุณพอว เอ (Paw Eh) เดินทางมาถึงออสเตรเลียเมื่อ 14 ปีก่อนจากเมียนมาร์

เมื่อสามีของเธอตกงานท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เธอไม่รู้เลยว่าจะหาเงินให้พอกินพอใช้ได้อย่างไร

“ลูกของฉันยังเล็กอยู่ ฉันเลยไปทำงานไม่ได้ เราก็เลยไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน” คุณเอกล่าว
Paw Eh and her family.
Paw Eh and her family. Source: SBS News
เธอเล่าว่า ครอบครัวของเธอยังคงสามารถเข้าถึงเงินชดเชยรายได้จ๊อบคีปเปอร์ (JobKeeper) แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงต้องนำเงินที่เก็บสะสมไว้ออกมาใช้

“สามีดิฉันต้องถอนเงินซูเปอร์ของเขาออกมาใช้ $10,000 ดอลลาร์” คุณเอเล่า

ไม่ได้มีเพียงครอบครัวของคุณเอเท่านั้นที่ประสบกับความยากลำบากทางการเงินในลักษณะนี้

ศูนย์วิจัยด้านนโยบายผู้บริโภค (The Consumer Policy Research Centre) ได้ทำการสำรวจผู้คนมากกว่า 2,000 คนทั่วออสเตรเลีย ในช่วงสิ้นสุดมาตรการล็อกดาวน์ในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคมเมื่อปีที่ผ่านมา โดยรายงานจากการสำรวจดังกล่าวที่ได้เผยแพร่ในสัปดาห์นี้พบว่า ชุมชนที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม (CALD)  ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในอัตราที่ไม่เป็นสัดส่วน

เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วออสเตรเลีย ผู้บริโภคที่มาจากชุมชนที่มีความหลากภาษาและวัฒนธรรม มีอัตราการเข้าถึงบริการสินเชื่อส่วนบุคคลมากถึง 2 เท่า และเข้าถึงบริการเงินกู้เพย์เดย์โลน (payday loan) มากถึง 4 เท่า

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริโภคจากชุมชนดังกล่าวเข้าถึงเงินสะสมหลังเกษียณ (เงินซูเปอร์) มากกว่าประชากรทั่วไปเป็น 2 เท่า และมีอัตราขอความช่วยเหลือฉุกเฉินมากกว่าประชากรทั่วไปประเทศถึง 4 เท่า

“สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกกังวลก็คือ ผู้บริโภคกลุ่มนี้กำลังเข้าถึงผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องจ่ายคืนในอัตราที่สูงกว่าประชากรทั่วประเทศ เช่น เงินกู้เพย์เดย์โลน สัญญาเช่าสำหรับผู้บริโภค และบริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” นางลอว์เรน โซโลมอน (Lauren Solomon) ประธานบริหาร ศูนย์วิจัยด้านนโยบายผู้บริโภค กล่าว
เพียงแค่เดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว ร้อยละ 22 ของผู้เช่าบ้านที่มาจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม (CALD) ไม่สามารถชำระค่าเช่าได้ตรงเวลา เมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไปในอัตราร้อยละ 6

การวิจัยดังกล่าวยังได้แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดทางการเงินในระดับสูง โดยพบว่าร้อยละ 73 ของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม (CALD) ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางการเงินของตนเอง (financial wellbeing) เมื่อเทียบกับร้อยละ 56 ของประชากรทั้งประเทศ
นางคาร์ลา วิลเชียร์ (Carla Wilshire) ประธานบริหาร สภาการอพยพย้ายถิ่นแห่งออสเตรเลีย (The Migration Council of Australia) กล่าวว่าปัญหาเหล่านี้ ได้ถูกซ้ำเติมด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่นั้น พลาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผนการชำระเงิน และการสนับสนุนทางการเงินอื่น ๆ  

“การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองนั้น มีเพียงแต่จะสร้างกำแพงกั้นอีกชั้นในการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาทางการเงินอย่างเพียงพอ” นางวิลเชียร์กล่าว

“หนึ่งในผลลัพธ์จากสถานการณ์โควิด-19 นั่นก็คือจะต้องมีการพิจารณากลไกให้ความช่วยเหลือผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยที่เพิ่งเดินทางมาถึงให้มากขึ้น”

นักศึกษาต่างชาติ และผู้ถือวีซ่าเวิร์กกิ้ง ฮอลิเดย์ ยังเป็นอีกกลึ่มหนึ่งที่มีความเดือดร้อนทางการเงินอยู่ในระดับสูง ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากเงื่อนไขในวีซ่าของพวกเขาไม่เปิดทางเข้าสู่ความช่วยเหลือต่าง ๆ จากรัฐบาลออสเตรเลีย

นอกจากนี้ พวกเขายังคงต้องพึ่งพางานแบบแคชวล ซึ่งนำไปสู่ความไม่มั่นคงของรายได้ในระดับสูง

ขณะที่นักวิจัยได้เรียกร้องให้มีการจัดทำข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ในหลายภาษา

“หากเราต้องการที่จะฟื้นฟูจากวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน ฝ่ายบริการลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำงานอย่างครอบคลุมกับผู้คนทุกหมู่เหล่า ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นจะต้องเข้าถึงได้จากประชากรในวงกว้าง นั่นก็เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จะทำให้ชุมชนและสังคมของเราเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง” นางโซโลมอน กล่าว


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณควรตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้อยู่บ้านและติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ออสเตรเลียจะฉีดวัคซีนโควิดทั้งประเทศทันเดือน ต.ค.นี้หรือไม่


Share
Published 5 April 2021 5:14pm
Updated 5 April 2021 5:31pm
By Felicity Ogilvie
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand