5 ข้อควรรู้เมื่อลูกอยู่หน้าจอ

เลี้ยงลูกอย่างไรให้สุขภาพดีในยุคเทคโนโลยี เรามีคำแนะนำมาฝากจากผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวิธีบริหารเวลาหน้าจอเพื่อลดผลเสียที่อาจเกิดกับเด็ก

Parents should encourage screen activities that help kids to learn.

Parents should encourage screen activities that help kids to learn. Source: AAP

สมดุลเป็นสิ่งสำคัญ

จากผลสำรวจโดยโพลสุขภาพเด็กแห่งออสเตรเลีย () ผู้ปกครองร้อยละ 58 กังวลว่าลูกใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป

กลวิธีสร้างสมดุลทำได้หลายรูปแบบ ผู้ปกครองและเด็กอาจตั้งข้อตกลงร่วมกันว่าจะจำกัดเวลาอย่างไร รวมถึงกำหนดขอบเขตการใช้หน้าจอ เช่น ไม่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตในห้องนอนหรือในเวลาอาหาร “เหล่านี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อพฤติกรรมความเคยชินของครอบครัว” พญ.แอนเทีย โรดส์ (Dr Anthea Rhodes) ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยของสำนักโพลสุขภาพเด็กแห่งออสเตรเลีย แนะนำ

อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองต้องหมั่นเอาใจใส่ทั้งเด็กและครอบครัว “บริหารเวลาหน้าจอคือการอบรมเลี้ยงดูประจำวันอย่างหนึ่ง” พญ.โรดส์กล่าว “เช่นเดียวกับประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร เรื่องนี้เป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนระหว่างวัฒนธรรม ประสบการณ์ และบุคลิกส่วนตัว”

หน้าจอต่างประเภทมีผลต่างกัน

หน่วยงานด้านสุขภาพของออสเตรเลียออกไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ อันที่จริงแล้วเรื่องนี้ประกอบด้วยปัจจัยซับซ้อนกว่านั้น

การพิจารณาเนื้อหาที่ลูกรับจากสื่อผ่านหน้าจอก็สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน งานวิจัยโดยองค์กรซีโรทูทรี () ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐอเมริกา เสนอแนะว่า การรับชมเนื้อหาสร้างสรรค์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เทียบกับดูรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมแล้วมีผลต่างกันมาก 
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

คุณติดสมาร์ทโฟนหรือเปล่า

ข้อควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือเทคโนโลยีนั้นเอื้อต่อการใช้ร่างกายเพียงใด ดร.เอริน โฮวีย์ (Dr Erin Howie) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคอร์ทิน (Curtin University) กล่าวว่า “ในแง่กายภาพ อุปกรณ์หน้าจอสัมผัสกับโทรทัศน์มีความแตกต่างกันมาก อุปกรณ์หน้าจอสัมผัสดีกว่าโทรทัศน์ แต่ไม่ดีไปกว่ากิจกรรมการเล่นที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย”

ดร.โฮวีย์ยังแนะนำให้สร้างนิสัยหยุดพักเป็นระยะเมื่อใช้เวลาอยู่หน้าจอ “อย่าลืมปรับท่าทางเป็นระยะ หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน”

ดังนั้น ถึงแม้การบริหารระยะเวลาที่ลูกอยู่หน้าจอจะสำคัญ แต่ก็ไม่ควรละเลยเนื้อหาและท่าทางระหว่างนั้นด้วย

เวลาหน้าจอก็มีข้อดี

ถ้าลูกของคุณอยู่หน้าจอเป็นประจำหรือชอบใช้เทคโนโลยี ก็มีข้อดีมากมายให้พิจารณา

“การใช้เทคโนโลยีอาจเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น แต่งเพลง สร้างภาพยนตร์ ถ่ายภาพ ทำแอนิเมชัน เรียนภาษาเขียนโปรแกรม ซึ่งช่วยเปิดโลกให้เด็ก ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ได้” คุณมาร์ทีน โอเกิลทอร์ป (Martine Oglethorpe) นักจิตวิทยาเด็กเจ้าของเว็บไซต์ กล่าว “ผู้ปกครองต้องใส่ใจกับประเภทของกิจกรรมหน้าจอ และส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ของลูก”

หากแต่ไม่มีสูตรสำเร็จเสียทีเดียว สิ่งที่ส่งผลดีต่อลูกของคุณหน้าจอ อาจไม่เกิดประโยชน์สำหรับเด็กอีกคน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหมั่นสื่อสารกับลูก “คุยกับลูกอยู่เสมอว่าลูกได้อะไรจากเทคโนโลยีนั้น อะไรดีสำหรับเขา และอะไรไม่มีประโยชน์สำหรับเรา” คุณโอเกิลทอร์ปแนะนำ “จากนั้นก็ให้ความสำคัญกับจุดที่ดี”

เวลาหน้าจอมีประโยชน์ได้เมื่อใช้อย่างสมดุลกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเล่นรูปแบบอื่น ๆ และกิจกรรมทางกาย
Baby looking at a colourful picture on a mobile phone screen.
Source: Shutterstock: Bluedog Studio

กุญแจอยู่ที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม

หน้าจอไม่ใช่พี่เลี้ยงเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็กหรือวัยรุ่นต่างต้องการให้คุณชี้แนะแนวทาง “เทคโนโลยีให้ผลดีที่สุดเมื่อประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ หมายถึงคุยกับลูกของคุณเรื่องนี้ เล่นเกมด้วยกัน หรือช่วยสอนเขาใช้งาน” คุณโอเกิลทอร์ปอธิบาย “การที่คุณเข้าไปมีส่วนร่วมช่วยให้คุณติดตามได้ว่า ลูกใช้เวลากับอุปกรณ์มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของการเล่นและเรียนรู้ของลูก”

นี่ยังหมายความว่า ลูกจะรู้ว่าเขาสามารถหันมาหาคุณได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี “หากลูกรู้ว่าคุณเข้าใจว่าสิ่งนี้ทำงานยังไง เขาจะรู้สึกว่าสามารถมาหาคุณได้เมื่อเกิดปัญหา” คุณโอเกิลทอร์ปกล่าว

กระนั้น การมีส่วนร่วมไม่ได้หมายถึงตามจับจ้องลูกตลอดเวลาที่ใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยี วิธีมีส่วนร่วมที่ดีที่สุดคือสร้างความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่ตอนที่ลูกเริ่มใช้อุปกรณ์เหล่านี้

เวลาเป็นสิ่งสำคัญ

อุปกรณ์หน้าจอเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของชีวิตปัจจุบัน แต่การดูแลว่าช่วงเวลาใดควรไม่ควรอยู่หน้าจอนั้นส่งผลชัดเจนต่อสุขภาพของลูก

ช่วงเวลาผ่อนคลายก่อนเข้านอนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพักผ่อน สรุปสาระสำคัญจากงานวิจัย 67 ฉบับชี้ว่า ไม่ควรใช้อุปกรณ์หน้าจอช่วงก่อนเข้านอน เพราะแสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เพียงส่งผลต่อสายตาเท่านั้น แต่ยังกระทบวงจรการนอนหลับด้วย เพราะอาจส่งผลที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ

องค์กร แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่หน้าจออย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน

ติดตามผู้เขียนบทความได้ทางทวิตเตอร์

ชมสารคดี Are You Addicted To Technology?ได้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายนทาง SBS On Demand บนระบบ iOS และ tvOS โปรดอัปเดตหรือดาวน์โหลดเวอร์ชันล่าสุดรองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน OS 13.5 ขึ้นไป
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 28 April 2021 4:41pm
By Megan Blandford
Presented by Phantida Sakulratanacharoen
Source: SBS Voices

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand