นักพิทักษ์สิทธิ์ตำหนิการสอบภาษาอังกฤษสำหรับวีซ่าคู่ครอง

กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย กล่าวว่า การเพิ่มข้อกำหนดด้านทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสมัครขอวีซ่าคู่ครอง จะช่วยปกป้องประชาชนจากสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว

IELTS

International student group petitions extension of IELTS, PTE result validity and seeks other reforms. Source: IELTS

นักพิทักษ์สิทธิ์ผู้ลี้ภัยและสิทธิ์สตรีกล่าวว่า การกำหนดให้ผู้ย้ายถิ่นฐานที่สมัครขอวีซ่าคู่ครองจะต้องผ่านการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นมาตรการแบบ “พ่อปกครองลูก” (paternalistic หรือการปกครองที่จำกัดอิสระของประชาชน) จะทำให้ครอบครัวไม่สามารถมาอยู่ร่วมกันได้

กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย (Department of Home Affairs) กำลังพิจารณาจะเพิ่มข้อกำหนดด้านทักษะภาษาอังกฤษสำหรับผู้สมัครของวีซ่าคู่ครอง ภายใต้ข้อเสนอนี้ ทั้งบุคคลที่สมัครขอวีซ่าและผู้ที่เป็นสปอนเซอร์วีซ่าจะต้องผ่านการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ

เอกสารรวบรวมความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจเรื่องนโยบายของกระทรวง ระบุว่า มาตรการนี้จะช่วยปกป้องผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว โดยช่วยกระตุ้นให้พวกเขาต้องเรียนภาษาอังกฤษ

“ผู้ย้ายถิ่นฐานที่อาจไม่มีทักษะภาษาอังกฤษเพียงพออาจมีความเสี่ยงมากกว่าในเรื่องความรุนแรงในครอบครัวและการถูกเอารัดเอาเปรียบ” เอกสารดังกล่าว ระบุ

เอกสารที่ว่านี้ยังกล่าวต่อไปว่า ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษจะสามารถขอความช่วยเหลือได้โดยไม่ต้องพึ่งใครมากกว่าในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น ความรุนแรงในครอบครัว
แต่สมาคมสตรีต่อต้านความรุนแรงแห่งออสเตรเลีย (Australian Women Against Violence Alliance  หรือ AWAVA) และศูนย์บริการให้คำแนะนำและงานช่วยเหลือปัญหาสังคมแก่ผู้ลี้ภัย (Refugee Advice and Casework Service หรือ RACS) ได้ตำหนิข้อเสนอนี้ของกระทรวงว่า เป็นมาตรการแบบ“พ่อปกครองลูก” (paternalistic หรือการปกครองที่จำกัดอิสระของประชาชน)

“เรื่องภาษานี้สร้างความเชื่อมโยงที่ผิดๆ ระหว่างความรุนแรงในครอบครัวกับผู้ที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้” คุณฮานนาห์ เกรย์ ทนายความของ อาร์เอซีเอส ผู้ประสานงานโครงการ วีแมน แอต ริสต์ (Women at Risk) ของศูนย์กล่าว

“มันยังเป็นการกล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า วิธีปราบปรามความรุนแรงในครอบครัว คือการทำให้ยากขึ้น ที่คู่ครองซึ่งพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ จะได้วีซ่าและกลับมาอยู่ร่วมกันกับครอบครัวของพวกเขาได้” คุณเกรย์ กล่าว

เธอยังบอกอีกว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในทั่วทุกกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม และเป็นการ “พูดง่ายๆ เกินไป” ที่จะกล่าวว่า ปัญหานี้เลวร้ายลงจากทักษะภาษาอังกฤษของผู้ถูกกระทำ

โฆษกของกระทรวงมหาดไทย (Department of Home Affairs) กล่าวว่า รัฐบาลมุ่งมั่นจะให้การสนับสนุนแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าพวกเขาจะมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับใด

กระทรวงกล่าวว่า การขอคำปรึกษาจากสาธารณะจะช่วยให้ข้อมูลสำหรับการกำหนดบริบทและการนำนโนบายนี้ไปใช้งานจริง
อาร์เอซีเอส ให้ขอคำปรึกษาอย่างกว้างขวางจากผู้เชี่ยวชาญของบริการให้ความช่วยเหลือสตรีต่างๆ ซึ่งยืนยันว่า พวกเขา “ต่อต้านแข็งกร้าว” ต่อข้อกำหนดทักษะภาษาอังกฤษ

“สำหรับกลุ่มเหล่านี้ แนวคิดที่ว่าการขาดทักษะภาษาอังกฤษของผู้ถูกกระทำจากความรุนแรง ดูเหมือนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการกล่าวโทษเหยื่อ” คุณเกรย์ กล่าว

ด้านคุณทีนา ดิกซ์สัน ผู้จัดการของเอวาวา (Australian Women Against Violence Alliance  หรือ AWAVA) กล่าวว่า ผู้หญิงที่ถือวีซ่าชั่วคราวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นต่างๆ ได้เมื่อพวกประสบภาวะวิกฤต

คุณเกรย์ กล่าวเสริมว่า การสอบภาษาอังกฤษ จะสร้างอุปสรรคและทำให้การได้กลับมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวล่าช้าลงสำหรับผู้ลี้ภัย และในบางกรณีจะกีดกันอย่างสิ้นเชิงที่จะให้ครอบครัวต่างๆ ได้กลับมาอยู่ร่วมกัน

“การได้กลับมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวทำได้ยากมากอยู่แล้ว ข้อเสนอนี้เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่จะส่งผลกระทบแง่ลบอย่างมากต่อชีวิตของผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย” คุณเกรย์ กล่าว

องค์กรดังกล่าวเหล่านี้ได้ร่วมกันส่งหนังสือร่วมต่อกระทรวงมหาดไทย โดยแสดงความต่อต้านอย่างแข็งขันต่อนโยบายที่ว่า

แผนปฏิรูปนี้ถูกประกาศออกมาโดยเป็นส่วนหนึ่งของร่างงบประมาณแผ่นดินปี 2020-2021 รัฐบาลปิดรับการแสดงความเห็นต่อข้อเสนอนี้ในวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา

กระทรวงมหาดไทย ไม่ได้ตอบกลับสำหรับคำถามต่างๆ ที่ส่งไปถามในประเด็นเหล่านี้
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 




Share
Published 12 April 2021 1:26pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand