รัฐฯ หนุนตรวจประวัติการใช้ความรุนแรงสปอนเซอร์วีซ่าคู่ครอง

องค์กรช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครอบครัวเตือนการเปลี่ยนระบบวีซ่าคู่ครองของรัฐบาล อาจกระทบผู้หญิงมากกว่าผู้กระทำผิด

Acting Minister for Immigration, Citizenship, Migrant Services and Multicultural Affairs Alan Tudge.

Acting Minister for Immigration, Citizenship, Migrant Services and Multicultural Affairs Alan Tudge. Source: AAP

ชาวออสเตรเลียที่ต้องการสปอนเซอร์คู่ครองของตนให้สามารถอาศัยในประเทศจะต้องรับการตรวจประวัติว่าเคยมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ และต้องแจ้งผลการตรวจประวัติให้คู่ครองของตนทราบก่อนที่จะยื่นใบสมัครวีซ่า รัฐบาลออสเตรเลียแจ้งว่าการเปลี่ยนแปลงล่าสุดนี้จะช่วยปกป้องผู้ย้ายถิ่นจากการใช้ความรุนแรงในบ้านหรือความรุนแรงในครอบครัว

นาย อลัน ทัดจ์ รักษาการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ได้เปิดเผยข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นครั้งแรกในการประกาศร่างงบประมาณเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่าข้อมูลด้านลบใดๆ ที่ตรวจพบจากการตรวจประวัติของผู้ที่ยื่นขอสปอนเซอร์วีซ่านั้นจะแจ้งให้คู่ครองอีกฝ่ายทราบ เพื่อที่พวกเขาจะได้พิจารณาข้อมูลเหล่านั้นเพื่อการตัดสินใจว่าจะดำเนินเรื่องยื่นสมัครวีซ่าคู่ครองที่มีค่าสมัครสูงนี้หรือไม่

ผลการตรวจประวัตินี้จะรวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ที่อาจนำไปสู่อันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังมีการแจ้งประวัติการกระทำความผิดและการถูกจับกุมในอดีตอีกด้วย อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะยังมีอิสระในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการพิจารณาใบสมัครวีซ่านั้นๆ หรือไม่

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้

ในขณะที่ศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือเรื่องความรุนแรงในครอบครัวนั้นเห็นด้วยกับกระบวนการที่แจ้งให้คู่ครองอีกฝ่ายรับทราบถึงผลของการตรวจสอบประวัติ อย่างไรก็ตามพวกเขาเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ตกที่นั่งลำบากเพราะเป็นการจำกัดทางเลือกที่จะทำให้พวกเขาสามารถอาศัยในออสเตรเลีย

คุณ มิชอล มอร์ริส ประธานกรรมการบริหารขององค์กรอินทัช (InTouch) ซึ่งเป็นองค์กรที่เน้นการให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัวของผู้ย้ายถิ่นได้กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่การที่ผู้หญิงถอนตัวไม่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตนตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงต่อตำรวจเนื่องจากกลัวว่าคู่ครองของตนจะไม่สามารถสปอนเซอร์ตนได้ในอนาคต

เธอยังตั้งข้อสังเกตว่าหลายๆ คนที่แต่งงานหรือมีบุตรด้วยกันในช่วงที่พวกเขายื่นสมัครวีซ่าคู่ครองแล้ว นั่นหมายถึงว่ามันอาจจะเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากต่อผู้หญิงกลุ่มนี้ที่จะออกจากความสัมพันธ์ของพวกเขาแม้ว่าผลการตรวจสอบจะเป็นไปในทางลบ

 “การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ทางเลือกในการอาศัยอยู่ในออสเตรเลียของพวกเธอลดลงเพราะว่าพวกเธอไม่มีทางไหนที่จะสามารถอาศัยอยู่ที่นี่ได้”

“และถึงแม้ว่าพวกเธอจะอาศัยในออสเตรเลียมาเป็นเวลาหลายปี มีวีซ่าทำงานและมีบุตรด้วยกันก็ตาม พวกเขาก็ไม่สามารถอยู่ที่นี่ได้ถ้าปราศจากองค์ประกอบของการรับรองความสัมพันธ์ของพวกเขา ซึ่งมันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้พวกเขาอาศัยในออสเตรเลีย”

ในปัจจุบันผู้ที่ถือวีซ่าคู่ครองชั่วคราว (provisional partner visa) จะสามารถยื่นสมัครวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรได้ ถ้าหากพวกเขาสามารถแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นเหยื่อของความรุนแรงถึงแม้ว่าในเวลานั้นทั้งคู่จะจบความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วก็ตามและภายใต้กฎหมายใหม่วีซ่าประเภทครอบครัวชั่วคราว (family visa provision) จะยังคงให้บริการต่อไปสำหรับผู้ที่ถือวีซ่าคู่ครองชั่วคราว

สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ถือวีซ่าชั่วคราว

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาได้รับรายงานว่าผู้ที่ได้รับวีซ่าคู่ครองจำนวนกว่า 2,450 รายที่ได้แจ้งเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คุณ มอร์ริสชี้ว่า

 “เราต้องพิจารณาอย่างรอบด้านว่าเรามองสถานการณ์ของผู้หญิงแต่ละคนและความสัมพันธ์ของพวกเขาอย่างไร”

ในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีการรายงานว่าผู้ย้ายถิ่นชั่วคราวตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในรัฐวิคตอเรียพบว่า

คุณ โมนิค แดม ผู้จัดการด้านการป้องกันความรุนแรงและผู้สนับสนุนการงดใช้ความรุนแรงจากองค์กร DVNSW เปิดเผยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องความรับผิดชอบของรัฐบาลต้องแน่ใจว่าเหยื่อจากการใช้ความรุนแรงทั้งหลายจะสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเรื่องรายได้ ที่อยู่อาศัยและการสนับสนุนด้านสังคมไม่ว่าพวกเขาจะถือวีซ่าประเภทใดก็ตาม

 “ผู้หญิงและผู้ที่มีความหลายหลายทางเพศที่ถือวีซ่าชั่วคราวประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าครอบครัว วีซ่าผู้ดูแล วีซ่านักท่องเที่ยว หรือคนที่ถือวีซ่าบริดจิง ก็ล้วนได้เผชิญกับความรุนแรงทางเพศและครอบครัวทั้งนั้น”

 “ไม่มีใครควรที่ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการถูกฆาตกรรมหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือกนอกจากที่จะกลับไปเผชิญกับผู้ที่ใช้ความรุนแรง เพียงเพราะว่าพวกเขาไม่มีที่ไป รัฐบาลควรที่จะขยายขอบเขตความช่วยเหลือของวีซ่าครอบครัวชั่วคราวแก่ผู้ที่ถือวีซ่าชั่วคราวทุกคน”

คุณมอร์ริส ยังได้เรียกร้องให้มีวีซ่าประเภทใหม่สำหรับผู้ย้ายถิ่นชั่วคราวผู้ที่ต้องออกจากความสัมพันธ์เนื่องจากการใช้ความรุนแรง เพื่อที่จะเป็นการช่วยเหลือและให้โอกาสพวกเขาเพื่ออาศัยในออสเตรเลีย ได้มีสิทธิในการทำงาน มีสิทธิได้ความช่วยเหลือเรื่องการรักษาพยาบาล และสิทธิในการมีที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลา 2-5 ปีจนกว่าพวกเขาจะตั้งหลักได้

 “การลดโอกาสในการอาศัยในออสเตรเลียลงไม่ใช่ทางออกสำหรับปัญหานี้ และปัญหานี้นั้นกระทบต่อฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย”

จะเริ่มใช้กฎใหม่นี้เมื่อไหร่

การตรวจสอบประวัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นๆ ด้วยเช่น ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง กระทรวงมหาดไทยได้คาดการณ์ว่าจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศไปได้ในระยะเวลา 4 ปีกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ และมีการตั้งเป้าว่าจะเริ่มใช้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตั้งแต่ปลายปีหน้า (2021) เป็นต้นไปและจะบังคับใช้กับผู้สมัครรายใหม่เท่านั้น
การตรวจสอบประวัติโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเป็นส่วงนหนึ่งของกระบวนการยื่นสมัครวีซ่าอยู่แล้ว แต่ภายใต้ข้อกำหนดใหม่นี้การตราจประวัติของสปอนเซอร์จะต้องดำเนินการก่อนที่จะมีการยื่นใบสมัคร 

ผู้ย้ายถิ่นที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้มีความเสี่ยงสูงจะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่สามารถเข้าหาเครือข่ายความช่วยเหลือในออสเตรเลียได้หรืออาจจะไม่ทราบวิธีที่จะขอความช่วยเหลือ”  นาย ทัดจ์ชี้ว่า

 “มันเป็นสำคัญว่าคุณเป็นใครหรือคุณมาจากไหน ไม่ว่าคุณจะอาศัยที่นี่หรือถือวีซ่าชั่วคราวหรือเป็นพลเมืองออสเตรเลียก็ตาม ไม่ว่าใครก็ไม่ควรที่จะตกอยู่ในวังวนของความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรง”

และจะมีประกาศเกี่ยวกับรายละเอียดของกระบวนการการตรวจสอบประวัติในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ถ้าคุณหรือใครที่คุณรู้จักได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศหรือความรุนแรงในบ้านหรือครอบครัว สามารถติดต่อได้ที่ 1800RESPECT หรือ 1800 737 732หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  หรือติดต่อหมายเลขฉุกเฉินได้ที่ 000

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

ชาวออสเตรเลียอายุยืนขึ้น แต่คุณภาพชีวิตแย่ลง




Share
Published 20 October 2020 2:53pm
Updated 30 October 2020 7:05pm
By Maani Truu
Presented by Chayada Powell


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand