งานวิจัยพบถาดตรวจความปลอดภัยที่สนามบินมีเชื้อหวัดมากกว่าสุขา

NEWS: พบถาดพลาสติกเป็นแหล่งเชื้อโรคหลากหลายชนิด

Airport security at Dulles International Airport

การรักษาความปลอดภัยที่สนามบินนานาชาติดัลลิส Airport security at Dulles International Airport Source: Getty Images

 

You can read the full version of this article on SBS News .

การรักษาความปลอดภัยที่สนามบินนั้นมีไว้เพื่อปกป้องท่าน แต่ทว่าอาจส่งผลให้ท่านเป็นหวัดคัดจมูก — หรือเลวร้ายไปกว่านั้นก็ได้

ซึ่งนี่ก็เป็นการเพิ่มถาดตรวจความปลอดภัยที่สนามบินเข้าไปในทุกๆ ที่และทุกพื้นผิวสัมผัสที่เราย้ำถูกเตือนว่าเต็มไปด้วยเชื้อโรค อาทิ — สัตว์เลี้ยงของท่าน ที่นั่งบนรถไฟ ห้องโดยสารเครื่องบิน และ ตู้เอทีเอ็ม

ถาดพลาสติกซึ่งใช้ ณ จุดตรวจที่สนามบินทั่วโลกนั้นได้รับการจับต้องโดยผู้โดยสารเป็นจำนวนนับล้านคน ซึ่งพวกเขาก็จะใช้เพื่อวางรองเท้า แล็ปท็อป สัมภาระ และสิ่งของอื่นๆ เพื่อผ่านเข้าเครื่องตรวจเอ็กซ์เรย์ และได้ถูกพบว่ามีเชื้อโรคหลากชนิด รวมถึงเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยกลุ่มนักวิจัยในยุโรป

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมในประเทศอังกฤษ และจากสถาบันสุขภาพและสวัสดิภาพแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ทำการป้ายพื้นผิวที่ได้รับการสัมผัสเป็นประจำจากสนามบินเฮลซิงกิในฟินแลนด์ในระหว่างชั่วโมงเร่งด่วนและช่วงหลังจากนั้น เมื่อฤดูหนาวของปี ค.ศ. 2016 และก็พบร่องรอยของเชื้อไรโนไวรัส (Rhinovirus) ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัด (common cold) และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (influenza A)

นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยของเชื้อโรคต่างๆ บนถาดสำหรับสัมภาระเป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง ซึ่งมากกว่าพื้นผิวอื่นๆ ที่พวกเขาได้ทำการทดสอบมา

การค้นพบดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารโรคติดเชื้อบีเอ็มซี (BMC Infectious Diseases) ซึ่งก็อาจช่วยเหลือในการปรับปรุงกลยุทธ์ต่างๆ ด้านสาธารณสุขเพื่อต่อสู้กับการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทั่วโลก
Passengers go through airport security.
Passengers go through airport security. Source: Getty
ศาสตราจารย์ด้านการป้องกันสุขภาพจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม คุณโจนาธาน แวน-แทม กล่าวผ่านแถลงการณ์ด้วยอีเมล์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (5 ก.ย.) ว่างานวิจัยดังกล่าวยังอาจช่วยให้ความรู้แก่ผู้คนว่าโรคติดเชื้อซึ่งพวกเราพยายามหลีกเลี่ยงในช่วงฤดูหนาวนั้นติดต่อได้อย่างไร

พื้นผิวหลากหลายชนิดที่เราสัมผัสทุกวันนั้นเป็นแหล่งอาศัยและอาจแพร่เชื้อโรคต่างๆ ซึ่งก็รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ ฟองน้ำล้างจาน และแม้กระทั่งเป็ดลอยในอ่างอาบน้ำที่ดูน่ารัก แต่การเดินทางด้วยอากาศยานนั้นเป็นที่ทราบดีว่าจะเร่งการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปทั่วโลก เช่นเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งแพร่กระจายโดยธรรมชาติ และก็อาจมีกรณีอื่นๆ ซึ่งเป็นการจงใจแพร่กระจายเชื้อโรคได้อีกด้วย

สหภาพยุโรปได้ให้เงินสนับสนุนโครงงานวิจัยซึ่งมีชื่อว่า แพนด์ฮับ (Pandhub) ในเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคซึ่ง “เป็นภัยคุกคามอย่างสูง” โดยผ่านการขนส่งมวลชน ซึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมและสถาบันแห่งฟินเลนด์ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานดังกล่าว

คุณนีนา อิโกเนน นักไวรัสวิทยาจากสถาบันฟินแลนด์ซึ่งมีส่วนร่วมในงานวิจัยกล่าวว่า “จุลชีพต่างๆ ซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมบริเวณสนามบินนั้นไม่เคยได้รับการวิเคราะห์มาก่อน”

เธอเสริมว่า ผลลัพธ์ต่างๆ นั้น จะช่วยให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ เพื่อการปรับปรุงเทคโนโลยีของการออกแบบและรื้อตกแต่งสนามบิน

บริษัท ฟินเอเวีย (Finavia) ซึ่งบริหารจัดการสนามบินเฮลซิงกิกล่าวผ่านอีเมล์ว่า: “ที่สนามบินต่างๆ ของฟินเอเวีย มาตรการด้านสุขอนามัยนั้นปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ” — พื้นผิวต่างๆ นั้นได้รับการทำความสะอาดรายวัน ถาดของจุดตรวจความปลอดภัยและอื่นๆ นั้นก็ได้รับการชำระล้างเป็นประจำ

แถลงการณ์ของกลุ่มนักวิจัยกล่าวว่า ผลของการวิจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นการพิสูจน์ว่าเชื้อไวรัสที่พบอาจก่อให้เกิดโรค แต่งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้เคยพิสูจน์แล้วว่าจุลชีพต่างๆ นั้นสามารถมีชีวิตรอดอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้เป็นเวลาหลายวัน

ศาสตราจารย์แวน-แทม กล่าวว่าการล้างมืออย่างถูกวิธี การไอจามลงในผ้าเช็ดหน้า กระดาษทิสชู หรือใส่แขนเสื้อหากอยู่ในที่สาธารณะนั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคได้

เขาเสริมว่า “การป้องกันง่ายๆ เหล่านี้สามารถช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในบริเวณที่มีคนหนาแน่นเช่นสนามบิน ซึ่งมีจำนวนผู้คนที่เดินทางออกไปและเดินทางมาจากพื้นที่ต่างๆ หลายส่วนของโลก”


Share
Published 7 September 2018 12:19pm
Updated 7 September 2018 1:08pm
By Palko Karasz © 2018 New York Times
Presented by Tanu Attajarusit
Source: The New York Times


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand