ขณะค่าครองชีพพุ่ง คนในออสฯ เหล่านี้มีรายได้แทบไม่พอจ่ายสิ่งจำเป็น

การวิเคราะห์ล่าสุดพบ พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกำลังมีเงินไม่พอราว 180 ดอลล่าร์สำหรับจ่ายสิ่งจำเป็น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าบริการดูแลเด็ก และค่าเล่าเรียน

A woman paying bills with a concerned look on her face

Cost of living pressures continue to hit full-time minimum wage workers hard. Source: Getty

ประเด็นสำคัญ
  • งานวิจัยชิ้นใหม่พบว่าลูกจ้างที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งทำงานเต็มเวลา มีเงินเหลือเพียง 57 ดอลลาร์ หลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นรายสัปดาห์แล้ว
  • พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกำลังมีเงินไม่พอราว 180 ดอลลาร์สำหรับจ่ายสิ่งจำเป็นต่าง ๆ
  • แองกลิแคร์ (Anglicare) กล่าวว่าผู้คนในออสเตรเลียที่ประสบความยากลำบากกำลังหลั่งไหลไปรับความช่วยเหลือจากบริการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน
งานวิจัยใหม่โดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรแองกลิแคร์ ออสเตรเลีย (Anglicare Australia) พบว่าลูกจ้างทำงานเต็มเวลา ที่ได้ค่าจ้างในอัตราค่าแรงขั้นต่ำ แทบไม่มีเงินเหลือหลังจ่ายค่าสิ่งจำเป็นต่าง ๆ แล้ว

การวิเคราะห์ของแองกลิแคร์แสดงให้เห็นว่า พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวกำลังมีเงินไม่พอราว 180 ดอลลาร์สำหรับจ่ายสิ่งที่จำเป็น

ลูกจ้างทำงานเต็มเวลาที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำมีเงินเหลือเพียง 57 ดอลลาร์ หลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นรายสัปดาห์แล้ว ในขณะที่ครอบครัวสมาชิก 4 คน ซึ่งมี 2 คนทำงานเต็มเวลาและได้ค่าแรงขั้นต่ำ มีเงินเหลือเพียง 73 ดอลลาร์ หลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้ว

ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ได้แก่ ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าบริการดูแลเด็ก และค่าเล่าเรียน

ซึ่งหมายความว่า พวกเขาอาจมีเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าบริการโทรคมนาคม ค่าประกัน และค่าของใช้ในครัวเรือน ซึ่งมักจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส

ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดและเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือค่าเช่าบ้าน

ค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30 โดยเฉลี่ยทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2020 ตามข้อมูลของ SQM Research

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2023 อัตราค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศจะอยู่ที่ 23.23 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือ 882.80 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์สำหรับการทำงาน 38 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หลังหักภาษีแล้วจะเท่ากับราว 762 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์
การวิเคราะห์ของแองกลิแคร์ใช้ข้อมูลการสำรวจค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียล่าสุด โดยปรับตามอัตราเงินเฟ้อ

“ตัวเลขเหล่านี้ยืนยันถึงสิ่งที่ชาวออสเตรเลียรู้อยู่แล้ว คือค่าครองชีพพุ่งพรวด ๆ สิ่งจำเป็น เช่น อาหารและค่าเดินทางกำลังพุ่งสูงขึ้น และที่อยู่อาศัยก็มีราคาแพงกว่าที่เคยเป็นมา” คุณเคซี แชมเบอส์ ผู้อำนวยการบริหารของแองกลิแคร์ ออสเตรเลีย กล่าว

“ค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ตั้งแต่ปี 2020 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีหน้า”

แองกลิแคร์กล่าวว่า ค่าครองชีพที่พุ่งสูงส่งผลให้ผู้คนในออสเตรเลียที่ประสบความยากลำบากหลั่งไหลไปรับความช่วยเหลือจากบริการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งองค์กรเหล่านั้นเองก็กำลังประสบความกดดันอย่างหนักและและไม่สามารถช่วยเหลือทุกคนที่ลำบากได้

ผู้ให้บริการของแองกลิแคร์เองหลายรายรายงานว่า มีความต้องการรับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงจากคนที่ทำงานและได้รับค่าจ้าง

“ผู้คนที่มีรายได้น้อยไม่ได้สร้างวิกฤตเงินเฟ้อและค่าครองชีพในออสเตรเลีย พวกเขาไม่ควรถูกขอให้ต้องแบกรับความยากลำบากเพราะเรื่องนี้” คุณแชมเบอส์ กล่าว

ค่าพลังงานได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 โดยเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และตั้งแต่เดือนกรกฎาคมคาดว่าครัวเรือนต่าง ๆ จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 19.6-24.9 ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กเผชิญกับค่าพลังงานที่จะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 14.7-28.9

เพื่อรับมือกับการปรับขึ้นราคาพลังงานที่คาดไว้ รัฐบาลได้ระบุในร่างงบประมาณรัฐบาลเดือนพฤษภาคมจะใช้งบ 3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อบรรเทาทุกข์เรื่องพลังงานให้แก่ประชาชนโดยตรง


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 26 June 2023 1:12pm
By Madeleine Wedesweiler
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand