ราคาสินค้าอาหารในออสฯ บางชนิด 'พุ่งแรงแซงเงินเฟ้อ'

ขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานบางอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนมและขนมปังกลับมีราคาเพิ่มสูงมากจนน่าตกใจ

An older women shopping in the bread aisle at Woolworths

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (ABS) ราคาขนมปังและซีเรียลได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ในปีที่ผ่านมา Source: Getty / Xinhua News Agency/Xinhua News Agency

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • อัตราเงินเฟ้อรายปีล่าสุดแตะที่ระดับร้อยละ 7 แต่สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการกลับมีราคาเพิ่มสูงมาก
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมราคาเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 15 ส่วนขนมปังราคาขึ้นเกือบร้อยละ 12
  • กลุ่มสนับสนุนระบุว่า รัฐบาลจำเป็นต้องให้การสนับสนุนผู้ที่กำลังเผชิญกับความยากจนให้มากกว่านี้
หากราคาที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคดูเหมือนว่าจะแพงขึ้นทุกครั้งที่ไปซื้อของ สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณคนเดียว อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ได้กลายเป็นปัญหาต่อเนื่องไปทั่วออสเตรเลียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคคือหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ชาวออสเตรเลียรู้สึกลำบากใจ

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เม.ย.) สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (ABS) ได้เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งจะวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในช่วง 3 เดือนก่อนเดือนมีนาคม ทำให้อัตราเงินเฟ้อรายปีอยู่ที่ร้อยละ 7 แต่สำหรับราคาสินค้าในชีวิตประจำวัน อัตราการเพิ่มขึ้นของราคานั้นสูงกว่ามาก

สินค้าอุปโภคบริโภคชนิดใดราคาขึ้นมากที่สุด

อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด ตามหลังด้วยสินค้าหมวดที่อยู่อาศัย และหมวดกิจกรรมนันทนาการและวัฒนธรรม

สำหรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคนั้น พบสินค้าที่ทำจากนมมีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด มีอัตราเพิ่มขึ้นรายปีที่ร้อยละ 14.9 ส่วนขนมปังนั้นราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 และผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (n.e.c) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3
Graph showing price increase across categories of grocery items.
อัตราเงินเฟ้อรายปีของออสเตรเลียอยู่ที่ร้อยละ 7 แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคบางอย่างกลับราคนเพิ่มสูงกว่านั้น Source: SBS
เจย์ คูแนน (Jay Coonan) ผู้ร่วมประสานงานที่ศูนย์ต่อต้านความยากจน (Antipoverty Centre) กล่าวว่า ผู้จับจ่ายซื้อของต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่าย

"นี่คือสิ่งที่เราเห็นมันเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ผู้คนไม่ซื้อสินค้าสดอีกต่อไป และกำลังซื้อผักผลไม้แช่แข็ง" คุณคูแนนกล่าว

"ขณะที่ผู้คนพึ่งพาสินค้าแช่แข็งอย่างต่อเนื่อง พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสิ่งนั้นได้โดยง่ายอีกต่อไป เพราะผู้คนจำนวนมากเปลี่ยนไปพึ่งพาสิ่งนี้"

ปัจจัยต่าง ๆ อย่างเข่น สงครามในยูเครน ผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากไวรัสโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่รายงานจากสถาบันออสเตรเลีย (Australia Institute) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยังได้ระบุอีกว่า บริษัทต่าง ๆ ก็ขึ้นราคาสินค้าเกินกว่าที่จำเป็นด้วย

คูณคูแนน กล่าวว่า ผลสำรวจที่จัดทำโดยศูนย์ต่อต้านความยากจน พบว่าร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกที่จะอดมื้อกินมื้อ อันเป็นผลจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

"ตอนนี้ผู้คนเลือกที่จะอด มันไม่มีทางเลือกอื่น"

คุณจะประหยัดในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างไร

เมื่อพูดถึงการลดแรงกดดันจากค่าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค มีขั้นตอนต่าง ๆ ที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายของคุณ

เลียม เคเนดี (Liam Kennedy) โฆษกของกลุ่มทำงานเพื่อผู้บริโภค “ชอยซ์ (CHOICE)” แนะนำว่าอย่าซื้อของแบบ “ออโต้ไพลอต” แต่ควรพิจารณาอย่างระมัดระวังว่าคุณจ่ายเงินไปเท่าไหร่กับสินค้าแต่ละชิ้น

"เราทุกคนทำเช่นนี้เป็นครั้งคราว การซื้อแต่เพียงของเดิมจากแบรนด์เดียวกัน … ให้ความสนใจกับสิ่งที่คุณซื้อมากขึ้น และวิธีนี้จะทำให้คุณได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า" คุณเคเนดี กล่าว

"อีกตัวอย่างหนึ่งของการทำเช่นนี้คือการดูสิ่งต่างๆ อย่างเช่น การกำหนดราคาต่อหน่วย ราคาต่อ 100 กรัม ซึ่งช่วยให้คุณเปรียบเทียบราคาที่ต่างกันกับน้ำหนักที่ต่างกันได้"

"และซื้อของแบบยกโหลหากเป็นไปได้ ... ซึ่งปกติแล้วจะคุ้มค่ากว่า"

ขึ้นอยู่กับพื้นที่ซึ่งคุณอาศัยอยู่ คุณคูแนนกล่าวว่า ตู้กับข้าวชุมชน (community pantries) ธนาคารอาหาร และมูลนิธิต่าง ๆ ทั้งหมดนี้สามารถให้การสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว เขากล่าวว่า รัฐบาลควรเพิ่มเงินสนับสนุนสำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับความยากจน

"นี่คือทั้งหมดที่เราทำได้ในจุดนี้ เพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้คนอยู่เหนือเส้นแบ่งความยากจน และพวกเขาสามารถที่จะมีกำลังซื้อสินค้าที่จำเป็นในการมีชีวิตรอด" คุณคูแนนกล่าว

"ค่าจ้างนั้นไม่ยั่งยืน ดังนั้นคุณจะมีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้ค่าจ้างในความเป็นจริงที่น้อยกว่า ... ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง"


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 28 April 2023 5:16pm
By Jessica Bahr
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand