ออสเตรเลีย ‘ละเมิดพันธกรณีนานาชาติ’ โดยไม่ให้วีซ่าเด็กสมองพิการ

นายเบ็น กันท์เลตต์ กรรมาธิการต่อต้านการเลือกปฏิบัติเพราะความทุพพลภาพ กล่าวว่า การปฏิเสธที่จะให้วีซ่าแก่เด็กชายวัย 6 ปี ที่มีภาวะสมองพิการ ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องยุติการเลือกปฏิบัติ

Seneta wa chama cha Australian Greens Jordon Steele-John.

Seneta wa chama cha Australian Greens Jordon Steele-John, akizungumza ndani ya seneti. Source: AAP

นายเบ็น กันท์เลตต์ (Ben Gauntlett) กรรมาธิการต่อต้านการเลือกปฏิบัติเพราะความทุพพลภาพ กล่าวว่า การที่รัฐบาลออสเตรเลียปฏิเสธที่จะให้วีซ่าแก่เด็กชายวัย 6 ปี ที่มีภาวะสมองพิการ เป็นการละเมิดพันธกรณีนานาชาติของออสเตรเลีย

เอบีซีได้รายงานว่า เมื่อเดือนที่แล้วเด็กชายคนดังกล่าว คือ คายาน แคทยาล (Kayaan Katyal) ได้ถูกปฏิเสธวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร เนื่องจากความพิการทุพพลภาพของเขาจะก่อให้เกิด “ค่าใช้จ่ายที่เกินควร” สำหรับชุมชนออสเตรเลีย

นายกันท์เลตต์ ได้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ในการประชุมประมาณการงบประมาณของวุฒิสภาในเย็นวันอังคาร ซึ่งเขาถูกถามเกี่ยวกับการจัดการของรัฐบาลในกรณีที่ว่านี้
Disability Discrimination Commissioner Ben Gauntlett.
Disability Discrimination Commissioner Ben Gauntlett. Source: Supplied
เขากล่าวว่า การปฏิเสธวีซ่าที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปพระราชบัญญัติด้านการย้ายถิ่นฐาน (Migration Act) เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่มีความพิการทุพพลภาพ

“ผมคิดว่าค่อนข้างชัดเจนทีเดียวว่า กรณีของ ดช.แคทยาล ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปพระราชบัญญัติด้านการย้ายถิ่นฐานในเรื่องนี้ และเป็นที่น่าสังเกตว่า นี่เป็นสิ่งที่ประเทศแคนาดาได้ทำ” นายกันท์เลตต์ กล่าว

เกี่ยวกับกฎหมายที่ทำให้พระราชบัญญัติการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติส่วนใหญ่ด้านการเลือกปฏิบัติที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกปฏิบัติเพราะความพิการทุพพลภาพ (Disability Discrimination Act)

กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียแย้งว่า นโยบายด้านการย้ายถิ่นฐานประเมินแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน และพิจารณาดูว่ามันจะส่งผลให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการเข้าถึงบริการที่โดยทั่วไปก็ขาดแคลนอยู่แล้วหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นายกันท์เลตต์ กล่าวว่า การใช้นโยบายนี้ต่อผู้ทุพพลภาพขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของบุคคลที่มีความพิการทุพพลภาพ

“มีข้อโต้แย้งที่สำคัญอย่างยิ่งว่า ความจริงแล้ว นี่เป็นสิ่งที่ขัดต่อมาตรา 18 ในเรื่องสิทธิ์ของบุคคลที่มีความพิการทุพพลภาพ”
ดช.คายาน แคทยาล เกิดในออสเตรเลีย หลังจากพ่อของเขาได้ย้ายถิ่นฐานจากอินเดียมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อ 12 ปีก่อน เพื่อเรียนการทำอาหารยุโรปและทำงานเป็นเชฟ นางปริยาคา แม่ของคายาน เดินทางมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อ 8 ปีก่อน

เมื่อเดือนที่แล้ว คายาน ได้รับจดหมายแจ้งการปฏิเสธวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร โดยระบุว่า การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของเขา “ดูเหมือนว่าจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินควรอย่างมีนัยสำคัญต่อชุมชนออสเตรเลียในด้านบริการสุขภาพและ/หรือบริการชุมชน”

วุฒิสมาชิก จอร์แดน สตีล-จอห์น ของพรรคกรีนส์ ซึ่งตัวเขาเองนั้นมีภาวะสมองพิการด้วยเช่นกัน กล่าวว่า เขาเชื่อว่า การตัดสินใจในกรณีนี้ของรัฐบาลก่อให้เกิดความน่าวิตกตามมา

“มันทำให้ผมรู้สึกวิตกอย่างมากว่า เด็กที่มีภาวะสมองพิการต้องเผชิญการถูกเนรเทศ เพียงเพราะความพิการทุพพลภาพของพวกเขา”

“ระบบเอ็นดีไอเอส (NDIS) ของเราทุกวันนี้ ตระหนักว่าความพิการทุพพลภาพไม่ได้ดึงทรัพยากรออกไปอย่างล้นหลามจากระบบสุขภาพ”
นายกันท์เลตต์ ขอให้นายอเล็กซ์ ฮอว์ค รัฐมนตรีด้านการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลีย ให้ใช้ “ดุลยพินิจ” ของตน “อย่างมีมนุษยธรรม” เกี่ยวกับกรณีของ ดช.คายาน

ประเทศแคนาดาได้ปฏิรูปพระราชบัญญัติด้านการย้ายถิ่นฐานของตนในปี 2018 หลังเผชิญการตำหนิในทำนองเดียวกัน

โฆษกของกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย ระบุว่า กระทรวงไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้สมัครขอวีซ่าที่มีความพิการทุพพลภาพ และการตัดสินใจของกระทรวงนั้น “ทำได้ในทางปฏิบัติและสมดุลระหว่างความเห็นอกเห็นใจและการควบคุมด้านค่าใช้จ่าย”

“ความพิการทุพพลภาพโดยลำพังนั้นไม่ได้ส่งผลให้บุคคลนั้นล้มเหลวที่จะผ่านข้อกำหนดด้านสุขภาพ” โฆษกกระทรวงระบุ

“นโยบายปัจจุบันไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อผู้สมัครที่มีความพิการทุพพลภาพหรือมีความเจ็บป่วย หรือมีทั้งสองอย่าง โดยผู้สมัครทุกคนได้รับการปฏิบัติด้วยอย่างเท่าเทียมกันและอย่างยุติธรรม”

โฆษกยังกล่าวว่า กระทรวงจะไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะ

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 26 March 2021 12:29pm
By Tom Stayner
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand