เสนอออสเตรเลียเน้นศักยภาพผู้อพยพหนุ่มสาว

สถาบันนโยบายสาธารณะแนะปรับเงื่อนไขวีซ่าทำงานแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์ให้ครอบคลุมทุกอาชีพหากมีรายได้ต่อปี 80,000 ดอลลาร์ขึ้นไป มุ่งดึงดูดผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรวัยหนุ่มสาว

Temporary migrant

Australian government announces major visa concessions for temporary graduates stuck offshore. Source: AAP

สถาบันกรัตตัน (Grattan Institute) เสนอปฏิรูประบบรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพของออสเตรเลียให้เอื้อต่อผู้ย้ายถิ่นฐานวัยหนุ่มสาวและยกเลิกวีซ่าลงทุนธุรกิจ คาดช่วยประเทศประหยัดหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี

รายงานของสถาบันที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษภาคมระบุว่า รัฐบาลจัดสรรที่เพิ่มเติมแก่วีซ่าประเภทลงทุนธุรกิจ (business investment) และประเภทผู้มีทักษะสูงจากนานาประเทศ (global talent) นโยบายนี้ "เดินผิดทาง” โดยแย่งจำนวนอนุมัติวีซ่าถาวรจากแรงงานทักษะ ซึ่งมักมีอายุน้อยกว่าและมีแนวโน้มสร้างรายรับสูงกว่าในระยะยาว

สถาบันกรัตตันให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน 1 ใน 4 ของวีซ่าถาวรสำหรับผู้มีทักษะอาชีพจัดสรรไว้สำหรับกระตุ้นการลงทุนธุรกิจและดึงดูดผู้มีทักษะสูงจากทั่วโลก

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีการเปิดเผยต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาว่า รัฐบาลปรับแผนจำนวนรับผู้ย้ายถิ่นฐานเพิ่ม 1,500 ที่สำหรับวีซ่าทำงานประเภทมีนายจ้างสปอนเซอร์ (employer-sponsored) เพิ่ม 1,000 ที่สำหรับวีซ่าทักษะอิสระ (skilled independent) และเพิ่ม 1,950 ที่สำหรับวีซ่าในส่วนภูมิภาค ขณะที่อัตรารับวีซ่านวัตกรรมธุรกิจ (business innovation) และผู้มีทักษะสูงจากนานาประเทศ (global talent) ลดลง 2,500 ที่และ 4,000 ที่ ตามลำดับ
“พอกลับมาเปิดพรมแดน ออสเตรเลียต้องกล้าเลือกผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรที่มีทักษะอาชีพโดยมุ่งเน้นศักยภาพทางเศรษฐกิจระยะยาวของคนกลุ่มนี้” เป็นความเห็นของนายเบรนแดน โคตส์ (Brendan Coates) ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจของสถาบันกรัตตัน และผู้เขียนร่วมของรายงานฉบับดังกล่าว

“ผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพมักอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีทักษะหลากหลาย และมีรายได้สูงกว่าชาวออสเตรเลียทั่วไป ดังนั้น คนกลุ่มนี้สร้างเม็ดเงินแก่ออสเตรเลีย เพราะพวกเขาจ่ายภาษีมากกว่าที่รับผ่านบริการภาครัฐและประโยชน์สาธารณะตลอดช่วงชีวิต”

วีซ่านวัตกรรมและการลงทุนธุรกิจ (Business Innovation and Investment) อนุมัติให้ผู้ประกอบธุรกิจในออสเตรเลียโดยผู้สมัครมักค่อนข้างมีอายุ ส่วนวีซ่าผู้มีทักษะสูงจากนานาประเทศ (Global Talent) เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ย้ายถิ่นฐานที่เป็นที่ยอมรับระดับสากลในสายอาชีพของตน 

สถาบันกรัตตันเสนอว่า ควรยกเลิกวีซ่า Business Innovation and Investment เพราะมีนักลงทุนไม่มากที่ “อุดหนุนเงินทุนแก่โครงการที่ไม่อาจเกิดขึ้นผ่านแนวทางอื่น”

ส่วนวีซ่า Global Talent ที่ขยายจากโครงการนำร่องกลายเป็นวีซ่าที่ได้โควตาถึง 11,000 ที่ในปีงบประมาณ 2020-21 รายงานชี้ว่ามูลค่าของวีซ่านี้ “ยังไม่ได้รับการพิสูจน์”
รายงานของสถาบันกรัตตันยังเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนรับผู้ย้ายถิ่นฐานผ่านวีซ่าแรงงานทักษะแบบนับคะแนน (point-tested) และวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ พร้อมทั้งแนะนำให้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางประการ

อาทิ ยกเลิกรายการทักษะอาชีพขาดแคลน (skill shortages list) ซึ่งเน้นผู้สมัครจากบางสาขาอาชีพ และเพิ่มอัตรารายได้ขั้นต่ำของวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์สำหรับทุกอาชีพ จาก 53,900 ดอลลาร์เป็น 80,000 ดอลลาร์ต่อปี

รายงานชี้ว่า ข้อเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีทักษะตามต้องการที่สุดและช่วยประหยัดงบประมาณของชาติอย่างน้อย 9 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

“ข้อดีอย่างหนึ่งของมหันตภัยโควิดคือ เป็นโอกาสให้ออสเตรเลียทบทวนปรับปรุงโครงการรับแรงงานทักษะ” นายโคตส์กล่าว

“รายงานของเราชี้ถึงวิธีที่เราสามารถใช้โอกาสนี้สร้างชาติออสเตรเลียให้เป็นประเทศที่ดีกว่าเดิม ทั้งสำหรับพวกเราที่อาศัยอยู่ที่นี่แล้ว และสำหรับผู้ที่ใฝ่ฝันอยากมาที่นี่”
ร่างงบประมาณแผ่นดินที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคมแสดงให้เห็นข้อสันนิษฐานของรัฐบาลว่า พรมแดนระหว่างประเทศอาจปิดจนกว่าช่วงกลางปี 2022

โครงการย้ายถิ่นฐานจำกัดเพดานอยู่ที่ 160,000 ที่ในปีงบประมาณ 2021-22 การคลังประมาณการว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองปีอัตราการย้ายถิ่นฐานจึงจะฟื้นคืนสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด

ปีงบประมาณนี้ คาดว่าออสเตรเลียจะมีจำนวนการอพยพย้ายถิ่นฐานต่างประเทศสุทธิ (net overseas migration) ติดลบ 96,600 คน หลังจากวิกฤตโควิดระบาดปีที่แล้วส่งผลให้


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 3 June 2021 12:11pm
By Maani Truu
Presented by Phantida Sakulratanacharoen


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand