แบงก์ชาติออสฯ ขึ้นดอกเบี้ยรอบ 8 ธนาคารใหญ่ปรับเรตกระทบคนกู้บ้าน

ธนาคารใหญ่ในออสฯ 4 แห่ง ประกาศส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานใหม่จากแบงก์ชาติอย่างเต็มที่ก่อนคริสต์มาสปีนี้

People walking past a Westpac sign

Westpac is among the big banks that have announced the will pass on the latest rate rise in full. Source: AAP / Kelly Barnes

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็นครั้งที่ 8 อีก 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานปัจจุบันอยู่ที่ 3.1%
  • การปรับขึ้นในครั้งนี้นับว่าสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2012 ที่ผ่านมา ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดอาจปรับขึ้นอีกรอบในเดือนกุมภาพันธ์ 2023
  • รัฐมนตรีคลังชี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติหลายครั้ง “กำลังทำให้เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรงและหนักหน่วง” ต่อครัวเรือนในออสเตรเลีย
ผู้กู้เงินซื้อบ้านกำลังจะต้องพบกับภาระในการจ่ายค่างวด หลังธนาคารใหญ่ของออสเตรเลีย 4 แห่งประกาศว่า จะส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (cash rate) ของธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) อย่างเต็มที่

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอีกร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของออสเตรเลียอยู่ที่ร้อยละ 3.1 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 8 ในรอบหลายเดือน ซึ่งเริ่มต้น ในความพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นของธนาคารสำรอง ฯ

ธนาคารคอมมอนเวลธ์ (CBA) ธนาคารเนชันแนล ออสเตรเลีย แบงค์ (NAB) และธนาคารออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ (ANZ) ประกาศเมื่อวานนี้ (6 ธ.ค.) ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.นี้ ขณะที่ธนาคารเวสท์แพคระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของทางธนาคารจะมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.นี้

แต่ในขณะที่ธนาคารเวสแพค และธนาคารคอมมอนเวลธ์ กล่าวว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้กับบัญชีเงินฝาก แต่ธนาคารเนชันแนล ออสเตรเลีย แบงค์ (NAB) และธนาคารออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ (ANZ) ยังไม่มีการประกาศการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้

การชำระค่างวดของผู้ถือสินเชื่อบ้านจะเพิ่มขึ้นไปเท่าไหร่

อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไม่เคยเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 3 นับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2013 หรือเกินกว่าร้อยละ 3.1 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2012 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในเวลานั้นอยู่ที่ร้อยละ 3.25

การตัดสินใจของธนาคารสำรอง ฯ และการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ตามมานั้น จะสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ถือสินเชื่อบ้านเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนจะถึงเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แรงกดดันค่าครองชีพกำลังบีบคั้นกับเงินในกระเป๋าอยู่แล้ว

ข้อมูลจากเว็บไซต์เปรียบเทียบทางการเงินแคนสตาร์ (Canstar) ระบุว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานร้อยละ 0.25 จะทำให้ผู้ถือสินเชื่อบ้านต้องจ่ายค่างวดเพิ่มขึ้น
  • 79 ดอลลาร์ต่อเดือน สำหรับวงเงินกู้ 500,000 ดอลลาร์ ระยะเวลา 30 ปี
  • 160 ดอลลาร์ต่อเดือน สำหรับวงเงินกู้ 1 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 30 ปี
ส่วนการคำนวณจากเว็บไซต์เรทซิตี้ (RateCity) แสดงให้เห็นว่า จำนวนค่างวดที่ต้องชำระสำหรับวงเงินกู้เฉลี่ย 750,000 ดอลลาร์ที่เหลือระยะเวลาสินเชื่อ 25 ปี เพิ่มขึ้น 1,251 ดอลลาร์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
A man wearing a suit and tie who is speaking.
ฟิลลิป โลว์ ผู้ว่าแบงก์ชาติออสฯ ชี้ "ปัจจัยในระดับโลก" อยู่เบื้องหลังอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นซึ่งออสเตรเลียกำลังเผชิญ Source: AAP / Diego Fedele
“อัตราเงินเฟ้อในออสเตรเลียนั้นสูงเกินไปที่ 6.9% ในรอบปีนี้จนถึงเดือนตุลาคม” ฟิลลิป โลว์ (Philip Lowe) ผู้ว่าการธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลียกล่าว

“ปัจจัยในระดับโลกอธิบายถึงอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงนี้ได้มาก แต่อุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแรง ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการตอบสนองอุปสงค์เหล่านั้นก็มีบทบาทเช่นกัน การทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในเป้าหมายนั้นจำเป็นต้องมีสมดุลที่ยั่งยืนมากขึ้นระหว่างอุปสงค์และอุปทาน”

2 ใน 4 ธนาคารรายใหญ่ในออสเตรเลีย ได้แก่ ธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) และธนาคารเวสท์แพค (Westpac) ได้คาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอาจเพิ่มสูงถึงร้อยละ 3.85 ภายในเดือนพฤษภาคมปี 2023

การวิเคราะห์ของเว็บไซต์แคนสตาร์ได้ชี้อีกว่า การเพิ่มขึ้นโดยรวมของค่างวดสินเชื่อบ้านจากเดือนพฤษภาคมปีนี้ จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2023 สำหรับวงเงินกู้ 500,000 ดอลลาร์ ระยะเวลา 30 ปี อาจเพิ่มขึ้นถึง 1,133 ดอลลาร์ต่อเดือน

ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ รับรู้ว่านโยบายทางการเงินนั้นดำเนินไปด้วยความหน่วง และผลกระทบจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างเต็มที่ยังคงรู้สึกไม่ได้ในการชำระค่างวดสินเชื่อบ้าน

การวิเคราะห์ของแคนสตาร์ในส่วนของข้อมูลเงินออมในครัวเรือนจากหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงออสเตรเลีย (Australian Prudential Regulation Authority's household savings data) และสถิติบัตรเครดิตจากธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA credit card statistics) แสดงให้เห็นว่า
  • อัตราการออมในครัวเรือน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 10 ในรอบปีนี้
  • และดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ก่อให้เกิดหนี้สิน ลดลงไปเกือบร้อยละ 5 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
“ชาวออสเตรเลียไม่ได้เตรียมรับมือวิกฤตมากนัก เนื่องจากการใช้จ่ายภาคค้าปลีกยังไม่มีการชะลอตัวครั้งใหญ่ แต่แน่นอนว่าพวกเขามองว่าจะออมเงินไว้เป็นกันชน” สตีฟ มิคเคนเบ็คเกอร์ (Steve Mickenbecker) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากแคนสตาร์กล่าว

RBA คาดอัตราดอกเบี้ยอาจขึ้นไปอีก

คุณโลว์ ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ คาดว่า อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในอนาคตจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ก็ได้กล่าวเสริมว่า บอร์ดธนาคารสำรอง ฯ “ไม่ได้อยู่ในทิศทางที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า”

คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของธนาคารสำรอง ฯ ระบุว่าจะถึงจุดสูงสุดที่ประมาณร้อยละ 8 ในรอบปีนี้จนถึงไตรมาสเดือนธันวาคม ก่อนที่จะเริ่มลดลงในปีหน้า คาดการณ์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า ธนาคารสำรอง ฯ ต้องการให้อัตราเงินเฟ้อกลับลงมาที่เป้าหมายในระยะร้อยละ 2-3 เมื่อเวลาผ่านไป
นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า แม้จะไม่มีการประชุมบอร์ดธนาคารสำรอง ฯ ในเดือนมกราคม แต่ก็คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์

คุณโลว์เสริมว่า เศรษฐกิจออสเตรเลียนั้น “ยังคงเติบโตอย่างแข็งแรงต่อเนื่อง แต่การเติบโตในลักษณะนั้นคาดว่าจะชะลอตัวในช่วงปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว”

‘ผลที่ตามมาอย่างรุนแรงและหนักหน่วง’ ของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

จิม ชาลเมอส์ รัฐมนตรีคลังออสเตรเลีย กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในหลายครั้ง “ทำให้เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรงและหนักหน่วงต่องบประมาณในครัวเรือนและผู้ถือสินเชื่อบ้านเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว” และได้เสริมว่า ผลกระทบอย่างเต็มที่จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในหลายครั้งก็ยังคงกำลังจะรู้สึกได้

“แถลงการณ์ของธนาคารสำรอง ฯ ในวันนี้ค่อนข้างชัดเจนว่า พวกเขายังได้คาดว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะชะลอตัวลงในระยะเวลาข้างหน้า แต่ระยะเวลาและขอบเขตของการชะลอตัวนี้ยังไม่มีความแน่นอน” รัฐมนตรีชาลเมอส์กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในนครซิดนีย์

แต่ในแง่บวกนั้น รัฐมนตรีคลังของออสเตรเลียได้เน้นย้ำถึงอัตราการว่างงานในระดับต่ำ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับสูงในออสเตรเลีย แต่ก็ได้กล่าวว่า สงครามในยูเครนยังคงส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน
ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของออสเตรเลียลดลงไปเหลือร้อยละ 3.4 เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1974 ขณะที่ตัวเลขต่าง ๆ ในด้านการเติบโตของประเทศนั้น จะมีการเผยแพร่ออกมาในวันที่ 7 ธ.ค.นี้

แองกัส เทเลอร์ (Angus Tayloy) โฆษกด้านการคลังจากฝ่ายค้าน กล่าวบุว่ารัฐบาลกำลังผิดพลาดในการต่อสู้กับแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่ต้นตอ

“ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวของพวกเขาในการแก้ปัญหาแรงกดดันด้านราคาพลังงาน หรือความล้มเหลวในการควบคุมภาคการใช้จ่าย การเพิกเฉยของรัฐบาลชุดนี้กำลังเพิ่มแรงกดดันให้กับเงินในกระเป๋าของหลายครอบครัวในออสเตรเลียที่ทำงานอย่างหนัก” คุณเทเลอร์ โฆษกด้านการคลังจากฝ่ายค้านกล่าว

มีรายงานเพิ่มเติมจาก AAP

Share
Published 7 December 2022 2:47pm
Updated 7 December 2022 4:32pm
By Caroline Riches
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand