Analysis

คนว่างงานออสฯ ต่ำสุดในหลายสิบปี แต่ทำไมคนหางานบางกลุ่มยังดิ้นรน

สำนักงานสถิติเผยอัตราคนว่างงานในออสเตรเลียต่ำสุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่คนบางกลุ่มกลับถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เป็นเพราะเหตุใด

Four women in black t-shirts stand together with signs around their necks saying which language they speak.

Tania Abdul Muti, right, says language barriers made it difficult to get a job in Australia. Source: Supplied / Tania Abdul Muti / Community Migrant Resource Centre

ประเด็นสำคัญ
  • ผู้มีภูมิหลังหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษาประสบปัญหาในการหางานทำในออสเตรเลีย
  • กำแพงภาษา ขาดประสบการณ์ทำงานในออสเตรเลีย ปัญหาและคุณวุฒิไม่ได้รับการยอมรับในออสเตรเลีย คืออุปสรรคสำคัญในการหางานของผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย
  • กำลังมีการทบทวนการทำงานของบริการจัดหางานที่เริ่มมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน ขณะที่ผู้ให้บริการหางานมองว่าควรปรับปรุงการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
เมื่อช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขคนว่างงานในออสเตรเลียได้ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่ว่าตัวเลขดังกล่าวไม่ได้สะท้อนภาพของภาวะว่างงานในทุกกลุ่มประชากร

จากข้อมูลของ ร้อยละ 23.5 ของประชากรว่างงานในออสเตรเลียนั้นมาจากพื้นที่ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก

กำแพงด้านภาษา การขาดประสบการณ์ทำงานในออสเตรเลีย เครือข่ายสังคมที่จำกัด และปัญหาทักษะและคุณวุฒิไม่ได้รับการยอมรับในออสเตรเลีย ยังคงเป็นความท้าทายในการหางานสำหรับผู้มองหางานเหล่านี้

แม้ภาวะเงินเฟ้อในออสเตรเลียจะยังเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราคนว่างงานกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขล่าสุดที่เปิดเผยโดยสำนักงานสถิติ ฯ ในวันนี้ (18 ส.ค.) แสดงให้เห็นอัตราคนว่างงานปัจจุบันซึ่งระหว่างร้อยละ 3-4 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1974

ทาเนีย อับดุล มูติ (Tania Abdul Muti) และครอบครัวของเธอ คือหนึ่งในผู้ที่กำลังดิ้นรนอยู่ในตลาดงาน ทั้งหมดเดินทางมาถึงออสเตรเลียในปี 2016 เพื่อหาความปลอดภัยและความมั่นคง

ทาเนีย ชาวปาเลสไตน์ เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยในเลบานอน ต่อมาได้ใช้เวลาอยู่ในอินโดนีเซีย 3 ปีในฐานะผู้ขอลี้ภัย ก่อนที่จะเดินทางมาถึงออสเตรเลียด้วยวีซ่าด้านมนุษยธรรม

แต่เมื่อเดินทางมาถึงออสเตรเลียแล้ว เธอต้องใช้เวลาถึง 5 ปีในการหางาน

“ฉันมีลูก 2 คนตอนมาถึงออสเตรเลีย และมันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยู่ที่อินโดนีเซีย เราไม่ได้ทำงาน มันเหมือนกับว่าชีวิตเราหยุดกับที่ไป 3 ปี” เธอกล่าว

“มันไม่ง่าย คุณต้องมีข้อมูลมาหนุนในเรซูเม่ ไปลงเรียนคอร์สต่าง ๆ ต้องมีประสบการณ์ในท้องถิ่น เพื่อที่นายจ้างจะวางใจว่าคุณเหมาะสม มันค่อนข้างยากในตอนแรกเพื่อที่จะได้รับโอกาส”

ทาเนียไม่ใช่คนเดียวที่ต้องพบกับความยากลำบากในลักษณะนี้

รายงานเกี่ยวกับผู้อพยพย้ายถิ่นในกำลังคนทำงานของออสเตรเลีย () ซึ่งจัดทำโดยสถาบันแกรทแทน (The Grattan Institute) ได้วิเคราะห์บทบาทของผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีต่อตลาดแรงงานของออสเตรเลีย พบว่าคนทำงานในออสเตรเลียประมาณ 1 ใน 3 เกิดในต่างประเทศ ขณะที่ผู้อพยพที่เพิ่งเดินทางมาถึงใหม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผู้ที่เดินทางมาถึงภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของแรงงานในออสเตรเลีย

รายงานดังกล่าวยังพบอีกว่า ผู้ถือวีซ่าครอบครัวทำงานในอัตราเดียวกับคนทำงานที่เกิดในออสเตรเลีย ขณะที่ผู้ถือวีซ่ามนุษยธรรมนั้นมีแนวโน้มที่แย่ลง

แม้การมีลูกหลังเดินทางมาถึงออสเตรเลียจะเป็นสิ่งที่ทาเนียบอกว่าทำให้การหางานของเธอช้าลง แต่ปัจจัยสำคัญก็คือกำแพงเรื่องภาษา และการพยายามหาประสบการณ์ทำงานในท้องถิ่น
A man, woman, two teenage sons and one young girl stand together.
ทาเนีย อับดุล มูติ มาออสเตรเลียพร้อมกลับครอบครัวในปี 2021 ด้วยวีซ่ามนุษยธรรม หลังใช้เวลาขอลี้ภัยอยู่ในอินโดนีเซียเป็นเวลา 3 ปี Source: Supplied / Tania Abdul Muti
ส่วนสามีของทาเนียก็พบเจอกับความท้าทายไม่ต่างกัน ในการทำให้คุณวุฒิของเขาได้รับการยอมรับในออสเตรเลีย

“ฉันกำลังเรียนคอร์สต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม ฉันลงเรียนหลายคอร์สมาก และไปรับการฝึกอบรมคุณวุฒิหลายที่เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทำงาน” เธอกล่าว

“มันยากมากที่จะได้รับการยอมรับจากนายจ้าง มันไม่ง่ายเลย ... ไม่มีใครอยากเสี่ยงรับคนที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม หรือมีวัฒนธรรมที่แตกต่างเข้าทำงาน มันไม่ง่ายที่พวกเขาที่จะเชื่อใจ”

“ฉันได้ไปที่บริการจัดหางาน และฉันก็บอกว่าฉันมีประสบการณ์ ฉันรู้วิธีการทำงาน ขอเพียงให้โอกาสฉันได้เข้าใจประเทศนี้ มันเครียดมากสำหรับฉัน”

มีการสนับสนุนอะไรให้ผู้มาถึงออสเตรเลียใหม่บ้าง

เวิร์คฟอร์ซ ออสเตรเลีย (Workforce Australia) บริการด้านการจ้างงานซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลชุดก่อน ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้คนในการก้าวเข้ามา หรือเปลี่ยนผ่านไปสู่การจ้างงานที่มั่นคง ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีความต้องการ

ภายใต้โครงการดังกล่าว ผู้ให้บริการจะมอบบริการต่าง ๆ ที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งรวมถึงล่ามแปลภาษา โครงการเรียนภาษาอังกฤษ การเชื่อมต่อไปยังที่ปรึกษาและบริการด้านสุขภาพจิตที่ได้รับการสนับสนุน และการฝึกอบรมก่อนเข้ารับการจ้างงาน (pre-employment training)
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โทนี เบิร์ก (Tony Burke) รัฐมนตรีด้านการจ้างงานและสถานประกอบการสัมพันธ์ ได้ประกาศทบทวน การดำเนินงานของบริการดังกล่าว หลังได้รับข้อร้องเรียนในเรื่องการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ปัญหาในการเข้าถึงบริการทางออนไลน์ และปัญหาการมองข้ามผู้อพยพและผู้ลี้ภัย

ด้านโฆษกหน่วยงานการจ้างงานและสถานประกอบการสัมพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการประเมินว่ามีผู้ที่ได้รับการจ้างงานผ่านบริการของ Workforce Australia เป็นจำนวนเท่าใด

“คณะกรรมาธิการที่ได้รับการคัดเลือกในกรณีของ เวิร์คฟอร์ซ ออสเตรเลีย จะสอบสวนและรายงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น ขอบเขตการให้บริการในลักษณะที่เคารพต่อความต้องการที่หลากหลายของแต่ละบุคคล รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และให้คำแนะนำ สำหรับการปฏิรูปในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อปรับปรุงบริการด้านการจ้างงาน” โฆษกหน่วยงานการจ้างงานและสถานประกอบการสัมพันธ์ กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

โครงการดังกล่าวยังรวมถึงระบบใบอนุญาตด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา (CALD) และผู้ขอลี้ภัยสำหรับผู้ให้บริการด้านการจัดหางานเฉพาะทาง ซึ่งออกแบบมาเพื่อแก้ไขความท้าทายและอุปสรรคที่ผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ขอลี้ภัยต้องเผชิญในการหางาน

ผู้หางานจากหลากวัฒนธรรมและภาษา ‘กำลังพลาดโอกาส’

Settlement Services International (SSI) Australia องค์กรชุมชนที่ให้การสนับสนุนผู้เดินทางมาถึงออสเตรเลียใหม่ ระบุว่า เวิร์คฟอร์ซ ออสเตรเลีย ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ผู้ให้บริการในพื้นที่ซึ่งลูกค้าจำนวนมากที่ต้องการหางานมีภูมิหลังหลากวัฒนธรรมและภาษา รวมถึงเป็นผู้ขอลี้ภัย

สตีฟ โอนีล (Steve O’Neil) ผู้จัดการทั่วไปด้านการให้บริการของ SSI Australia กล่าวว่า พื้นที่ซึ่งมีความต้องการมากที่สุดนั้นกำลังพลาดโอกาสจากนโยบายในปัจจุบัน

“พื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ ซึ่งมีผู้คนจากหลากวัฒนธรรมและภาษา และมีจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยมากที่สุดจุดหนึ่ง คือศูนย์กลางของการตั้งรกรากด้านมนุษยธรรมในออสเตรเลีย ไม่ได้รับทั้งใบอนุญาตสำหรับการบริการหลากวัฒนธรรมและภาษา หรือบริการสำหรับผู้ลี้ภัย ในขณะที่พื้นที่อื่นทั่วออสเตรเลียที่มีจำนวนเคสของผู้คนเหล่านี้ลดลงไปมากกลับได้รับใบอนุญาต” คุณโอนีลกล่าว

“ส่วนอื่น ๆ ของเอกสารเสนอราคาที่ได้มีการหยิบยกก็คือ พวกเขามุ่งออกใบอนุญาตระหว่าง 4-9 ใบให้กับพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครซิดนีย์ แต่อันที่จริงแล้วพวกเขาออกใบอนุญาตให้แค่ 4 ใบเท่านั้น และใบอนุญาต 4 ใบนั้นก็ได้ให้กับผู้ให้บริการโดยทั่วไป”

ทั้งนี้ SSI Australia เป็นหนึ่งในผู้ขอใบอนุญาตภายใต้ระบบเสนอราคา แต่ไม่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว

นายโอนีล กล่าวว่า สิ่งที่เขากังวลนั้นไม่ใช่เรื่องไม่ได้รับใบอนุญาต ทว่าเป็นเรื่องของระบบในวงกว้าง ขณะที่โฆษกหน่วยงานการจ้างงานและสถานประกอบการสัมพันธ์ กล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า การจัดสรรใบอนุญาตมีอิทธิพลจากปัจจัยที่หลากหลาย
“มีเขตการจ้างงาน () จำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงเขตต่าง ๆ ที่อยู่ภายในซิดนีย์ กำลังมีการแข่งขันกันในระดับสูง” โฆษกฯ ระบุ

"สิ่งนี้ พร้อมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น คำขอของผู้ตอบแบบสอบสามสำหรับบางส่วนธุรกิจ หรือโดยเฉพาะบางสถานที่ตั้ง มีผลต่อการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อออกใบอนุญาต”

โฆษกระบุว่า ผู้ให้บริการทั่วไปที่ได้รับเลือกให้ทำงานในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถขององค์กรในการทำเช่นนี้ได้สำเร็จ

อุปสรรคในการจ้างงาน

จากข้อมูลของ SSI Australia ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ไม่เหมือนใครเมื่อพยายามหางานทำ

คุณโอนีล กล่าวว่า ควรมีแนวทางที่คล่องตัวกว่านี้เพื่อยอมรับคุณวุฒิจากต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยได้ฝึกฝนในด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ผู้หญิงนั่งบนโต๊ะ
หลังจากทาเนีย อับดุล มูติ มาถึงออสเตรเลีย เธอต้องใช้เวลา 5 ปีในการหางาน Source: Supplied / Tania Abdul Muti
“ผู้ที่เพิ่งเดินทางมาถึงต้องการมีส่วนร่วม พวกเขาต้องการเป็นส่วนหนึ่งของตลาดแรงงาน เพราะเขาต้องการมีอิสระทางการเงินในระดับหนึ่ง พวกเขาต้องการที่จะเติบโตและตั้งรกรากอยู่ในประเทศใหม่” คุณโอนีลกล่าว

“เราควรที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับนายจ้างและอุตสาหกรรม เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคุณวุฒิจากต่างประเทศ วิธีการที่เราอาจทำงานร่วมกับวิชาชีพและอุตสาหกรรมได้ ... เพื่อสร้างกระบวนการที่แตกต่างสำหรับผู้คนที่ต้องดำเนินไป และที่แน่นอนก็คือทำให้ราคานั้นถูกลง”



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 18 August 2022 5:40pm
By Jessica Bahr, David Aidone
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand