งานเดียวไม่พอ ออสฯ พบปชช.ควบหลายงานสู้ค่าครองชีพ

ค่าครองชีพที่สูงขึ้นยังคงสร้างแรงกดดันกับเงินในกระเป๋าอย่างต่อเนื่อง ประชาชนในออสเตรเลียราว 9 แสนคนต้องทำหลายงานเพื่อให้พอกินพอใช้

A woman makes coffee

เลขาสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมออสเตรเลีย (ACTU) กล่าวว่า แรงกดดันจากค่าครองชีพ หมายถึงการที่ผู้คนจำนวนมากไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากทำงานหลายงาน Source: AAP / JAMES ROSS

ประเด็นสำคัญในบทความ
  • ไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบประชาชนในออสเตรเลียราว 9 แสนคนทำงานมากกว่า 1 งาน หลังค่าครองชีพพุ่งทะยานจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูง
  • แซลลี แม็กมานัส เลขาฯ สภาหอการค้าออสฯ เผยหลายคนต้องทำหลายงานเพื่อให้พอกินพอใช้
  • สถิติตลาดแรงงานส่อสัญญาณตลาดงานเริ่มคึกคัก หลังถูกโควิด-น้ำท่วมซัดไตรมาส มี.ค.จับตาธนาคารขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากปรับสมดุลต้นทุนทางการเงิน
ประชาชนในออสเตรเลียกำลังสร้างสถิติใหม่ในการทำงาน หลังพบว่ามีประชาชนราว 900,000 คนกำลังทำงานมากกว่า 1 งาน เมื่อไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 6.5 จากจำนวนประชากรที่มีงานทำทั้งประเทศ

“นี่เป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการบันทึกเป็นรายไตรมาสในปี 1994 และมากกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ประมาณ 0.5%” ลอวเรน ฟอร์ด (Lauren Ford) หัวหน้าฝ่ายสถิติแรงงาน จากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย กล่าว
แซลลี แม็กมานัส (Sally McManus) ประธานสภาหอการค้าแห่งออสเตรเลีย (ACTU) กล่าวว่า ผู้คนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำหลายงานเพื่อให้พอจ่ายบิลต่าง ๆ

งบประมาณครัวเรือนก็ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย ในไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

“สิ่งนี้ในเวลานั้น เกิดขึ้นเมื่อผลกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดของเราทะยานขึ้น และผลิตผลของแรงงานอยู่ในระดับสูงสุดในรอบทศวรรษในเวลานั้น” คุณแม็กมานัสกล่าว
“นี่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงกฎหมายสถานประกอบการณ์ของเรา เพื่อให้ค่าจ้างได้ขยับขึ้นไปอีกครั้ง”

สถิติแรงงานเมื่อไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยังได้สะท้อนภาพของตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูงมาก โดยมี:
  • ตำแหน่งงานซึ่งมีคนเข้ามาเติมเต็มแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
  • และมีตำแหน่งงานที่ยังว่างและต้องการคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
ขณะที่จำนวนชั่วโมงทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในไตรมาสนี้ หลังไตรมาสเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสถานการณ์อุทกภัย
อลัน ออสเตอร์ (Alan Oster) นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (NAB) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเริ่มกัดกร่อนเข้ามาในรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (disposable income) และบีบให้ครัวเรือนต้องควบคุมการใช้จ่าย

“แม้เป็นไปได้น้อยที่มันจะกัดกินไปจนถึงปลายปี 2022 แต่เป็นไปได้ว่าปี 2023 จะเป็นปีทีเชื่องช้าของผู้บริโภค ดังนั้นแล้วมันก็จะเป็นเช่นนั้นกับผู้ค้าปลีกด้วยเช่นกัน” คุณออสเตอร์กล่าว

อาจสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ถือสินเชื่อบ้าน แต่นั่นยังหมายถึงการที่ผู้ออมเงินจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในที่สุด
ธนาคารได้ส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปสู่ลูกค้าสินเชื่อบ้านอย่างรวดเร็ว แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นสำหรับผู้มีเงินออม

อย่างไรก็ตาม แซลลี ทินดอล (Sally Tindal) นักวิจัยจาก RateCity กล่าวว่า ธนาคารบางแห่งกำลังตามหาผู้มีเงินออมมากขึ้น

ขณะที่ดอกเบี้ยเรียกเก็บจากผู้ถือสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน คุณทินดอลกล่าวว่า เงินฝากจากผู้ออมเงินกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญมากขึ้นของอัตราส่วน
“นั่นคือเห็นผลว่าทำไมผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำจึงเป็นธนาคาร มากกว่าที่จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงินอย่างที่เราโตมาและรู้จักกัน” คุณทินดอลกล่าว

“ข่าวดีก็คือ ผู้ออมเงินกลับมากลายเป็นสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการหลังได้รับผลตอบแทนที่ไม่น่าดูมาหลายปี แต่พวกเขาก็ยังคงต้องเปรียบเทียบดูกับที่ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด”

ธนาคารเจ้าตลาดหลายรายในตอนนี้ พบว่ามีข้อเสนออัตราดอกเบี้ยสำหรับบัญชีเงินฝากสูงถึงร้อยละ 3.6
แต่คุณทินดอล กล่าวว่า บางธนาคารก็ยังคงเลือกว่าบัญชีออมทรัพทย์ประเภทใดจะสามารถยื่นขออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ และก็มีบางบัญชีก็อาจไม่ได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเลย

สถาบันการเงินรายใหญ่ของออสเตรเลียทั้ง 4 ราย ได้เพิ่มดอกเบี้ยเต็มอัตราขึ้นมาร้อยละ 0.5 สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้านอัตราผันแปร นับตั้งแต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของธนาคารสำรองฯ เมื่อเดือนกันยายน แต่ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (NAB) และธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) ยังคงไม่ได้มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์เงินฝากใด ๆ ของทางธนาคาร

ขณะที่ธนาคารคอมมอนเวลธ์ (CBA) และธนาคารเวสต์แพค (WBC) ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นแล้วสำหรับบัญชีเงินฝากบางประเภท แต่ไม่ใช่ทั้งหมด


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 15 September 2022 3:32pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand