หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรใช้ยาต้านไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่

แพ็กซ์โลวิด คือยาต้านไวรัสที่ได้รับการอธิบายว่าเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งมีรายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเข้ารักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง

Mother with protective mask breastfeeding her baby son at home

WHO recommends Paxlovid in pregnant and breastfeeding mothers, but Australians will have to wait. (Representative image.) Credit: South_agency/Getty Images

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตรปรึกษาแพทย์
  • ออสเตรเลียไม่แนะนำให้ผู้ตั้งครรภ์ ผู้ให้นมบุตร และผู้หญิงที่คาดว่าจะมีบุตร ในการใช้ยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด
  • ขณะที่การศึกษาโดยสถาบันวิจัยจอนส์ ฮอปกินส์ แสดงให้เห็นว่ายาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิดนั้นปลอดภัยกับครรภ์มารดา
คำแนะนำล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ขอให้ผู้ตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร ที่ติดเชื้อโควิด-19 ชนิดอาการไม่รุนแรง ให้พิจารณาใช้ยาต้านไวรัสของแพ็กซ์โลวิด

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาว่าควรใช้ยาต้านไวรัสดังกล่าวหรือไม่ จากประเด็นในเรื่องของประโยชน์ที่อาจได้รับ รวมถึงการขาดรายงานข้อมูลด้านผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์

สำหรับผู้หญิงในออสเตรเลียยังคงต้องรอหากต้องการใช้ยาดังกล่าว หลังหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของออสเตรเลีย (ทีจีเอ) ไม่อนุญาตให้ใช้ยาแพ็กซ์โลวิดในหญิงกรณีตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และผู้หญิงที่มีโอกาสจะมีบุตร โดยปัจจุบันมีการอนุมัติให้ใช้ยาดังกล่าวในกลุ่มเฉพาะที่มีภาวะทางสุขภาพแทรกซ้อน

ออสเตรเลียยังคงรักษาจุดยืนดังกล่าว แม้องค์การอนามัยโลกจะปรับปรุงคำแนะนำแล้วก็ตาม

หน่วยงานสาธารณสุขของออสเตรเลียระบุว่า ไฟเซอร์ไม่ได้ให้ข้อมูลของตัวยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด ในส่วนของการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ เมื่อทีจีเอให้การอนุมัติการยื่นขอในตอนแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2022
ดังนั้น การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรจึงไม่ได้รับการแนะนำ
หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย
“สิ่งนี้สอดคล้องกับคำแนะนำโดยองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (MHRA)”

ขณะที่คำสั่งด้านสุขภาพของรัฐบาลรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้มีแผนที่จะมีบุตรไม่ให้รับประทานยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด

“ติดต่อแพทย์ของคุณทันทีหากคุณตั้งครรภ์ระวังรับประทานยาชนิดนี้ แพ็กซ์โลวิดอาจส่งกระทบต่อการทำงานของยาเม็ด แผ่นชนิดแปะผิวหนัง และวงแหวนสอดใส่ช่องคลอดสำหรับคุมกำเนิด” คำสั่งด้านสุขภาพของรัฐบาลเวสเทิร์นออสเตรเลีย ระบุ

“คุณควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นหรือวิธีการป้องกันเพิ่มเติม อย่างเช่น ถุงยางอนามัย ระหว่างรับประทานยาแพ็กซ์โลวิด พูดคุยกับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ”
อย่างไรก็ตาม นิชา คอท (Dr Nisha Khot) สูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญจากนครเมลเบิร์น เชื่อว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะปรับปรุงแนวทางให้สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และการศึกษาล่าสุด

“ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในออสเตรเลียไม่สามารถสั่งจ่ายยาแพ็กซ์โลวิด หรือตัวยาอื่นใดที่ไม่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลสหพันธรัฐได้”
เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว แพ็กซ์โลวิดจะใช้เป็นทางเลือกในการรักษาเพิ่มเติมสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร มันจะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล
นิชา คอท (Dr Nisha Khot) สูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญจากนครเมลเบิร์น
คุณคอท กล่าวว่า มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรส่วนมากในรัฐวิกตอเรียเริ่มรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่ไม่รุนแรง

“สิ่งที่อาจเป็นเพราะอัตราการฉีดวัคซีน และวัคซีนเข็มกระตุ้นในระดับสูง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราย้ำถึงความสำคัญในการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างมาก” คุณคอท กล่าว

ขณะเดียวกัน มีการศึกษาล่าสุดโดยสถาบันวิจัยทางการแพทย์ จอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins Medicine Research) ใน JAMA Network Open ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 (SARS-CoV-2) สามารถรับประทานยาแพ็กซ์โลวิดได้อย่างปลอดภัย เพื่อลดโอกาสที่จะมีอาการอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยทนต่อการรักษาได้ดี โดยไม่พบหลักฐานว่ามีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นที่ส่งผลต่อพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด หรือลูกหลานของพวกเขา
สถาบันวิจัยทางการแพทย์ จอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins Medicine Research)
“ประมาณครึ่งหนึ่งของการทำคลอดหลังจากการรักษาด้วยยาเนอร์มาเทรลเวียร์ (nirmatrelvir) และริโทนาเวียร์ (ritonavir) เป็นการทำคลอดผ่านการผ่าตัดคลอด” การศึกษาชี้

รัฐบาลออสเตรเลียระบุว่าทีจีเอ ทราบถึงการศึกษาขนาดเล็กเกี่ยวกับการใช้ยาแพ็กซ์โลวิดในหญิงตั้งครรภ์ และอาจพิจารณา การยื่นขออนุมัติใหม่หรือการยื่นขออนุมัติปรับปรุงจากไฟเซอร์

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่สามารถบังคับให้ไฟเซอร์ยื่นขออนุมัติใหม่ได้
ด้านไฟเซอร์ระบุกับเอสบีเอสว่า ไม่มีข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ยาแพ็กซ์โลวิดระหว่างตั้งครรภ์ และในเด็กที่กินนมแม่ในช่วงให้นมบุตร

“ผู้หญิงซึ่งมีโอกาสมีบุตรควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ระหว่างการรักษาและภายในช่วง 7 วันหลังหยุดรับประทานยาแพ็กซ์โลวิด” ไฟเซอร์ ระบุ

“ผู้ให้นมบุตรควรหยุดให้นมระหว่างการรักษาด้วยยาแพ็กซ์โลวิด และในช่วง 7 วันหลังรับประทานยาโดสสุดท้าย ไม่มีข้อมูลในมนุษย์เกี่ยวกับผลกระทบจากยาแพ็กซ์โลวิดต่อการเจริญพันธุ์”
เอสบีเอส มุ่งมั่นในการให้บริการข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมของออสเตรเลีย ทำตนให้ปลอดภัย และ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

อ่านและฟังเรื่องสุขภาพได้อีก

Share
Published 26 January 2023 5:00pm
Updated 27 January 2023 9:30am
By Sahil Makkar
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand