Latest

โควิด-19 อัปเดต: อนุมัติฉีดวัคซีนบูสเตอร์เด็กเล็ก โละกฎใส่มาสก์บนขนส่งมวลชน

สรุปสถานการณ์โควิด-19 ในออสเตรเลียประจำวันที่ 21 ก.ย. 2022 พ่อแม่เตรียมพาลูกเล็กไปฉีดวัคซีนหลังทีจีเอไฟเขียววัคซีนไฟเซอร์สำหรับเด็กเล็ก หลายรัฐโละมาตรการสวมหน้ากากในขนส่งสาธารณะ จับตาโควิด 2 สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่

CHILD VACCINATIONS VICTORIA

A health worker administers a COVID-19 vaccine at a pop-up vaccination clinic in Melbourne. (file) Source: AAP / CON CHRONIS/AAPIMAGE

ประเด็นสำคัญในบทความ
  • ชาวควีนส์แลนด์ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยบนขนส่งสาธารณะตั้งแต่วันนี้ ส่วนชาววิกตอเรียไม่ต้องสวมตั้งแต่ศุกร์นี้
  • “อนามัยโลก” ไม่สนับสนุนการรักษาโควิดด้วยยาแอนติบอดี
  • หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกจับตา 2 สายพันธุ์ย่อยใหม่โควิด-19 พบผู้ติดเชื้อแล้วในยุโรป-สหรัฐฯ
หน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของออสเตรเลีย (ทีจีเอ) ได้อนุมัติในการใช้วัคซีนบูสเตอร์โควิด-19 ของไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปีเป็นการชั่วคราว

แต่ทั้งนี้ กลุ่มที่ปรึกษาทางเทคนิคด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแห่งออสเตรเลีย (ATAGI) ยังคงต้องพิจารณาวัคซีนดังกล่าว และเสนอคำแนะนำไปยังรัฐมนตรีสสาธารณสุขในรัฐบาลสหพันธรัฐ

วันนี้ที่รัฐควีนส์แลนด์ได้ประกาศยกเลิกกฎการสวมหน้ากากอนามัยในระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งรวมถึงบนรถแท็กซี และบริการไรด์แชร์ หรือรถร่วมโดยสารเรียกผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และไม่จำเป็นต้องสวมใส่เมื่อรอรถอยู่บนชานชลา ป้ายรถประจำทาง จุดจอดแท็กซี่ และจุดรับส่ง (pick up area)

ส่วนที่รัฐวิกตอเรีย ได้มีการประกาศเมื่อช่วงเย็นวันนี้ว่า ตั้งแต่เวลา 23:59 น.ของวันพรุ่งนี้ (22 ก.ย.) ประชาชนจะไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยในระบบขนส่งสาธารณะหรือบริการไรด์แชร์อีกต่อไป แต่ยังคงจำเป็นต้องสวมใส่ในสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง เช่น โรงพยาบาล สถานดูแล และสถานที่บริการทางสุขภาพต่าง ๆ

โดยจนถึงขณะนี้ มีเพียงมณฑลนครหลวงออสเตรเลีย (ACT) ที่ยังมีมาตรการสวมใส่หน้ากากอนามัยบนระบบขนส่งสาธารณะ แต่เป็นไปได้ว่าจะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้
เก็ด เคียร์นีย์ (Ged Kearney) รัฐมนตรีช่วยด้านสาธารณสุขและการดูแลผู้สูงอายุ กล่าวว่า รัฐบาลกำลังลงทุนในการศึกษาใหม่เกี่ยวกับวัคซีนและการติดเชื้อโควิด-19 โดยการศึกษาดังกล่างจะประเมินการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะทางสุขภาพเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคปอด โรคลำไส้อักเสบ โรครูมาติก ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คัดค้านการรักษาโควิด-19 ด้วยยาแอนติบอดี 2 ชนิด ได้แก่ โซโทรวิแมบ (Sotrovimab) และคาซิริวิแมบ (casirivimab) โดยระบุว่าการรักษาดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อโควิด-19

ขณะที่นักวิจัยกำลังติดตามเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ “บีเอฟ.7 (BF.7)” หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า “บีเอ.5.2.1.7 (BA.5.2.1.7) ซึ่งได้มีการพบแล้วในบางประเทศ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 25 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในเบลเยียม และเกือบร้อยละ 10 จากผู้ติดเชื้อทั้งหมดในฝรั่งเศส เยอรมนี และเดนมาร์ค

นอกจากนี้ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยใหม่อีกตัว “บีเอ.4.6 (BA.4.6) ยังคงเป็นเชื้อที่น่ากังวล หลังพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 10 จากทั้งหมดในสหรัฐ ฯ”

ค้นหาคลินิคลองโควิด
ค้นหาคลินิตรวจเชื้อโควิด-19

ลงทะเบียนผลตรวจแอนติเจนที่นี่หากคุณตรวจพบเชื้อ

ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ



คลิกอ่านข้อมูลที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ



อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ทั้งหมดในภาษาของคุณ




คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 21 September 2022 7:27pm
Updated 21 September 2022 7:42pm
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand