นักวิทยาศาสตร์พบเหตุผลว่าทำไมยุงถึงชอบกัดบางคนเป็นพิเศษ

คุณเป็นคนที่มักดึงดูดยุงเป็นฝูงหรือเปล่า? นักวิจัยชาวสหรัฐกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า พวกเขารู้เหตุผลว่าทำไมยุงถึงชอบกัดบางคนเป็นพิเศษ ขณะที่คนอื่นไม่ถูกกัด

A mosquito biting human skin.

US researchers have found a scientific basis for some people being drawcards for mosquitoes. Source: Moment RF / Joao Paulo Burini/Getty Images

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • นักวิจัยชาวสหรัฐกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า พวกเขารู้เหตุผลว่าทำไมยุงถึงชอบกัดบางคนเป็นพิเศษ
  • การที่ยุงชื่นชอบคนบางคนเป็นพิเศษกว่าคนอื่นนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตเห็นได้ แต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก
นักวิจัยสหรัฐกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า พวกเขาได้ค้นพบสาเหตุว่าทำไมบางคนถึงเป็นแม่เหล็กดึงดูดยุงให้มารุมกัดพวกเขา ขณะที่คนอื่น ๆ นั้นยุงไม่สนใจ

การที่ยุงชื่นชอบคนบางคนเป็นพิเศษกว่าคนอื่นนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตเห็นได้ แต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Cell notes ระบุ

นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัย ร็อกคีเฟลเลอร์ (Rockefeller University) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาในนครนิวยอร์กระบุว่า กรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) บนผิวหนังเป็นสารดึงดูดที่สามารถล่อยุงให้มากัดได้

มนุษย์ผลิตกรดคาร์บอกซิลิกผ่านทางซีบัม (sebum) หรือต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งช่วยให้ผิวของเราชุ่มชื้นและช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งต่างๆ เช่น รังสียูวี แบคทีเรีย และเชื้อรา

การวิจัยพบว่าผู้ที่มีกรดคาร์บอกซิลิกในระดับที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญนั้นจะดึงดูดยุงให้ไปกัดพวกเขาได้มากกว่าคนอื่น

แม้แต่ยุงกลายพันธุ์ที่ไม่มีตัวรับกลิ่นของกรดคาร์บอกซิลิก ก็ยังชื่นชอบผู้ที่มีกรดชนิดนี้บนผิวหนังในระดับที่สูงกว่าผู้อื่น

"นี่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ยุงที่ไม่มีตัวรับกลิ่นสำหรับกรดนี้ ก็ยังสามารถบอกความแตกต่างระหว่างแต่ละคนได้" การวิจัยระบุ
The Aedes aegypti mosquito is responsible for spreading the Zika virus.
นักวิจัยได้กำหนด 'คะแนนความดึงดูดยุง' เพื่อชี้วัดว่าเหตุใดยุงจึงชอบกัดบางคนมากกว่าคนอื่น Source: AAP

'คะแนนการดึงดูดยุง'

ความดึงดูดใจอาจแตกต่างกันอย่างมาก

นักวิจัยกลุ่มนี้ได้กำหนด "คะแนนความดึงดูดใจ" โดยพิจารณาจากการที่ยุงบินไปรุมกัดแต่ละบุคคล โดยพบว่าคนที่น่าดึงดูดใจที่สุดสำหรับยุงนั้นทำคะแนนได้สูงกว่าคนที่น่าดึงดูดใจลำดับที่สองถึง 4 เท่า

เมื่อเทียบกับคนที่น่าดึงดูดใจน้อยที่สุด คะแนนของพวกเขาสูงกว่า 100 เท่า

นักวิจัยกลุ่มนี้เชื่อว่าการค้นพบของพวกเขาให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์การดึงดูดยุงมากกว่าทฤษฎีที่มีอยู่เดิม ที่บอกว่ามาจากกรุ๊ปเลือด หรือการบริโภควิตามินบี หรือการบริโภคกระเทียมเป็นยาไล่ยุงตามความเชื่อ

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่

การวิจัยระบุว่า ยังคงไม่มีใครรู้แน่ชัดเกี่ยวกับกลไกเฉพาะทางเคมีที่แยกแยะความน่าดึงดูดใจที่ยุงมีต่อแต่ละบุคคล ในขณะที่ไม่มีใครรู้แน่ชัดเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของกลิ่นผิวหนังเมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กลิ่นผิวหนังที่รุนแรงน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดซึ่งถูกปล่อยออกมาจากบริเวณร่างกายที่มักถูกยุงกัด"

การวิจัยยังไม่ได้ให้คำตอบว่าทำไมคนบางคนจึงผลิตกรดคาร์บอกซิลิกในระดับที่สูงกว่าคนอื่นๆ

การวิจัยดังกล่าวสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการคิดค้นและพัฒนายาไล่แมลงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 24 October 2022 3:30pm
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand