ศูนย์พาสปอร์ตออสฯ คิวยาว ปชช.แห่ขอจนระบบล้นหลังเปิดประเทศ

ชาวออสฯ ขอต่อพาสปอร์ตใหม่เจอวิบากกรรม ระบบล้น คิวยาว เอกสารตกหล่น รมต.ช่วยต่างประเทศเผยเร่งระดมเจ้าหน้าที่ประมวลเอกสาร-คอลเซ็นเตอร์เพิ่ม โวยรัฐบาลชุดก่อนทำล้มเหลว-ไร้แผนรองรับหลังคลายล็อกโควิด

passport and travel case

Australian visa and passport. Source: iStockphoto

พลเมืองออสเตรเลียที่กำลังมีแผนจะเดินทางไปต่างประเทศอาจต้องทบทวนอีกครั้ง หลังเกิดความล่าช้าอย่างมากในกระบวนการประมวลแบบคำร้องเพื่อยื่นขอพาสปอร์ต

เจ้าหน้าที่ทางการต้องรับมือกับเอกสารคำร้องหลายพันฉบับต่อวัน โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ (7 มิ.ย.) ซึ่งมีแบบคำร้องมากถึง 16,417 ฉบับ จากประชาชนจำนวนมากที่ยื่นเอกสารขอทำพาสปอร์ต หลังออสเตรเลียเปิดพรมแดนระหว่างประเทศที่ปิดมานานถึง 2 ปี ด้านรัฐบาลออสเตรเลียระบุว่าจะมีเจ้าหน้าที่อีก 250 คน เข้ามาช่วยประมวลแบบคำร้องที่ยังคงค้าง

แต่ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ผู้ที่มีแผนไปท่องเที่ยวในต่างประเทศเพียงอย่างเดียว

สรีนิธ กุลังการัธ (Sreenith Kulangarath) ต้องรอคิวในแถวนาน 10 ชั่วโมงที่สำนักงานพาสปอร์ตในนครซิดนีย์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) เขาเฝ้ารอที่จะได้กลับไปหาภรรยาที่อินเดียหลังพ่อของเธอจากไปเมื่อ 1 มิ.ย. ปีก่อน

ขณะที่ภรรยาของเขาซื้อตั๋วเครื่องบินเที่ยวแรกในวันเดียวกันเพื่อไปร่วมงานศพพ่อของเธอ แค่คุณกุลังการัธกลับไปพร้อมกับเธอไม่ได้
Sreenith Kulangarath spent 10 hours queuing at the Sydney passport office on Tuesday.
สรีนิธ กุลังการัธ (Sreenith Kulangarath) ต้องรอถึง 10 ชั่วโมงที่สำนักงานพาสปอร์ตในนครซิดนีย์ Source: SBS News/Supplied
พาสปอร์ตลูกผมหมดอายุ ผมทำเรื่องขอพาสปอร์ตใหม่ให้เขาเมื่อวันที่ 5 พ.ค. และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้พาสปอร์ตเลย คุณกุลังการัธ กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์
“ภรรยาของผมเสียใจมาก เธอต้องการกำลังใจจากผม ผมอยากอยู่กับเธอและแม่ยายที่อินเดีย แต่ผมเดินทางไปไม่ได้ถ้าไม่มีลูก”

“งานศพจัดไปแล้วเมื่อวันศุกร์ แต่ผมไปอยู่กับภรรยาไม่ได้”

พาสปอร์ตของชาวออสเตรเลียนับพันคนหมดอายุในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจำกัดห้ามการเดินทางระหว่างประเทศ

ตั้งแต่พรมแดนออสเตรเลียเริ่มทยอยเปิดอีกครั้งตั้งแต่ปลายปี 2021 ที่ผ่านมา สำนักงานพาสปอร์ตออสเตรเลียได้พบกับแบบคำร้องเพื่อขอพาสปอร์ตเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (DFAT) สามารถเร่งดำเนินการในกรณีฉุกเฉินได้ เช่น กรณีของคุณกุลังการัธ
Sreenith Kulangarath with his wife Sandhya and six-year-old son Vedansh.
สรีนิธ กุลังการัธ และภรรยาของเขา "ซันดญา (Sandya)" และเวดันช์ (Vedansh) ลูกชายอายุ 6 ขวบ Source: SBS News/Supplied
ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางหน่วยงานระบุว่า ในกรณีที่มีเหตุผลน่าเห็นใจ เช่น การเสียชีวิตหรืออาการป่วยรุนแรงของสมาชิกครอบครัวใกล้ชิด สามารถออกเล่มพาสปอร์ตใหม่ให้ได้ภายในเวลาน้อยกว่า 2 วันทำการ

ด้วยเหตุนี้ คุณกุลังการัธจึงกรอกแบบคำร้องกรณีพิเศษในวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยแบบคำร้องกรณีพิเศษนี้มีค่าใช้จ่าย $225 ดอลลาร์ เพิ่มจากค่าธรรมเนียมปกติ $155 ดอลลาร์

“ผมได้รับแจ้งว่าพาสปอร์ตลูกผมจะพร้อมใน 2 วัน ผมได้รับแจ้งว่าจะได้รับอีเมลเกี่ยวกับพาสปอร์ตของผม และวิธีรับพาสปอร์ตในวันจันทร์” คุณกุลังการัธ กล่าว
Long queues outside the passport office in Sydney.
ประชาชนที่มารอคิวจำนวนมากที่สำนักงานพาสปอร์ตในนครซิดนีย์ Source: SBS News/Supplied
แต่ผมไม่ได้รับอะไรเลยในวันจันทร์ ผมเลยต้องกลับมาและเข้าคิวใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะได้รับแจ้งว่าแบบคำร้องกรณีพิเศษของผมถูกส่งไปผิดที่
คุณกุลังการัธ กล่าวว่า เขาไม่ใช่คนเดียวที่ต้องต่อคิวอยู่นอกสำนักงานพาสปอร์ตและประสบกับความยากลำบากนี้

“มีผู้หญิงข้างหลังผมที่รออยู่ในคิวอีกวันหนึ่ง ซึ่งประสบกับเหตุการณ์เดียวกัน” คุณกุลังการัธ กล่าว

“เธอยื่นแบบคำร้องทำพาสปอร์ตที่สำนักงานไปรษณีย์เมื่อ 2-3 อาทิตย์ก่อน และจากนั้น พ่อของเธอก็เสียชีวิตในประเทศอังกฤษ”
เธอบอกผมว่า เธอมาที่สำนักงานพาสปอร์ตเพื่อดำเนินเรื่องพาสปอร์ตของเธอให้ได้กลับไปที่อังกฤษเพื่ออยู่กับครอบครัว แต่ก็พบว่าแบบคำร้องของเธอไม่เคยได้รับโดยสำนักงานพาสปอร์ตเลย
ทิม วัตส์ (Tim Watts) รัฐมนตรีช่วยการต่างประเทศ ระบุว่า ความล่าช้าเกี่ยวกับแบบคำร้องพาสปอร์ตในปัจจุบัน และเวลารอที่ยาวนานกว่าเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เขาเสริมอีกว่า “ปัญหานี้เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ และเป็นผลลัพธ์ของรัฐบาลชุดก่อนที่ล้มเหลว และไม่มีแผนอย่างเหมาะสมสำหรับแบบคำร้องขอพาสปอร์ตที่เพิ่มขึ้นเมื่อพรมแดนระหว่างประเทศเปิดอีกครั้ง”

“ก่อนการแพร่ระบาดใหญ่มีแบบคำร้องขอพาสปอร์ตวันละประมาณ 7,000-9,000 ฉบับ ในตอนนี้มีแบบคำร้องประมาณ 10,000-12,000 ฉบับ ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า แบบคำร้องจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกยื่นมาในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่กำลังถูกยื่นเข้ามาในตอนนี้” นายวัตส์ กล่าว
มันไม่ควรเป็นชาวออสเตรเลียที่ต้องทุกข์ทนกับผลที่ตามมาจากความผิดพลาดเหล่านี้ ทิม วัตส์ - รัฐมนตรีช่วยการต่างประเทศ
รัฐมนตรีช่วยการต่างประเทศยังระบุอีกว่า รัฐบาลกำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศและการค้า (DFAT) เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเพิ่มจำนวนการประมวลเอกสารและพนักงานในคอลเซ็นเตอร์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถรับเข้าและฝึกอบรมได้

ไซมอน เบอร์มิงแฮม (Simon Birmingham) วุฒิสมาชิกและรัฐมนตรีเงาการต่างประเทศ กล่าวกับวิทยุ 2GB เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) ว่า “คุณคงคาดหวังว่ามีความพยายามทุกอย่างเกิดขึ้น เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีชั่วโมงงานและการสนับสนุนเพิ่มเติม ในส่วนของการรับสายโทรศัพท์และระบบที่นั่น”
มันอาจมีข้อจำกัดในกรณีของจำนวนพาสปอร์ตที่สามารถประมวลผลได้โดยบุคคล ด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยในระดับสูง และการยืนยันเอกสารที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ขอมีพาสปอร์ตเป็นครั้งแรกและเด็ก ไซมอน เบอร์มิงแฮม - วุฒิสมาชิกและรัฐมนตรีเงาการต่างประเทศ
“แต่ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาก็ควรที่จะทำให้แน่ใจว่าสายโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาจะมีคนรับ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 8 June 2022 8:22pm
Updated 8 June 2022 9:21pm
By Akash Arora
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand